Monday, November 24, 2008

ครั้งที่ 4

ข้อ2. ให้สืบค้นว่าลักษณะของการบูรณาการ มีกี่วิธี แต่ละวิธีมีลักษณะเป็นอย่างไร

34 comments:

thidathep said...

ลักษณะของบูรณการ
1. บูรณาการหลักสูตร เป็นการนำเอาเนื้อหาในรายวิชาต่างๆ มาโยงความสัมพันธ์กับเรื่องที่ใช้สอนและเรียน เพื่อให้เกิดความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริงตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน
2. บูรณาการกระบวนการเรียนการสอน เนื่องจากปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้หากไม่ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำให้เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ มาใช้ เช่น การสอนโดยวิธีการบอกเล่า ท่องจำจะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหาสาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้จึงต้องเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เหมาะสม
3. บูรณาการพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ (จิตพิสัย) เน้นทั้งความรู้ และเจตคติ ค่านิยม ความสนใจ สุนทรียภาพ : การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่เจตคติ ค่านิยม ความสนใจและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษาซึ่งเป็นการจูใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
4. บูรณาการความรู้และการกระทำ เน้นทั้งความรู้และทักษะพิสัย : การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก ดังนั้นการให้ความสำคัญระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
5. บูรณาการสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน เป็นการตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
6. บูรณาการสิ่งที่เรียนในโรงเรียนต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิต สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น

อ้างอิง
http://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/วิธีสอน.doc
http://www.geocities.com/jackypoll2/bulanakran.html
http://www.ttc.ac.th/text/buranakan.html
http://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=3735

โดย..นางสาวธิดาเทพ เสนคุ้ม รหัส 0647248

Marky said...

นายพิชาติ แก้วพวง 0647027

ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ
1. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ เพราะในปัจจุบันนี้ปริมาณของความรู้มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ การเรียนการสอนด้วยวิธีการเดิม อาทิ การบอกเล่า การบรรยายและการท่องจำ อาจจะไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเองว่าในองค์ความรู้หลายหลากนั้น อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง ตนควรแสวงหาความรู้เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เพียงใด ด้วยกระบวนการเช่นไร ซึ่งแน่นอนว่า กระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)ไม่ใช่น้อย
2. เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ นั่นคือให้ความสำคัญแก่ จิตพิสัย คือเจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และสุนทรียภาพ แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย ไม่ใช่เน้นแต่เพียงองค์ความรู้หรือพุทธิพิสัยแต่เพียงอย่างเดียว อันที่จริงการทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งขึ้นเสียก่อนที่จะได้ลงมือศึกษานั้น นับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
3.บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำในข้อนี้ก็มีนัยแห่งความสำคัญและความสัมพันธ์
เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้อสอง เพียงแต่เปลี่ยน จิตพิสัยเป็นทักษะพิสัยเท่านั้น
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน คือ การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่าเมื่อได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว สิ่งที่เรียนที่สอนในห้องเรียนจะต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิด ความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน การบูรณาการความรู้ของวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรจะกระทำในขั้นตอนของบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง
6.บูรณาการหลักสูตร เป็นการนำเอาเนื้อหาในรายวิชาต่างๆ มาโยงความสัมพันธ์กับเรื่องที่ใช้สอนและเรียน เพื่อให้เกิดความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริงตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน
7. บูรณาการสิ่งที่เรียนในโรงเรียนต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิต สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น

แหล่งอ้างอิง
http://www.ripn-math.com/doc/aa_012.doc
http://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=3735
http://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/วิธีสอน.doc
http://www.ttc.ac.th/text/buranakan.html
http://www.geocities.com/jackypoll2/bulanakran.html

ton_or said...
This comment has been removed by the author.
siriwan said...
This comment has been removed by the author.
siriwan said...

ลักษณะของการบูรณาการ
1. การบูรณาการภายในวิชา เป็นการเชื่อมโยงการสอนระหว่างเนื้อหาวิชาในกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชาเดียวกันกันเข้าด้วยกัน
2. บูรณาการระหว่างวิชา มี 4 รูปแบบ คือ
2.1 การบูรณาการแบบสอดแทรก เป็นการสอนในลักษณะที่ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาวิชา
อื่น ๆ ในการสอนของตน
2.2 การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน เป็นการสอนโดยครูตั้งแต่สองคนขึ้นไป วางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่องหรือความคิดรวบยอดหรือปัญหาเดียวกันแต่สอนต่างวิชาและต่างคนต่างสอน
2.3 การสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ เป็นการสอนลักษณะเดียวกับการสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน แต่มีการมอบหมายงานหรือโครงงานร่วมกัน
2.4 การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชา หรือสอนเป็นคณะ เป็นการสอนที่ครูผู้สอนวิชาต่าง ๆ ร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม มีการวางแผน ปรึกษาหารือร่วมกันโดยกำหนดหัวเรื่อง ความคิดรวบยอด หรือปัญหาร่วมกัน แล้วร่วมกันสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน

อ้างอิงจาก
http://www.geocities.com/jackypoll2/bulanakran.html
http://www.ttc.ac.th/text/buranakan.html
http://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=3735

รัชฎา ยศบุตร 0647030 said...

รัชฎา ยศบุตร 0647030
ครั้งที่ 4 ข้อที่ 2
ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Learning Integration) ดังนี้
1. การบูรณาการภายในวิชา (Intradisciplinary) เป็นการบูรณาการที่เกิดขึ้นภายในขอบเขตของเนื้อหาเดียวกัน
2. การบูรณาการระหว่างวิชา (Interdisciplinary) เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 สาขาวิชาขึ้นไปภายในหัวเรื่อง (Theme) เดียวกัน
3.บูรณาการหลักสูตร เป็นการนำเอาเนื้อหาในรายวิชาต่างๆ มาโยงความสัมพันธ์กับเรื่องที่ใช้สอนและเรียน เพื่อให้เกิดความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริงตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน
4. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิด ความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน การบูรณาการความรู้ของวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรจะกระทำในขั้นตอนของบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง
5. บูรณาการสิ่งที่เรียนในโรงเรียนต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิต สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น
6. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน คือ การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่าเมื่อได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว สิ่งที่เรียนที่สอนในห้องเรียนจะต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง

วัชรี โชติรัตน์. ความหมายบูรณาการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2551 จากhttp://72.14.235.132/
search?q=cache:V2knu8npp1oJ:www.watchari.com/board/index.php%3Ftopic%3D159.0+%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%2B%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3&hl=th&ct=clnk&cd=12&gl=th

อุดมศักดิ์ ธีระกาญจน์.ความหมายบูรณาการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2551 จากhttp://72.14.235.132/
search?q=cache:yiE6S7GOqPUJ:www.geocities.com/krusangkom/buranakan.htm+%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%2B%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3&hl=th&ct=clnk&cd=15&gl=th

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาครูให้ใช้แหล่งเรียนรู้ในการบูรณาการ การจัดการ
เรียนการสอน.ความหมายบูรณาการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2551 จากhttp://72.14.235.132/
search?q=cache:yiE6S7GOqPUJ:www.geocities.com/krusangkom/buranakan.htm+%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%2B%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3&hl=th&ct=clnk&cd=15&gl=th

ความหมายบูรณาการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2551 จากhttp://www.geocities.com/jackypoll2/bulanakran.html

ton_or said...

อัจฉราพร กลิ่นเกษร รหัส0647260

รูปแบบของการบูรณาการ
1.แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) เป็นการสร้างหัวเรื่อง (Theme) ขึ้นมาแล้วนำเนื้อหาจากวิชาต่าง ๆ มาโยงความสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้น บางครั้งเราอาจจะเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า
สหวิทยาการ แบบมีหัวข้อ หรือบูรณาการที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลัก
2.แบบพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) เป็นการนำเรื่องที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปสอดแทรก(Infusion)ไว้ในวิชาต่างๆซึ่งบางครั้งเราอาจจะเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า การบูรณาการที่เน้นเนื้อหารายวิชาเป็นหลัก

วิธีการบูรณาการ
1.บูรณาการความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชา หมายถึง ในการจัดการเรียนการสอนของครูแต่ละหัวข้อเรื่อง ครูต้องจัดเรียงหัวข้อเรื่องหรือ หน่วยที่สอนเกี่ยวข้องกันมาสอนในเวลาเดียวกัน แล้วลำดับเรื่องจากง่ายไปยาก จากใหญ่ไปย่อยโดยให้เกิดความต่อเนื่อง เข่น ครูสอนเรื่อง สัตว์เลี้ยง ควรต่อจากเรื่องปศุสัตว์ เป็นต้น
2.บูรณาการระหว่างวิชา หมายถึง การจัดระเบียบการสอนมโนทัศน์ หรือเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกันใหม่ ด้วยการร่วมมือกันเป็นทีมระหว่างครูผู้สอน เพื่อลดหรือย้ายเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนออกให้มากที่สุด เพื่อลดความซ้ำซ้อนนี้ ควรใช้วิชาที่เกี่ยวข้องกันประสานกัน เช่น วิชาสุขศึกษา การงาน พลศึกษา ร่วมบูรณาการกันเป็นทีมได้
3.การบูรณาการโดยสร้างข่ายใยแมงมุม หลักสูตร ข่ายในแมงมุมหลักสูตรจะเป็นภาพทัศน์แสดงให้เห็นกระบวนการบูรณาการการเรียนรู้ต่างๆ กับเนื้อหาที่เด็กต้องการ ประโยชน์ที่ได้ คือ ทำให้ครูรู้ทิศทางเนื้อหาว่าจะสอนอย่างไร สามารถตรวจสอบขอบเขตเนื้อหาได้และยังช่วยครูในการ วางแผนเนื้อหาและแจกกิจกรรมได้อย่างครอบคลุม
4.การบูรณาการตามแนวหลักสูตรที่กำหนด การบูรณาการประเภทนี้หมายถึงการที่หลักสูตรนั้นๆมีแนวของหลักสูตร ที่เน้นการสอนภาษาแบบ เน้นธรรมชาติ หลักสูตรที่เน้นการสอนแบบโครงการ เป็นต้น การบูรณาการตามแนวหลักสูตรนี้จะเป็นไปตามมโนทัศน์ของแนวคิดหรือทฤษฎีที่เป็น แนวของหลักสูตรนั้นๆ

แหล่งอ้างอิง
http://www.ttc.ac.th/text/buranakan.html

http://www.ripn-math.com/doc/aa_012.doc

http://learners.in.th/blog/pajeenut/76982

Unknown said...

นายปิยะบุตร จิตรช่วย รหัส 0647253

ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ

สรุปได้ดังนี้
1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
ปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้ หากไม่นำวิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำ
ให้เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้ จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ มาใช้ การสอนโดยวิธีการ
บอกเล่า ท่องจำ จะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหาสาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้ จึงต้องเลือกใช้
กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ
การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่เจตคติ
ค่านิยม ความสนใจและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษา
ซึ่งเป็นการจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก ดังนั้นควรให้ความสำคัญ
ระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริง โดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน
การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและ
คุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ
เพื่อให้เกิดความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน
อย่างแท้จริง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน


และลักษณะโดยรวม แบ่งได้เป็น
การสอนบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนได้ 2 แบบคือ

1. แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) เป็นการสร้างหัวเรื่อง (Theme) ขึ้นมาแล้วนำเนื้อหาจากวิชาต่าง ๆ มาโยงความสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้น บางครั้งเราอาจจะเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า สหวิทยาการ แบบมีหัวข้อ หรือบูรณาการที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลัก
2. แบบพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) เป็นการนำเรื่องที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปสอดแทรก(Infusion)ไว้ในวิชาต่างๆซึ่งบางครั้งเราอาจจะเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า การบูรณาการที่เน้นเนื้อหารายวิชาเป็นหลัก




แหล่งอ้างอิง

ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ,เข้าถึงเมื่อ 24 พ.ย.51http://bsq.vec.go.th/mambo/document/co_project/co_project_2.pdf

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ,เข้าถึงเมื่อ 24 พ.ย.51 http://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/วิธีสอน.doc

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ,เข้าถึงเมื่อ 24 พ.ย.51 http://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=3735

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ,เข้าถึงเมื่อ 24 พ.ย.51http://www.ttc.ac.th/text/buranakan.html

SuNnY said...

ประภัสสร จันทร์แดง 0647026

ลักษณะของการบูรณาการ

1.บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
ปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้หากไม่ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำให้
เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ มาใช้ เช่น การสอนโดย
วิธีการบอกเล่า ท่องจำจะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหาสาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้จึงต้อง
เลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เหมาะสม
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ
การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่เจตคติ
ค่านิยม ความสนใจและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือ
ศึกษาซึ่งเป็นการจูใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก ดังนั้นการให้ความสำคัญ
ระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน
การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่า
ต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ
เพื่อให้เกิดความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนอย่าง
แท้จริงตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน


....อ้างอิง....

ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย.2551
จากhttp://realjune.multiply.com/journal/item/63

ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย.2551 จากhttp://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/วิธีสอน.doc

ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย.2551 จากhttp://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=3735


ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย.2551 จากhttp://learners.in.th/blog/pajeenut/76987


ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ย.2551 จากhttp://school.obec.go.th/tsb/webtsb/Buranakarn.pdf

givesosu said...

นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์ 0647250

ลักษณะของบูรณาการ

1. การบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
ปัจจุบันนี้ปริมาณของความรู้ในวิชาต่างๆมีมากขึ้น การเรียนการสอนวิธีเดิม เช่น การบอกเล่า การบรรยายและการท่องจำ อาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเองว่าในองค์ความรู้ที่หลากหลายนั้น อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริงและจะแสวงหาความรู้ เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เพียงใดและด้วยกระบวนการเช่นย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล

2. การบูรณาการระหว่างการพัฒนาการทางความรู้ และการพัฒนาทางจิตใจ
คือให้ความสำคัญแก่จิตพิสัย คือเจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย ไม่ใช่เน้นแต่เพียงความรู้แต่เพียงอย่างเดียว วิธีการทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งขึ้นก่อนที่จะลงมือศึกษานั้นนับได้ว่าเป็นสิ่งจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน

3.การบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
เป็นความสัมพันธ์ของบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ คือให้ความสำคัญกับทักษะพิสัย การทดลองปฏิบัติแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย ไม่ใช่เน้นแต่เพียงความรู้แต่เพียงอย่างเดียว

4. การบูรณาการระหว่างที่โรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน
คือการตระหนักถึงหลักความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่า เมื่อได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว สิ่งที่สอนในห้องเรียนจะต้องมีความหมาย และมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

5. การบูรณาการ ระหว่างวิชาต่าง ๆ
เพื่อให้ผู้เรียนมี ความรู้ เจตคติ และการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนสนองต่อคุณค่าในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้เรียนแต่ละคน การบูรณาการความรู้วิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรกระทำในขั้นตอนของ การบูรณาการการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง

อ้างอิงจาก

ถาวร นามลาพุทธา.การพัฒนาครูด้านการจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการโรงเรียนบ้านขามคุรุราษฎร์อุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอนแก่น เขต 2.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต.บริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,2550

บุณยรัตน์ สิงห์พันดอน.การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. การประถมศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2549

ประโรม กุ่ยสาคร.การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องการคูณการหารโดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. นครปฐม : สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547.

พรศิริ โสภาราษฎร์.ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องระบบนิเวศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนบูรณาการแบบสอดแทรก. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2549

อรุณ ใจปานแก่น.แนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ แบบบูรณาการ กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านวังหินซา สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต.บริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,2551

Nootun said...

ณิชาภา 0647029

ลักษณะสำคัญของบูรณาการ
ธำรง บัวศรี (2532) ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญ ของการบูรณาการไว้ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ เพราะในปัจจุบันนี้ ปริมาณของความรู้มีมากเป็นทวีคูณ รวมทั้งมีความซ้ำซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ การเรียนการสอนด้วยวิธีการเดิม อาทิ การบอกเล่า การบรรยาย และท่องจำ อาจไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนว่าในองค์ความรู้หลากหลายนั้นอะไรคือสิ่งที่ตนสนใจอย่างแท้จริง ตนควรจะแสวงหาความรู้เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เพียงใด และด้วยกระบวนการเช่นไร ซึ่งแน่นอนว่ากระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individual Differences)
2. เป็นการบูรณาการระหว่าง พัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ นั่นคือให้ความสำคัญแก่จิตพิสัย คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และสุนทรียภาพ แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย มิใช่เป็นเพียงแต่องค์ความรู้หรือพุทธิพิสัยเพียงอย่างเดียว อันที่จริงการทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งเสียก่อนที่จะลงมือศึกษานั้น นับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ ที่สำคัญยิ่งสำหรับจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
3. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ ความสัมพันธ์ของบูรณาการ ระหว่างความรู้และ การกระทำในข้อนี้ก็มีนัยแห่งความสำคัญ และความสัมพันธ์เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้อที่สอง เพียงแต่เปลี่ยนจิตพิสัยเป็นทักษะพิสัยเท่านั้น
4. เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน คือ การตระหนักถึงความสัมพันธ์แห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่าเมื่อได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว สิ่งที่เรียนที่สอนในห้องเรียน จะต้องมีความหมายมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5. เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ เจตคติและการกระทำ ที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน การบูรณาการความรู้ชองวิชาต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือการตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรกระทำในขั้นตอนการบูรราการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง

ลักษณะของการบูรณาการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พ.ย. จาก
http://realjune.multiply.com/journal/item/63

ลักษณะของการบูรณาการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พ.ย. จาก
http://school.obec.go.th/anubanchun/link/konrukpa/konrukpa4.htm

ลักษณะของการบูรณาการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พ.ย. จาก
http://www.geocities.com/jackypoll2/bulanakran.html
ลักษณะของการบูรณาการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พ.ย. จาก
http://wasun.newsit.es/buranagan.doc

Unknown said...

สยาม อัจฉริยประภา 0647033
ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ

1.เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ เพราะในปัจจุบันนี้ปริมาณของความรู้มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ การเรียนการสอนด้วยวิธีการเดิม อาทิ การบอกเล่า การบรรยายและการท่องจำ อาจจะไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเองว่าในองค์ความรู้หลายหลากนั้น อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง ตนควรแสวงหาความรู้เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เพียงใด ด้วยกระบวนการเช่นไร ซึ่งแน่นอนว่า กระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)ไม่ใช่น้อย
2.เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ นั่นคือให้ความสำคัญแก่ จิตพิสัย คือเจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และสุนทรียภาพ แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย ไม่ใช่เน้นแต่เพียงองค์ความรู้หรือพุทธิพิสัยแต่เพียงอย่างเดียว อันที่จริงการทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งขึ้นเสียก่อนที่จะได้ลงมือศึกษานั้น นับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
3.บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำในข้อนี้ก็มีนัยแห่งความสำคัญและความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้อสองเพียงแต่เปลี่ยนจิตพิสัยเป็นทักษะพิสัย เท่านั้น
4.บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน คือ การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่าเมื่อได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว สิ่งที่เรียนที่สอนในห้องเรียนจะต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5.บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิด ความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน การบูรณาการความรู้ของวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรจะกระทำในขั้นตอนของบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง



ลักษณะของการบูรณาการ.
สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พ.ย. จาก
http://www.ripn-math.com/doc/aa_012.doc
http://gotoknow.org/file/classroom/งาน.doc
http://gotoknow.org/blog/apinya16/208091
http://www.nsdv.go.th/commerce/integrated/manual.doc
http://realjune.multiply.com/journal/item/63

~cotton~ said...

รัชนาภา บุญประสพ 0647031
ลักษณะของบูรณาการที่รวบรวมมาได้ ส่วนใหญืมี 3 ลักษณะดังนี้
แบบที่ 1. ลักษณะของการบูรณาการ โดย ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
1. การเชื่อมโยง การนำสิ่งหนึ่งหรือหลายๆสิ่ง มาเชื่อมกับสิ่งหนึ่งที่อยู่ในลักษณะแกนกลาง ทำให้เกิดความเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่แสดงถึงความเกี่ยวพันมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างกัน
2. การรวมกัน การนำสิ่งต่างๆตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไปมารวมกันเพื่อทำให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้นกว่าเดิม และใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ เหล่านั้นรวมกันได้
3. การประสาน การทำให้สิ่งต่างๆ ที่ทำหน้าที่ของตน ภายใต้เป้าหมายเดียวกัน เข้ากันสนิทและเป็นไปอย่างสอดคล้อง เช่น การขับร้องเพลงประสานเสียง ฯลฯ
4. การผนวก เป็นการรวมสิ่งหนึ่ง เป็นของ อีกสิ่งหนึ่งอย่างสมบูรณ์และเป็นการทำให้สิ่งที่มีอยู่ในภาพรวมดีขึ้นนกว่าการแยกส่วนกันอยู่
5. การเติมเต็ม เป็นลักษณะการเพิ่มเติมส่วนที่ยังบกพร่องหรือยังขาดของสิ่งสิ่งหนึ่งให้เกิดความสมบูรณ์
แบบที่ 2
1. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ เพราะในปัจจุบันนี้ปริมาณของความรู้มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ การเรียนการสอนด้วยวิธีการเดิม อาทิ การบอกเล่า การบรรยายและการท่องจำ อาจจะไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเองว่าในองค์ความรู้หลายหลากนั้น อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง ตนควรแสวงหาความรู้เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เพียงใด ด้วยกระบวนการเช่นไร ซึ่งแน่นอนว่า กระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)ไม่ใช่น้อย
2. เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ นั่นคือให้ความสำคัญแก่ จิตพิสัย คือเจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และสุนทรียภาพ แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย ไม่ใช่เน้นแต่เพียงองค์ความรู้หรือพุทธิพิสัยแต่เพียงอย่างเดียว อันที่จริงการทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งขึ้นเสียก่อนที่จะได้ลงมือศึกษานั้น นับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
3.บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำในข้อนี้ก็มีนัยแห่งความสำคัญและความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้อสอง เพียงแต่เปลี่ยน จิตพิสัยเป็นทักษะพิสัยเท่านั้น
4.บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน คือ การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่าเมื่อได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว สิ่งที่เรียนที่สอนในห้องเรียนจะต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5.บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิด ความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน การบูรณาการความรู้ของวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรจะกระทำในขั้นตอนของบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง
แบบที่ 3
1.การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ เป็นการผสมผสานเชื่อมโยงเนื้อหาสาระในลักษณะการหลอมรวมกันโดยการตั้งเป็นหน่วย( Unit ) หรือหัวเรื่อง ( Theme )
2.การบูรณาการเชิงวิธีการ เป็นการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เข้าในการสอน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธี การสนทนา การอภิปราย การใช้คำถาม การบรรยาย การค้นคว้าและการทำงานกลุ่ม การไปศึกษานอกห้องเรียน และการนำเสนอข้อมูลเป็นต้น
3.การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ โดยออกแบบการเรียนรู้ให้มีทั้งการให้ความรู้และกระบวนการไปพร้อม ๆ กัน เช่น กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการสร้างความคิดรวบยอดเป็นต้น
4.การบูรณาการความรู้ ความคิด กับคุณธรรม โดยเน้นทั้งพุทธิพิสัยและจิตพิสัยเป็นการเรียนที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่นักเรียนจะได้เป็น “ผู้มีความรู้คู่คุณธรรม”
5.การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ เน้นการปฏิบัติจริงควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
6.การบูรณาการความรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของนักเรียน พยายามให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าและความหมายในสิ่งที่เรียน

อ้างอิงจาก
ดร. สุวิทย์ มูลคำ. กลยุทธ์การสอนคิดบูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัทดวงกลมสมัย จำกัด, 2548
http://gotoknow.org/blog/shakirin/115447
http://thesis.swu.ac.th/swudis/Cur_Re_Dev/Tugsina_K.pdf
www.ripn-math.com/doc/aa_012.doc
http://mail.vcharkarn.com/vcafe/126587
http://202.142.219.4/vcafe/126587
http://learners.in.th/blog/pajeenut/76987
http://gotoknow.org/blog/pacharee/104992
http://www.geocities.com/jackypoll2/bulanakran.html

siriwan said...

สิริวรรณ 0647258
ลักษณะของบูรณาการ มี 5 วิธี ดังนี้
1. การบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
ผู้เรียนจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเองว่า อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริงและจะแสวงหาความรู้ เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เพียงใดและด้วยกระบวนการเช่นย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. การบูรณาการระหว่างการพัฒนาการทางความรู้ และการพัฒนาทางจิตใจ
คือให้ความสำคัญแก่เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย ไม่ใช่เน้นแต่เพียงความรู้แต่เพียงอย่างเดียว
3.การบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
เป็นความสัมพันธ์ของบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ คือให้ความสำคัญกับ การทดลองปฏิบัติแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้
4. การบูรณาการระหว่างที่โรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน
คือการตระหนักถึงหลักความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
5. การบูรณาการ ระหว่างวิชาต่าง ๆ
เพื่อให้ผู้เรียนมี ความรู้ เจตคติ และการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนสนองต่อคุณค่าในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้เรียนแต่ละคน
อ้างอิงจาก
http://www.geocities.com/jackypoll2/bulanakran.html
http://www.ttc.ac.th/text/buranakan.html
http://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=3735
ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.2551 จากhttp://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/วิธีสอน.doc
ถาวร นามลาพุทธา.การพัฒนาครูด้านการจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการโรงเรียนบ้านขามคุรุราษฎร์อุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอนแก่น เขต 2.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต.บริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,2550
อรุณ ใจปานแก่น.แนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ แบบบูรณาการ กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านวังหินซา สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต.บริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,2551
ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.2551 จากhttp://school.obec.go.th/tsb/webtsb/Buranakarn.pdf

Unknown said...

จารุวรรณ ยิ่งยงค์ รหัส 0647025
ลักษณะของการบูรณาการมี 5 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีลักษณะดังนี้
1. การบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ ปัจจุบันนี้ปริมาณของความรู้มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ การเรียนการสอนด้วยวิธีการเดิม อาทิ การบอกเล่า การบรรยายและการท่องจำ อาจจะไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเองว่าในองค์ความรู้หลายหลากนั้น อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง ตนควรแสวงหาความรู้เพื่อตอบสนองความสนใจเหล่านั้นโดยกระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)
2. การบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ นั่นคือให้ความสำคัญแก่ จิตพิสัย คือเจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และสุนทรียภาพ แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย ไม่ใช่เน้นแต่เพียงองค์ความรู้หรือพุทธิพิสัยแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
3. การบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ เป็นการให้ความสำคัญระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
4. การบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน คือ การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่าเมื่อได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว สิ่งที่เรียนที่สอนในห้องเรียนจะต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5. การบูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิด ความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน การบูรณาการความรู้ของวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรจะกระทำในขั้นตอนของบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง

แหล่งอ้างอิง
ลักษณะของการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.51. จากhttp://www.nsdv.go.th/commerce/integrated/integraded.htm
ลักษณะของการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.51. จาก http://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99.doc
ลักษณะของการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.51. จากhttp://buranarom.spaces.live.com/Blog/cns!120B998AC062DA4E!271.entry
ลักษณะของการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.51. จาก
http://www.ripn-math.com/doc/aa_012.doc
ลักษณะของการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.51. จากhttp://www.atts.rtaf.mi.th/MyWebSQA3/index/my%20document/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A349.htm
ลักษณะของการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.51. จาก
http://gotoknow.org/blog/pacharee/104992
ลักษณะของการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.51. จากhttp://www.geocities.com/jackypoll2/bulanakran.html

พัชรินทร์ 0647254 said...
This comment has been removed by the author.
พัชรินทร์ 0647254 said...

พัชรินทร์ เรือนสูง รหัส 0647254
ลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มี 5 วิธี แต่ละวิธีมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.การบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
ปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้หากไม่ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำให้เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ มาใช้ เช่น การสอนโดยวิธีการบอกเล่า ท่องจำจะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหาสาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้จึงต้องเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่เหมาะสม
2.การบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่เจตคติ ค่านิยม ความสนใจและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษาซึ่งเป็นการจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
3.การบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก ดังนั้นการให้ความสำคัญระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
4.การบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5.การบูรณาการระหว่างวิชาต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริงตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน

อ้างอิงจาก
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2551 จาก http://www.nsdv.go.th/commerce/integrated/manual.doc
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เข้าถึงเมื่อ 27พฤศจิกายน 2551 จาก http://www.kruusa.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=24
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เข้าถึงเมื่อ 27พฤศจิกายน 2551 จากhttp://yamong1.multiply.com/journal/item/6/6
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เข้าถึงเมื่อ 27พฤศจิกายน 2551 จากhttp://wasun.newsit.es/buranagan.doc
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เข้าถึงเมื่อ 27พฤศจิกายน 2551 จาก http://chainan-lm.blogspot.com/2008/01/learning-management.html

fern said...

นางสาวกษมา มาลาแวจันทร์ รหัส 0647244

งานนวัตกรรมเก่าอ่ะค่ะที่หาไม่เจอ

หนูแนบไฟล์ส่งใหม่ไปแล้วนะค่ะ

kasama.malawaechan@gmail.com

สุมณฑิรา said...
This comment has been removed by the author.
สุมณฑิรา said...

สุมณฑิรา นิยะมะ 0647259

1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
ปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้หากไม่ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำให้
เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้ จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ มาใช้ เช่น การสอนโดย
วิธีการบอกเล่า ท่องจำจะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหาสาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้จึงต้อง
เลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เหมาะสมการสอนลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individual Differences) มิใช่น้อย
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ
การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่เจตคติ
ค่านิยม ความสนใจและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือ
ศึกษาซึ่งเป็นการจูใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก ดังนั้นการให้ความสำคัญ
ระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน
การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่า
ต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ เจตคติและการกระทำ ที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรกระทำในขั้นตอนการบูรราการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง


....แหล่งอ้างอิงคร่า....

ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.2551 จากhttp://wasun.newsit.es/buranagan.doc

ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.2551
จากhttp://realjune.multiply.com/journal/item/63

ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.2551 จากhttp://www.geocities.com/jackypoll2/bulanakran.html

ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.2551 จากhttp://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/วิธีสอน.doc

ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย.2551 จากhttp://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=3735

Unknown said...

นายปริญญา พวงจันทร์ 647252

ลักษณะสำคัญของบูรณาการ
1.นำเอาความรู้อื่นที่ใกล้เคียงกันกับเรื่องที่กำลังสอนมาสัมพันธ์กัน
2.นำเอาความรู้เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆที่เป็นเหตุเป็นผลเกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่กำลังสอนมาสัมพันธ์กัน
3.ปรับงานที่ให้เด็กทำให้มีลักษณะสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคม
4.พยายามนำสิ่งที่เป็นแกนเข้าไปผนวกกับสิ่งที่กำลังสอนทุกครั้ง ที่มีโอกาสจะสอดแทรกแกนดังกล่าวนี้ อาจเป็นความคิดรวบยอด ทักษะ และค่านิยม
5.บูรณาการเชิงเนื้อหาวิชา คือ ผสมผสานเนื้อหาวิชาในลักษณะของการหลอมรวมแบบแกน หรือแบบสหวิทยาการ
6.บูรณาการเชิงวิธีการ คือ การผสมผสานวิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆโดยใช้สื่อประสม และใช้วิธีการประสมได้มากที่สุด
7.เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้ และกระบวนการเรียนรู้ เพราะในปัจจุบันปริมาณของความรู้มีมาก ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเอง
8.เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจคือให้ความสำคัญแก่จิตพิสัย
9.เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำคือให้ความสำคัญกับทักษะพิสัย
10.เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียน กับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน
11.เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ เจตคติ และการกระทำที่เหมาะสม
ลักษณะบูรณาการในการศึกษา
1.การบูรณาการในหลักสูตร เป็นการผสมผสานรวมวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน
2.บูรณาการเชิงวิธีการ คือการผสมผสานวิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆโดยใช้สื่อประสม และใช้วิธีการประสมได้มากที่สุด

แหล่งอ้างอิง

ธำรง บัวศรี (2532:180-181,อ้างถึงใน อรทัย มูลคำ และคณะ 2543:12)

สรุปการสัมมนาของนิสิตปริญญาโท การสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2526:4/14,อ้างถึงใน อาพันธ์ชนิตร์ จันทร์มโน 2534:40-41)

สุมิตร คุณานุกร (2518:41)

เสริมศรี ไชยศร (2526:55)

อรทัย มูลคำ และคนอื่นๆ (2543:12, อ้างถึงใน อมรรัตน์ สูนย์กลาง 2544:48-49)

fern said...

นางสาวกษมา มาลาแวจันทร์ รหัส 0647244

ลักษณะของการบูรณาการ

1. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ เพราะในปัจจุบันนี้ปริมาณของความรู้มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ การเรียนการสอนด้วยวิธีการเดิม อาทิ การบอกเล่า การบรรยายและการท่องจำ อาจจะไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ ผู้เรียนควรจะเป็นผู้สำรวจความสนใจของตนเองว่าในองค์ความรู้หลายหลากนั้น อะไรคือสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง ตนควรแสวงหาความรู้เพื่อตอบสนอง ความสนใจเหล่านั้นได้อย่างไร เพียงใด ด้วยกระบวนการเช่นไรซึ่งแน่นอนว่ากระบวนการเรียนการสอนลักษณะนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)ไม่ใช่น้อย

2. เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ นั่นคือให้ความสำคัญแก่ จิตพิสัย คือเจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และสุนทรียภาพ แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย ไม่ใช่เน้นแต่เพียงองค์ความรู้หรือพุทธิพิสัยแต่เพียงอย่างเดียว อันที่จริงการทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งขึ้นเสียก่อนที่จะได้ลงมือศึกษานั้น นับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน

3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำในข้อนี้ก็มีนัยแห่งความสำคัญและความสัมพันธ์เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้อสอง เพียงแต่เปลี่ยนจิตพิสัยเป็นทักษะพิสัยเท่านั้น

4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน คือการตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตของผู้เรียนว่าเมื่อได้ผ่าน กระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว สิ่งที่เรียนที่สอนในห้องเรียนจะต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง

5.บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิด ความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน การบูรณาการความรู้ของวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรจะกระทำในขั้นตอนของบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง

<< อ้างอิง >>

ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ28 พฤศจิกายน 2551จาก http://course.eau.ac.th/newlib/eaulibrary/newsletter/newsletter12/learn.html

ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ28 พฤศจิกายน 2551จาก http://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/วิธีสอน.doc

ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ28 พฤศจิกายน 2551จาก http://school.obec.go.th/tsb/webtsb/Buranakarn.pdf

ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ28 พฤศจิกายน 2551จาก eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1060829482-pro.doc

Unknown said...

ประเภทของการบูรณาการ
1.บูรณาการภายในสาระวิชา
2.บูรณาการระหว่างสาระวิชา แบ่งออกเป็น 4 แบบ ดังนี้
2.1 การบูรณาการแบบสอดแทรก เป็นการสอนในลักษณะที่ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาวิชาอื่น ๆ ในการสอนของตน เช่นการสอนประวัติศาสตร์อยุธยา แล้วแทรกการใช้คำราชาศัพท์เข้าไปในเนื้อหา เป็นต้น
2.2 การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน เป็นการสอนโดยครูตั้งแต่สองคนขึ้นไป วางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่องหรือความคิดรวบยอดหรือปัญหาเดียวกันแต่สอนต่างวิชาและต่างคนต่างสอน
2.3 การสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ เป็นการสอนลักษณะเดียวกับการสอน
บูรณาการแบบคู่ขนาน แต่มีการมอบหมายงานหรือโครงงานร่วมกัน เช่นการจัดนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่น ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา กับ การเรียนเรื่องหัตถกรรมจักสาน ในกลุ่มสาระการงานอาชีพ เป็นต้น
2.4 การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชา หรือสอนเป็นคณะ เป็นการสอนที่ครูผู้สอนวิชา
ต่าง ๆ ร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม มีการวางแผน ปรึกษาหารือร่วมกันโดยกำหนดหัว
เรื่อง ความคิดรวบยอด หรือปัญหาร่วมกัน แล้วร่วมกันสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน เช่นกรณีนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ เรียนวิชาการจัดนันทนาการกลางแจ้งของคณะศึกษาศาสตร์ แล้วสามารถออกแบบกิจกรรมนันทนาการ โดยนำอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เช่น กล้องดูดาว มาประกอบได้

การบูรณาการแบ่งลักษณะของการบูรณาการออกเป็น 6 ลักษณะ ดังนี้
1.การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ เป็นการนำความรู้ที่มีบางส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มาเชื่อมโยงเนื้อหาสาระในลักษณะการหลอมรวมกันแล้วตั้งเป็นหน่วยการเรียนรู้ ( Unit ) หรือหัวเรื่อง ( Theme )
2.การบูรณาการเชิงวิธีการ เป็นการนำวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการสอน หรือ การสอนเรื่อง อำนาจอธิปไตย แล้วนำกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธี เช่น การสนทนา การอภิปราย การตั้งคำถาม การบรรยาย การค้นคว้าและการทำงานกลุ่ม การไปศึกษานอกห้องเรียน และการนำเสนอข้อมูล มาใช้ในการสอนเรื่องเดียว โดยอาจนำกิจกรรมมาทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้
3.การบูรณาการความรู้ ความคิด กับคุณธรรม โดยเน้นทั้งพุทธิพิสัยและจิตพิสัยเป็นการเรียนที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่นักเรียนจะได้เป็น “ผู้มีความรู้คู่คุณธรรม”
4.การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติจริง ควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือการเรียนรู้โดยตัวผู้เรียนเอง เช่นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หรือการจัดทัศนศึกษา
5.การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ โดยออกแบบการเรียนรู้ให้มีทั้งการให้ความรู้และกระบวนการไปพร้อม ๆ กัน เช่น กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการสร้างความคิดรวบยอดเป็นต้น
6.การบูรณาการความรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของนักเรียน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าและความหมายในสิ่งที่เรียน มีทักษะในการเชื่อมโยงความคิด และนำประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ได้


แหล่งข้อมูล
www.edu.cmu.ac.th/~soontaree/Pdf/intregation.pdf

www.laem-rang.com/images/1146962073/report103.doc

images.somnuek.multiply.com/attachment/0/R6aoKwoKCB0AAArZAFo1/โครงการการบูรณาการการเรียนการสอนRERU.pdf?nmid...

eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1203740463-activity3.doc

http://www.ttc.ac.th/text/buranakan.html

จากhttp://school.obec.go.th/tsb/webtsb/Buranakarn.pdf

นายเอกชัย ภูมิระรื่น 0647034

kanlaya said...

กัลยา ภู่ทอง 0647245

ลักษณะของการบูรณาการ
1. การบูรณาการระหว่าง โรงเรียนกับบ้านเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนในโรงเรียนกับชีวิตประจำวันที่บ้าน เมื่อเรียนครบถ้วนแล้วผู้เรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแสดงถึงคุณค่าของสิ่งที่เรียนอย่างแท้จริง
2.การบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
เพื่อตอบสนองความสนใจ ที่ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individual Differences)
3.การบูรณาการระหว่างความรู้กับการกระทำ ในการแสวงหาความรู้เพื่อเรียนรู้นั้นจะต้องที่การปฎิบัติคือ รู้แล้วต้องลงมือกระทำดังนั้นการบูรณาการข้อนี้เน้นที่ทักษะนิสัย
4.การบูรณาการระหว่าง พัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ นั่นคือให้ความสำคัญแก่จิตพิสัย คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และสุนทรียภาพ แก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ด้วย
5.การบูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้พร้อมๆ กันเพื่อหล่อหลอมให้เกิดความหลากหลายในชีวิต ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับความต้อง
การและความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ

อ้างอิงจาก
ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน2551.จากhttp://realjune.multiply.com/
journal/item/63
ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน2551.จากhttp://www.arch.tu.ac.th/research_detail.php?res_id=59
ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน2551.จากhttp://www.ttc.ac.th/text/buranakan.html

Unknown said...

เบญจมาศ บุดศรี รหัส 0647251

ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มี 5 วิธี ดังต่อไปนี้

1.การบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
ปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้หากไม่ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำให้เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ มาใช้ เช่น การสอนโดยวิธีการบอกเล่า ท่องจำจะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหาสาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้จึงต้องเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่เหมาะสม
2.การบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่เจตคติ ค่านิยม ความสนใจและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษาซึ่งเป็นการจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
3.การบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก ดังนั้นการให้ความสำคัญระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
4.การบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5.การบูรณาการระหว่างวิชาต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริงตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน

อ้างอิงจาก
http://www.ttc.ac.th/text/buranakan.html

http://realjune.multiply.com/

http://www.edu.cmu.ac.th/~soontaree/Pdf/intregation.pdf

Unknown said...

นายกัปปิย เล้าเจริญ รหัส 0647263

ลักษณะของการบูรณาการ
ได้แบ่งลักษณะการบูรณาการ ไว้ 6 วิธี
1. การบรูณาการเชิงเนื้อหาสาระ
การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระเป็นการผสมผสานเชื่อมโยงเนื้อหาสาระหรือองค์ความรู้ในลักษณะของการหลอมรวมกัน โดยตั้งเป็นหน่วย (Unit) หรือหัวเรื่อง (Theme) เนื้อหาสาระที่นำมาหลอมรวมกันจะมีลักษณะสัมพันธ์กันหรือคล้ายกัน แล้วเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน
2. การบูรณาการเชิงวิธีการ
การบูรณาการเชิงวิธีการเป็นการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เข้าในการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิธีสอนหลาย ๆ วิธี ใช้สื่อการเรียนการสอนแบบสื่อประสม ใช้เทคนิคการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติอย่างสัมพันธ์กันให้มากที่สุด
3. การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้
ในปัจจุบันมีการเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนพัฒนาวิธีการแสวงหาความรู้ และการได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่ต้องการ และกระบวนการเรียนรู้จะเป็นสิ่งที่ตกตะกอนติดตัวนักเรียนไว้ใช้ได้ตลอดไป
โดยครูอาจแนะนำให้นักเรียนใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด ในการให้ได้มาซึ่งความรู้ในเรื่องที่ต้องการ
4. การบูรณาการความรู้ ความคิด กับคุณธรรม
โดยหลักการแล้วควรให้ความสำคัญแก่ความรู้ และคุณธรรมเท่าเทียมกัน จึงเป็นโอกาสดีที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนโดยบูรณาการความรู้ ความคิด และคุณธรรมเข้าด้วยกัน อาจเป็นการสอนเนื้อหาสาระโดยใช้วิธีการต่าง ๆ และใช้เทคนิคการสอดแทรกคุณธรรมเข้าไปโดยนักเรียนไม่รู้ตัว จนกระทั่งเกิดการซึมซับเป็นธรรมชาติ
5. การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ
เมื่อเวลาผ่านไป อาจลืมความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้นั้นได้ แต่ถ้าความรู้นั้นเชื่อมโยงไปกับการปฏิบัติจะทำให้ความรู้นั้นติดตัวไปได้ยาวนานไม่ลืมง่าย
6. การบูรณาการความรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของนักเรียน
สิ่งที่ครูสอนหรือให้นักเรียนรู้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา ควรเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับชีวิต
ของนักเรียนและเป็นสิ่งที่จะช่วยเหลือนักเรียนในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นแรงจูงใจให้
นักเรียนเกิดความต้องการในการเรียนรู้สิ่งอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น

อ้างอิงจาก
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. “การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนวัดเสมียนนารี” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ
การสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546.
หทัยกาญจน์ สำรวลหันต์.การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ เรื่อง ถลกบาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. นครปฐม : สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.

ลักษณะของการบูรณาการ. เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ย. จาก
http://www.geocities.com/jackypoll2/bulanakran.html
ลักษณะของการบูรณาการ. เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ย. จาก
http://realjune.multiply.com/journal/item/63
ลักษณะการบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ย.2551 จากhttp://wasun.newsit.es/buranagan.doc

ton_or said...

อัจฉราพร กลิ่นเกษร รหัส0647260

รูปแบบการบูรณาการ

ประเภทที่ 1 การบูรณาการเนื้อหาและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง มีหลายรูปแบบดังนี้

แบบ ที่ 1 การบูรณาการมโนทัศน์ ในการสอนแต่ละวิชา โดยเฉพาะการสอนภาคปฏิบัติหลักการ และทฤษฎีผู้สอนสอดประสาน มโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในขณะสอนได้ การบูรณาการนี้จะทำให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดพื้นฐานที่เป็นส่วนขยายมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน ทำให้มีความ เข้าใจเรื่องที่เรียนในแนวลึกและกว้างอย่างสอดประสาน เช่น การเรียนบทกลอน เด็กควรได้เรียนแนวคิดวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยที่เกี่ยว ข้องกับกลอนอาจรวมถึงการออกเสียง การเปล่งเสียงคำกลอน การใช้บทกลอนในชีวิตประจำวันที่มีผลพวงถึงบทเพลงในปัจจุบัน เป็นต้น

แบบที่ 2 การบูรณาการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและบุคลิกภาพ บางครั้งการบูรณาการคงไม่แต่เฉพาะการผนวกเอาสาระวิชาเกี่ยวข้องเข้าในการเรียนการ สอนเท่านั้น การสอนด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มารยาท มนุษยสัมพันธ์ การรู้จักกาลเทศะ การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นสิ่งจำเป็นด้วยเช่นกัน การบูรณาการลักษณะนี้ ในอดีตครูไทยให้ความสนใจมากแต่ปัจจุบันได้ยกให้เป็นหน้าที่ของครูฝ่ายปกครองหรือครูสอนศีลธรรม ทำให้เกิดการ แปลกแยกจากตัวเด็ก ทั้งที่การเรียนการสอนทุกวิชาควรบูรณาการสาระต่างๆ นี้เข้าไป แม้แต่ในการทำงานเป็นกลุ่ม แต่ไม่มีความหมายกับการ สร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม ความรับผิดชอบงานของตนเองและกลุ่ม ซึ่งควรมีผลต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและบุคลิกภาพ

แบบที่ 3 การบูรณาการทักษะการคิด ในการปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน นอกจากการสอนโดยเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง แล้ว ยังมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการคิดด้วย เช่น การคิดแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ซึ่งการพัฒนาทักษะการคิดนี้สามารถทำ ให้ได้ทุกรายวิชาขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมที่สร้างเสริมการคิดให้กับเด็ก การเปิดโอกาสให้เด็กได้อภิปราย แสดงความคิดเห็น ใช้กิจกรรมการเรียน การสอนที่เด็กมีโอกาสผลิตผลงานจะพัฒนาการคิดให้กับเด็กมากกว่าการเรียนการสอนที่เด็กเป็นเพียงผู้รับ

แบบที่ 4 การบูรณาการเนื้อหา การบูรณาการเนื้อหาโดยสาระที่เกี่ยวข้องมาประสานในการจัดการเรียนการสอนนี้ ฟอการ์ดี (Forgarty,1991:30–31) เสนอแนะการบูรณาการเนื้อหาว่าทำได้ 2 ลักษณะคือ 1.การบูรณาการเนื้อหากับเนื้อหาหรือมโนทัศน์กับมโนทัศน์เพื่อสร้างความเข้าใจ
2.เชื่อมสานทักษะกับทักษะเข้าด้วยกัน เช่น การสร้างความรับผิดชอบในตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรม

ประเภทที่ 2 การบูรณาการระหว่างวิชา การบูรณาการแบบนี้เป็นการบูรณาการหลักสูตรซึ่งเคยใช้มานาน เช่นการรวมวิชาประวัติศาสตร์ หน้าที่ศีลธรรม ภูมิศาสตร์เป็นวิชาสังคมศึกษา เป็นต้น ลักษณะของการบูรณาการจะเป็นการนำวิชาที่มีลักษณะกลุ่มเดียวกันมาบูรณาการเป็นเนื้อความเดียวแล้วเรียกชื่อใหม่การบูรณาการแบบนี้จะเกิดวิชา กลุ่มวิชา

ประเภทที่ 3 บูรณาการ หลักสูตร เป็นการจัดทำหลักสูตรบูรณาการทั้งหลักสูตรด้วยการพัฒนาหลักสูตรโดยรวมเนื้อหาวิชาที่แยกกระจายออกจากกันตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป หรือมากกว่าเข้าด้วยกัน มาจัดเป็นกลุ่มเพื่อให้สนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและความต้องการความรู้ที่สมบูรณ์แบบ (McNeil,1981:62) หลักสูตรแบบนี้เน้นประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อ'และลดความซ้ำซ้อนของวิชามีการจัดเนื้อหาวิชาเป็นรูปหน่วย(Unit)เป็นโมดูลหรือบูรณาการเป็นวิชาใหม่

วิธีการบูรณาการ
การดำเนินการเพื่อการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนฟอการ์ตี (Fogarty,1991)ได้แนะนำวิธีการบูรณาการเนื้อหาวิชาตั้งแต่ 2วิชาขึ้นไปว่าควรประกอบด้วยวิธีการบูรณาการ 4 วิธี คือ

1.บูรณาการความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชา หมายถึง ในการจัดการเรียนการสอนของครูแต่ละหัวข้อเรื่อง ครูต้องจัดเรียงหัวข้อเรื่องหรือ หน่วยที่สอนเกี่ยวข้องกันมาสอนในเวลาเดียวกัน แล้วลำดับเรื่องจากง่ายไปยาก จากใหญ่ไปย่อยโดยให้เกิดความต่อเนื่อง เข่น ครูสอนเรื่อง สัตว์เลี้ยง ควรต่อจากเรื่องปศุสัตว์ เป็นต้น

2.บูรณาการระหว่างวิชา หมายถึง การจัดระเบียบการสอนมโนทัศน์ หรือเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกันใหม่ ด้วยการร่วมมือกันเป็นทีมระหว่างครูผู้สอน เพื่อลดหรือย้ายเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนออกให้มากที่สุด เพื่อลดความซ้ำซ้อนนี้ ควรใช้วิชาที่เกี่ยวข้องกันประสานกัน เช่น วิชาสุขศึกษา การงาน พลศึกษา ร่วมบูรณาการกันเป็นทีมได้

3.การบูรณาการโดยสร้างข่ายใยแมงมุม หลักสูตร ข่ายในแมงมุมหลักสูตรจะเป็นภาพทัศน์แสดงให้เห็นกระบวนการบูรณาการการเรียนรู้ต่างๆ กับเนื้อหาที่เด็กต้องการ ประโยชน์ที่ได้ คือ ทำให้ครูรู้ทิศทางเนื้อหาว่าจะสอนอย่างไร สามารถตรวจสอบขอบเขตเนื้อหาได้และยังช่วยครูในการ วางแผนเนื้อหาและแจกกิจกรรมได้อย่างครอบคลุม (กุลยา ตันติผาชีวะ, 2543 : 26-27)

4.การบูรณาการตามแนวหลักสูตรที่กำหนด การบูรณาการประเภทนี้หมายถึงการที่หลักสูตรนั้นๆมีแนวของหลักสูตร ที่เน้นการสอนภาษาแบบ เน้นธรรมชาติ หลักสูตรที่เน้นการสอนแบบโครงการ เป็นต้น การบูรณาการตามแนวหลักสูตรนี้จะเป็นไปตามมโนทัศน์ของแนวคิดหรือทฤษฎีที่เป็น แนวของหลักสูตรนั้นๆ

ประเภทของการบูรณาการ
เราสามารถบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนได้เป็นสองแบบ( สุวิทย์ มูลคำ อ้างถึง UNESCO–UNEP,1994: 51)

1.การบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary)เป็นการสร้างหัวเรื่อง (Theme) ขึ้นมาแล้วนำเนื้อหาจากวิชาต่าง ๆ มาโยงสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้น ซึ่งบางครั้งก็อาจเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า สหวิทยาการแบบมีหัวข้อ(Themetic Interdisciplinary Studies)หรือบูรณาการที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลัก (Application–First Approach) การกำหนดหัวเรื่อง (Theme)ได้แก่ การสร้างหัวเรื่องโดยมีหลักในการกำหนดหัวเรื่องดังนี้
1.เป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ และมีโอกาสได้เลือกเรียน
2.เป็นเรื่องที่สามารถโยงความสัมพันธ์ได้หลายวิชาหรือหลายกลุ่มประสบการณ์
3.เป็นเรื่องที่นักเรียนมีประสบการณ์เดิมอยู่แล้วและสอดคล้องกับชีวิตจริง และมีความหมายต่อผู้เรียน
4.เป็นเรื่องที่มีแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนรู้ได้ศึกษาค้นคิดอย่างหลากหลาย และเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับท้องถิ่นกับความรู้ที่เป็นสากล
5.เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียนและส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนรอบด้าน การตั้งชื่อต้องทันสมัย และน่าสนใจยั่วยุให้ผู้เรียนอยากรู้ อยากเรียน

2.การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ (Multidisciplinary)
เป็นการนำเรื่องที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สอดแทรก (Infusion)ไว้ในวิชาต่าง ๆ หรือบูรณาการเน้นเนื้อหาของวิชาเป็นแกนแล้วนำสิ่งที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนเกิดไปสอดแทรกในวิชาแกนดังกล่าวซึ่งบางครั้งเราก็อาจจะเรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า การบูรณาการที่เน้นเนื้อหารายวิชาเป็นหลัก (Discipline First Approach)

แหล่งอ้างอิง
http://www.ttc.ac.th/text/buranakan.html

http://www.ripn-math.com/doc/aa_012.doc

http://learners.in.th/blog/pajeenut/76982

http://learners.in.th/blog/pajeenut/76987

Pitcha0647255 said...
This comment has been removed by the author.
Papao said...

สิทธิชัย กิจถาวร 0647257

ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ แบ่งออกเป็น

1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
ปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้หากไม่ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำให้เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ มาใช้ เช่น การสอนโดยวิธีการบอกเล่า ท่องจำจะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหาสาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้จึงต้องเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เหมาะสม
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ
การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่เจตคติ ค่านิยม ความสนใจและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษาซึ่งเป็นการจูใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก ดังนั้นการให้ความสำคัญระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน
การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ
เพื่อให้เกิดความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริงตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน

แหล่งอ้างอิงนะครับ

http://buranarom.spaces.live.com/Blog/cns!120B998AC062DA4E!271.entry

http://www.kroobannok.com/view.php?article_id=3735

http://www.nsdv.go.th/commerce/integrated/integraded.htm

http://www.kruusa.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=24

http://yamong1
.multiply.com/journal/item/6/6

wasun.newsit.es/buranagan.doc

ไม่น่าเชื่อ วันนี้จะส่งก่อนเดทไลน์เป็นชั่วโมง มหัสจรรย์ประเทศไทย สุโค่ยย

Pitcha0647255 said...

พิชชา สุริอาจ รหัส 0647255

ลักษณะการบูรณาการการเรียนรู้

1.การบูรณาการความรู้ความเข้าใจกับกระบวนการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้เป็นสิ่งที่เน้นในปัจจุบัน เพราะเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาวิธีการแสวงหาความรู้ และการได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่ต้องการ และกระบวนการเรียนรู้เพื่อที่จะเป็นสิ่งที่ตกตะกอนติดตัวผู้เรียนไว้ใช้ได้ตลอดไป

2.การบูรณาการสติปัญญากับความรู้สึก
คือการเน้นทั้งความรู้ และเจตคติ ค่านิยม ความสนใจ สุนทรียภาพ : การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย ซึ่งจะก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษาซึ่งเป็นการจูใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

3.การบูรณาการความรู้ความเข้าใจกับพฤติกรรมที่ต้องการให้แสดงออก
คือการเน้นทั้งความรู้และทักษะพิสัย : การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก ดังนั้นการให้ความสำคัญระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริงมีการแสดงออกได้อย่างเหมาะสม

4.การบูรณาการการเรียนรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของผู้เรียน
สิ่งที่ผู้สอนสอนหรือให้ผู้เรียนรู้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา ควรเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับชีวิตของผู้เรียนและเป็นสิ่งที่จะช่วยเหลือนผู้เรียนในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความต้องการในการเรียนรู้สิ่งอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น

5.การบูรณาการระหว่างวิชาต่าง ๆ
เป็นการบูรณาการความรู้ของวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อตอบปัญหาที่ผู้เรียนสนใจเพื่อให้เกิด ความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน


แหล่งอ้างอิง

http://course.eau.ac.th/newlib/eaulibrary/newsletter/newsletter12/learn.html

http://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/วิธีสอน.doc

http://gotoknow.org/blog/pacharee/104992

http://www.ttc.ac.th/text/buranakan.html

http://learners.in.th/blog/pajeenut/76982

November 28, 2008 10:20 PM

wararak said...

วรารักษ์ บุษยานนท์ รหัส 0647256~*

ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไว้หลายลักษณะดังนี้
1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ (บูรณาการกระบวนการเรียนการสอน)
ปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้หากไม่ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำให้เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ มาใช้ เช่น การสอนโดยวิธีการบอกเล่า ท่องจำจะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหาสาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้จึงต้องเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เหมาะสม
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ (จิตพิสัย) เน้นทั้งความรู้ และเจตคติ ค่านิยม ความสนใจ สุนทรียภาพ
การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่เจตคติ ค่านิยม ความสนใจและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษาซึ่งเป็นการจูใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ เน้นทั้งความรู้และทักษะพิสัย
การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก ดังนั้นการให้ความสำคัญระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน
การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ (บูรณาการหลักสูตร)
เพื่อให้เกิดความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริงตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน
การบูรณาการโดยสร้างข่ายใยแมงมุม หลักสูตร ข่ายในแมงมุมหลักสูตรจะเป็นภาพทัศน์แสดงให้เห็นกระบวนการบูรณาการการเรียนรู้ต่างๆ กับเนื้อหาที่เด็กต้องการ ประโยชน์ที่ได้ คือ ทำให้ครูรู้ทิศทางเนื้อหาว่าจะสอนอย่างไร สามารถตรวจสอบขอบเขตเนื้อหาได้และยังช่วยครูในการ วางแผนเนื้อหาและแจกกิจกรรมได้อย่างครอบคลุม (กุลยา ตันติผาชีวะ, 2543 : 26-27) 4. การบูรณาการตามแนวหลักสูตรที่กำหนด การบูรณาการประเภทนี้หมายถึงการที่หลักสูตรนั้นๆมีแนวของหลักสูตร ที่เน้นการสอนภาษาแบบ เน้นธรรมชาติ หลักสูตรที่เน้นการสอนแบบโครงการ เป็นต้น การบูรณาการตามแนวหลักสูตรนี้จะเป็นไปตามมโนทัศน์ของแนวคิดหรือทฤษฎีที่เป็น แนวของหลักสูตรนั้นๆ

= แหล่งการเรียนรู้ =

ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2551. http://learners.in.th/blog/pajeenut/76978

ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2551. http://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99.doc

ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2551. http://www.kroobannok.com/view.php?article_id=3735

ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2551.
http://www.ripn-math.com/doc/aa_012.doc

ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ.เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2551.
http://www.ripn-math.com/doc/aa_012.doc

ฝันหวานนะคร่า^^

jirayu talah 0647246 said...

ลักษณะของบูรณาการ
1. การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ เป็นการผสมเชื่อมโยงเนื้อหาสาระหรือองค์ความรู้ในลักษณะรวมกัน เนื้อหาสาระที่นำมารวมกันมีลักษณะคล้ายกัน สัมพันธ์กัน หรือต่อเนื่องกัน แล้วเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกัน
2. การบูรณาการเชิงวิธีการ เป็นการผสมธีการสอนแบบต่าง ๆ เข้าในการสอน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธี เช่น ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องภูมิปัญญาไทย ครูสามารถบูรณาการเชิงวิธีการด้วยการใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ ได้หลายวิธี ได้แก่ การสนทนา การอภิปราย การใช้คำถาม การบรรยาย การค้นคว้าและการทำงานกลุ่ม การไปศึกษานอกห้องเรียน และการนำเสนอข้อมูล เป็นต้น
3. การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ โดยออกแบบการเรียนรู้ให้มีทั้งการให้ความรู้และกระบวนการไปพร้อมกัน เช่น กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการสร้างความคิดรวบยอดเป็นต้น
4. การบูรณาการความรู้ ความคิด กับคุณธรรม โดยเน้นทั้งพุทธิพิสัยและจิตพิสัยเป็นการเรียนที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่นักเรียนจะได้เป็น “ผู้มีความรู้คู่คุณธรรม”
5. การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ เน้นการปฏิบัติจริงควบคู่ไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
6. การบูรณาการความรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของนักเรียน พยายามให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าและความหมายในสิ่งที่เรียน
แหล่งอ้างอิง

ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ,เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ย. 51
http://www.bpcd.net/new_subject/general/Articles/06.pdf
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ,เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ย.51
www.laem-rang.com/images/1146962073/report104.doc


จิรายุ ตาหล้า 0647246

Unknown said...

ลักษณะของการบูรณาการ มีการจัดอยู่หลายอย่าง
เช่น แบ่งโดยรวมจะแบ่งออกเป็น 2ลักษณะคือ
1) การบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นการจัด
การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงเนื้อหาด้านความรู้ ทักษะ/
กระบวนการ หรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใน
กลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ เข้าด้วยกัน เพื่อมุ่งศึกษา
เกี่ยวกับเรื่องราว ประเด็น ปัญหา หัวข้อหรือ
ประสบการณ์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

2) การบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็น การจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงเนื้อหาด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ หรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตั้งแต่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อมุ่งศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราว ประเด็น ปัญหา หัวข้อ หรือประสบการณ์เรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างเข้าใจลึกซึ้ง และชัดเจนใกล้เคียงกับความเป็นจริงในชีวิตยิ่งขึ้น

แต่โดยส่วนใหญขะสรุปลักษณะของบูรณาการออกเป็น 5 อย่างดังนี้คือ
1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ ปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้หากไม่ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำให้เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ มาใช้ เช่น การสอนโดยวิธีการบอกเล่า ท่องจำจะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหาสาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้จึงต้องเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เหมาะสม

2.บูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่เจตคติ ค่านิยม ความสนใจและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษาซึ่งเป็นการจูใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

3.บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำการเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก ดังนั้นการให้ความสำคัญระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง

4.บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิตเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง

5.บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริงตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน

รูปแบบของการบูรณาการ (Model of integration)

โดยทั่วไปมีอยู่ 4 แบบ

1. การบูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion)

การเรียนรู้แบบนี้ครูจะนำเนื้อหาของวิชาต่างๆ มาสอดแทรกในรายวิชาของตนเองเป็นการวางแผนการสอนและทำการสอนโดยครูเพียงคนเดียว

ข้อดี 1. ครูคนเดียวบริหารทั้งเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้และเวลาที่ใช้โดยสะดวก

2. ไม่มีผลกระทบกับครูผู้อื่นและการจัดตารางสอน

ข้อจำกัด 1. ครูคนเดียวอาจไม่มีความชำนาญในเนื้อหาวิชาบางเรื่อง

2. เนื้อหาวิชาและกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดอาจซ้ำซ้อนกับของวิชาอื่น

3. ผู้เรียนจะมีภาระงานมากเพราะทุกรายวิชาจะต้องมอบหมายงานให้

2. การบูรณาการแบบขนาน (Parallel)

การเรียนรู้แบบนี้ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวิชาของตนเองแต่จะมาวางแผน ตัดสินใจร่วมกันว่าจะจัดแผนการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมุ่งสอนในหัวเรื่อง (Theme) ความคิดรวบยอด (Concept) และปัญหา (Problem) เดียวกันในส่วนหนึ่ง

ข้อดี 1. ครูผู้สอนแต่ละคนยังคงบริหารทั้งเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้เวลาโดยสะดวก

2. ไม่มีผลกระทบกับครูผู้อื่นและการจัดตารางสอน

3. เนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนลดการซ้ำซ้อนลง ช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกัน

ข้อจำกัด 1. ครูยังคงต้องรับภาระเนื้อหาวิชาที่ไม่ชำนาญ

2. ผู้เรียนยังมีภาระงานมากเพราะทุกรายวิชาจะต้องมอบหมายงานให้

3. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidiscipline)

การเรียนรู้แบบนี้คล้ายกับแบบคู่ขนาน ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวิชาของตน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองเป็นส่วนใหญ่ มาวางแผนการสอนร่วมกันในการให้งานหรือโครงการที่มีหัวเรื่อง แนวคิดหรือความคิดรวบยอดและปัญหาเดียวกัน

ข้อดี 1. สนับสนุนการทำงานร่วมกันของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ลดความซ้ำซ้อนของกิจกรรม

2. ผู้สอนทุกคนและผู้เรียนมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน

3. ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการนำความรู้ไปใช้กับงานอาชีพจริง

ข้อจำกัด มีผลกระทบต่อการจัดตารางสอนและการจัดแผนการเรียน

4. การบูรณาการแบบข้ามวิชา (Transdisciplinary)

การเรียนรู้แบบนี้ผู้สอนในรายวิชาต่างๆ จะมาร่วมกันสอนเป็นคณะ ร่วมกันวางแผน กำหนดหัวเรื่อง ความคิดรวบยอดและปัญหาเดียวกัน

ข้อดี 1. สนับสนุนการทำงานร่วมกันของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ลดความซ้ำซ้อนของกิจกรรม

2. ผู้สอนทุกคนและผู้เรียนมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน

3. ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการนำความรู้ไปใช้กับงานอาชีพจริง

ข้อจำกัด 1. มีผลกระทบต่อการจัดตารางสอนและการจัดแผนการเรียน

2. ผู้สอนต้องควบคุมการเรียนให้ทันตามกำหนด


อ้างอิง

ลักษณะการบูรณาการ.สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พ.ย.2551
จากhttp://realjune.multiply.com/journal/item/63

ลักษณะการบูรณาการ.สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พ.ย.2551 จากhttp://www.wk.ac.th/project/kanyarat/project2/วิธีสอน.doc

ลักษณะการบูรณาการ.สืบค้นเมื่อวัยที่ 28 พ.ย.2551 จากhttp://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=3735
ลักษณะการบูรณาการ .สืบค้นเมือวันที่ 28พ.ย.2551 จาก http://www.nsdv.go.th/commerce/integrated/integraded.htm
ลักษณะการบูรณาการ .สืบค้นเมือวันที่ 28พ.ย.2551 จาก www.kpp1.org/naiyana/October/09/51.ppt

Tawit_Luxsanga said...

นายทวิช ลักษณ์สง่า 0647247

ลักษณะของการบูรณาการ

1.การบูรณาการในลักษณะแรกคือการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการการเรียนรู้ เนื่องจากองค์ความรู้มีมาก ดังนั้นวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบเดิมๆ นั้นอาจไม่เพีงพอต่อการเรียนรู้ได้ ดังนั้นควรให้ผู้เรียนศึกษาความสนใจของตนเองและแสวงหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้เข้าใจและสามารถเรียนรู้ได้

2.การบูรณาการในลำดับต่อมาได้แก่ การบูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ คือการให้ความสำคัญกับ จิตพิสัย เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และสุนทรียภาพ เพื่อให้การเรียนรู้นั่นมีความมั่นคงจึงจำเป็นต้องให้ผู้เรียนตระหนักเข้าใจจนมีความรู้สึกในการแสวงหาความรู้

3.การบูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะต่างๆ อย่างเต็มที่จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ควรให้ผู้เรียนได้ลงมือ มิใช่แค่ให้เรียนแต่ในตำราเพียงอย่างเดียวเพราะการเรียนที่ได้จากการลงมือทำจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่า

4. การบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับชีวิตประจำวันของนักเรียน คือ การนำความรู้ที่ได้เรียนนั้นนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะการศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยการได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการนำเนินชีวิต

5.การบูรณาการวิชาต่างๆ เพื่อให้เกิดการนำความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพราะการใช้ชีวิตประจำวัน หือการแก้ไขปัญหาเมื่อได้ประสบไม่สามารถใช้ความรู้ในวิชาเดียว หรือมองวิธีการได้เพียงด้านเดียวผู้เรียนจึงต้องมีความรอบร฿ รู้จักเชื่อมโยงความรู้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
อ้างอิงจาก

http://www.geocities.com/jackypoll2/bulanakran.html

http://learners.in.th/blog/ilr/70720?class=yuimenuitemlabel

http://course.eau.ac.th/newlib/eaulibrary/newsletter/newsletter12

http://www.ttc.ac.th/text/buranakan.html

http://www.edu.cmu.ac.th/~soontaree/Pdf/intregation.

******************