Monday, November 12, 2012

ครั้งพิเศษ กิจกรรม Host Team ครั้งละ 3 คน

กิจกรรม Host Team มีหน้าที่ดังนี้
1. สรุปเนื้อหาที่เรียนในครั้งที่กลุ่มตนรับผิดชอบ
2. แสดงความคิดเห็น/ให้ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนในครั้งนั้น
3. ดูแลความเรียบร้อยก่อน-หลังเรียนในครั้งที่กลุ่มตนรับผิดชอบ
***สำหรับคนอื่นที่ไม่ได้เป็น  Host Team  มีหน้าที่แสดงความคิดเห็นในกิจกรรมที่เพื่อนได้ทำ

213 comments:

«Oldest   ‹Older   201 – 213 of 213
narma doloh said...

>>>ต่อ

ข้อจำกัด
ต้องเลือกผู้ที่มาให้สัมภาษณ์ เพราะจุดเด่นของการจัดวิธีการเรียนรู้แบบนี้ คือความสดใหม่ของเนื้อหาที่ผู้ถูกสัมภาษณ์จะถ่ายทอดออกมา จึงควรระวังไม่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตระเตรียมข้อมูลมาล่วงหน้า เพราะจะทำให้เด็กได้รับข้อมูลที่ซ้ำเดิม
ภาพถ่ายในอดีต อาจทำให้เด็กไม่เข้าใจในรายละเอียดและไม่สามารถเชื่อมโยงมายังปัจจุบันได้ ดังนั้น ผู้สอนจึงควรเตรียมภาพถ่ายเปรียบเทียบกับปัจจุบัน หรือพาเด็กๆไปชมสถานที่จริง เพื่อเป็นการเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องราวในอดีตที่เด็กได้เรียนรู้

narma doloh said...

>>>ต่อ

ข้อจำกัด
ต้องเลือกผู้ที่มาให้สัมภาษณ์ เพราะจุดเด่นของการจัดวิธีการเรียนรู้แบบนี้ คือความสดใหม่ของเนื้อหาที่ผู้ถูกสัมภาษณ์จะถ่ายทอดออกมา จึงควรระวังไม่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตระเตรียมข้อมูลมาล่วงหน้า เพราะจะทำให้เด็กได้รับข้อมูลที่ซ้ำเดิม
ภาพถ่ายในอดีต อาจทำให้เด็กไม่เข้าใจในรายละเอียดและไม่สามารถเชื่อมโยงมายังปัจจุบันได้ ดังนั้น ผู้สอนจึงควรเตรียมภาพถ่ายเปรียบเทียบกับปัจจุบัน หรือพาเด็กๆไปชมสถานที่จริง เพื่อเป็นการเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องราวในอดีตที่เด็กได้เรียนรู้

narma doloh said...

>>>ต่อ

ข้อจำกัด
///ต้องเลือกผู้ที่มาให้สัมภาษณ์ เพราะจุดเด่นของการจัดวิธีการเรียนรู้แบบนี้ คือความสดใหม่ของเนื้อหาที่ผู้ถูกสัมภาษณ์จะถ่ายทอดออกมา จึงควรระวังไม่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตระเตรียมข้อมูลมาล่วงหน้า เพราะจะทำให้เด็กได้รับข้อมูลที่ซ้ำเดิม
///ภาพถ่ายในอดีต อาจทำให้เด็กไม่เข้าใจในรายละเอียดและไม่สามารถเชื่อมโยงมายังปัจจุบันได้ ดังนั้น ผู้สอนจึงควรเตรียมภาพถ่ายเปรียบเทียบกับปัจจุบัน หรือพาเด็กๆไปชมสถานที่จริง เพื่อเป็นการเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องราวในอดีตที่เด็กได้เรียนรู้

Paothai Siangjam said...

host team >>>>
เผ่าไทย no.06510085
วรงค์กรณ์ no.06510092
สุภกิจ no.06510098
มาตอนนี้ทันมั้ย 555 อาจช้าไปหน่อยแต่มาต่อกันเลยดีกว่า กับเพื่อนที่เหลือนะครับ รายงานและวิเคราะห์โทรทัศน์ครูที่ได้ไปศึกษา

Paothai Siangjam said...

คนที่ 30 เพ็ญภาส (ส้มจี้ดด)
โทรทัศน์ครูที่เลือกมา มีวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออกมาตามความรู้สึกนึกคิดของตน และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง ทั้งทางด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบว่าเป็นข้อมูลใน การอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่นหรือเกิดความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับบทบาทสมมติที่ตนแสดง ความมุ่งหมายของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ มีดังนี้
1. เพื่อฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
2. เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกซึ่งความรู้สึก
3. เพื่อฝึกการแก้ปัญหา

Paothai Siangjam said...

คนที่ 31 น้องพลอย ภัทรนันท์
เป็นวิธีการสอนที่มีความน่าสนใจมาก เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน มีการใช้ข่าวและเหตุการณ์มาใช้ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้ใช้การเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับจากข่าวและเหตุการณ์ ผู้สอนมีหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์และการรับรู้เรื่องราว สอดคล้องกับหลักการของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน

Paothai Siangjam said...

คนที่ 32 ธัชธิดา เอ้ยยๆๆ วรษมณ จรุงจิต (เจ้เตย อ๊อฟตึ่บ!!)
เทคนิคการสอน โดยนำประวัติศาสตร์กลับคืนชีพขึ้นมาผ่านการละครหรือการแสดงบทบาทสมมติ โดยการสอนให้นักเรียนย้อนเวลากลับไปรื้อฟื้น ประวัติชีวิตของ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล สอดแทรกเนื้อหาผ่านละครทางจินตนาการของเด็กๆ
วิธีสอนที่ใช้บทบาทที่สมมติขึ้นจากความเป็นจริงมาเป็นเครื่องมือในการสอนโดยที่ครูสร้างสถานการณ์สมมติและบทบาทขึ้นมาให้นักเรียนได้แสดงออกตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น มีการนำการแสดงออกทั้งทางด้านความรู้ความคิด และพฤติกรรมของผู้แสดงมาใช้เป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่นักเรียนในเรื่องความรู้สึกและพฤติกรรม และปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
ความมุ่งหมายของการสอนด้วยวิธีดังกล่าวมีดังนี้
1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
3. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด
4. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนมีความกล้าที่จะแสดงออก

Paothai Siangjam said...

คนที่ 33 จิรายุ คงดี (ด๋อย)
เลือกโทรทัศน์ครูที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้น ม.2 โดยการสอนด้วยเทคนิคการระดมสมอง ที่เน้นกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มและร่วมมือกันของนักเรียน
การระดมสมอง ถือเป็นเทคนิคที่ใช้กับกลุ่ม (Group Technique) ไม่ใช่ใช้กับคนเพียงคนเดียว ในทางการบริหารมักใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาทางเลือกในการตัดสินใจและใช้ในการการวางแผน Brain Storming การระดมสมองหมายถึงการแสวงหาความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด ดังนั้นการให้คิดโดยไม่กำหนดเวลาที่จำกัดแน่นอนก็ไม่เรียกว่าการระดมสมอง การระดมสมองจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้กับกลุ่มที่ไม่รู้จักกัน ไม่เกรงใจกันหรือสนิทสนมกันมากเกินไป

Paothai Siangjam said...

คนที่ 35 นาลิส กาปา (ลิซซี่)
การใช้สิ่งแวดล้อม : นักสำรวจท้องถิ่น - Using The Environment : Local Explorers
นาลิสเลือกวิธีการสอนที่เกี่ยวข้องกับการจัดทัศนศึกษา วิธีสอนที่เน้นการใช้ประสบการณ์ตรงและการเชื่อมโยงองค์ความรู้ เป็นวิธีที่นักเรียนจะได้ความรู้ที่คงทนถาวร ผ่านการใช้ผัสสะของตนเอง แต่เป็นวิธีการที่ผู้สอนต้องจัดเตรียมเป็นอย่างดี ต้องมีการวิเคราะห์และวางแผน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด วิธีการสอนโดยการจัดทัศนศึกษาเน้นการบูรณาการทั้งในสาระและนอกสาระ
การจัดการเรียนรู้โดยการไปทัศนศึกษามีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นวางแผน
2. ขั้นการเดินทางไปทัศนศึกษา
3. ขั้นการศึกษาเรียนรู้ในสถานที่หรือแหล่งเรียนรู้
4. ขั้นการเดินทางกลับ
5. ขั้นสรุปผลการเรียนรู้
6. ขั้นประเมินผล

Paothai Siangjam said...

คนที่ 36 เจ้อุ อุไรวรรณ คีรีทอง
คุณอุไรเลือกเอาวิธีสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของครูสุจินต์ สวนไผ่ ด้วยการสอนแบบโครงงานแบบประยุกต์เอาการทัศนศึกษาเข้าด้วยกัน และมีการใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้มาใช้ร่วมในการจัดการเรียนรู้ด้วย
การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของกลุ่ม เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในชีวิตจริงได้
วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ

Paothai Siangjam said...

คนที่ 37 นิสารัตน์ รอดบุญคง (แจงจิต)
ศึกษาเรื่อง การสอนแบบโครงงานในรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคุณครูอรวรรณ กองพิลา โรงเรียนฝางวิทยายน จังหวัดขอนแก่น การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็น กระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของ กลุ่มเป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง การเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกันได้แก่ กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิด การแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ การสอนแบบปริศนาความคิด และการสอนแบบร่วมกันคิด เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจ อยากรู้ อยากเรียนของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับแหล่ง ความรู้เบื้อง สามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง

Paothai Siangjam said...

คนที่ 38 ภานุพงษ์ ม่วงเขียว
ลิเกเศรษฐศาสตร์ คุณครูบุญปลูก เนินกลาง รร.ศรีเอี่ยมอนุสรณ์เทคนิควิธีสอน คือ การใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ โดยครูจะสอนเรื่องเศรษฐศาสตร์ โดยเน้นให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา และสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิต และบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งการสอนทั่วไปอาจจะสอนโดยการอธิบายให้นักเรียน แต่เพราะคุณครูบุญปลูก เนินกลาง รร.ศรีเอี่ยมอนุสรณ์ มีความสนใจ และรักในลิเกพื้นบ้าน ครูจึงคิดนำการแสดงลิเกมาใช้เพื่อการศึกษา ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาได้อย่างดีแล้ว ยังทำให้เด็กสนุกกับการเรียน สนุกกับการได้แสดงออก สนุกกับการนำเสนอในรูปแบบลิเกอีกด้วย ประโยชน์ก็คือทำให้เรารู้จักการนำศิลปะวัฒนธรรมไทยมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน โดยเฉพาะการนำลิเกมาบูรณาการกับการเรียนเศรษฐศาสตร์ ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจมากขึ้น

Paothai Siangjam said...

คนที่ 40 ป้าเฮี่ยง ธิติมาศ สุขประเสริฐชัย
โทรทัศน์ครู ตอน Experiential Approaches to Hinduism วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เรื่องศาสนาฮินดู เทคนิควิธีการสอน : การเรียนรู้จากประสบการณ์
เป็นโทรทัศน์ครูที่นำมาจากต่างประเทศ เป็นการสอนในเรื่องที่ใกล้ตัวผู้เรียน ที่ไม่คุ้นเคยสำหรับนักเรียนอย่างยิ่ง แต่ผู้สอนมีการใช้วิธีการสอนที่เป็นการผสมผสานเชื่อมโยง วิธีต่างๆ ที่เน้นประสบการณ์และการสัมผัสด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คงทน นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
การเรียนรู้แบบนี้ไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัว ปราศจากกฎเกณฑ์หรือกำหนดเวลา และได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เด็กๆ ได้รับอิสระในการเรียนอย่างเป็นธรรมชาติด้วยตัวเขาเอง การเรียนรู้จากประสบการณ์เกิดขึ้นผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นกลางแจ้ง การเล่นบทบาทสมมติหรือตามจินตนาการ สื่อความคิดสร้างสรรค์ผ่านงานศิลปะ ดนตรี และการเต้นรำ การสำรวจธรรมชาติรอบๆ ตัวเด็กเอง

«Oldest ‹Older   201 – 213 of 213   Newer› Newest»