Monday, November 12, 2012

ครั้งพิเศษ กิจกรรม Host Team ครั้งละ 3 คน

กิจกรรม Host Team มีหน้าที่ดังนี้
1. สรุปเนื้อหาที่เรียนในครั้งที่กลุ่มตนรับผิดชอบ
2. แสดงความคิดเห็น/ให้ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนในครั้งนั้น
3. ดูแลความเรียบร้อยก่อน-หลังเรียนในครั้งที่กลุ่มตนรับผิดชอบ
***สำหรับคนอื่นที่ไม่ได้เป็น  Host Team  มีหน้าที่แสดงความคิดเห็นในกิจกรรมที่เพื่อนได้ทำ

213 comments:

1 – 200 of 213   Newer›   Newest»
Naliz336 said...
This comment has been removed by the author.
Naliz336 said...

Host Team (12 พฤศจิกายน 2555)
สวัสดีคะ วันนี้เรามาพบกับ first host team ของรายวิชาสารสนเทศและนวัตกรรมทางสังคมศึกษา สมาชิกในกลุ่ม host team ของเรามีดังนี้ นางสาวชนาพร พูลทอง (06510076) ,นางสาวธิติมาศ สุขประเสริฐชัย (06510080), นางสาวนาลิศ กาปา (06510336) เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันที่หัวข้อแรกกันเลยดีกว่า ^^

Anonymous said...
This comment has been removed by the author.
Anonymous said...

1. สรุปเนื้อหา-----เนื่องจากเป็นการเรียนการสอนครั้งแรกในรายวิชานี้อย่างเป็นทางการ จึงมีการแนะนำรายวิชาอย่างละเอียดรวมทั้งมอบหมายงานให้นักศึกษาโดยให้ค้นหาข้อมูลและนำไป Post comment ในหัวข้อต่าง ๆ ที่อาจารย์กำหนดให้ ดังนี้

Anonymous said...

1)ครั้งที่ 1/55 เขียนความหมายของสารสนเทศที่ได้ศึกษามาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และสรุปเป็นของตนเอง (เพิ่มเติม ให้นักศึกษาช่วยแปลภาษาอังกฤษที่ค้นมา เป็นภาษาไทยด้วย โดยแปลในลักษณะสรุปความ)
2)ครั้งที่ 2/55 อธิบายความหมายของคำว่า "นวัตกรรมทางสังคมศึกษา" แล้วสรุปเป็นของตนเอง พร้อมทั้งยกตัวอย่าง นะคะ ^.^
3)ครั้งที่ 3/55 ให้นักศึกษาแต่ละคน ศึกษาข้อมูลจากโทรทัศน์ครู ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มา 1 เรื่อง โดยในเรื่องนั้นจะต้องนำเสนอเทคนิควิธีการสอน ที่นักศึกษาสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ ซึ่งแต่ละคนควรเลือกเทคนิควิธีการที่แตกต่างกัน
- ใคร post ก่อนมีสิทธิ์ก่อน
* ควรเป็นเทคนิคการสอนหรือวิธีสอนที่เกี่ยวกับรายวิชาสังคมศึกษา

Anonymous said...

2. แสดงความคิดเห็น/ให้ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนในครั้งนั้น
- เนื่องจากระบบอินเตอร์เน็ตขัดข้องในระหว่างการเรียนการสอนทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างล้าช้าในบางเครื่อง
- แม้อินเตอร์เน็ตจะเป็นปัญหาในบางช่วง แต่อาจารย์และนักศึกษาก็สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

Naliz336 said...

****งานที่ได้รับมอบหมายอื่น ๆ ******
1. ให้นักศึกษาแต่ละคน จัดทำ PPT เกี่ยวกับวิชาสังคมศึกษา สาระใดก็ได้ (งาน PPT E-book CAI ไม่ควรเป็นหัวข้อที่คล้ายคลึงกัน)
โดยส่งวันที่ 26 พ.ย. 55 รายละเอียดของงานคร่าว ๆ มีดังต่อไปนี้
1) สอนชั้นไหน 2) มาตรฐานและตัวชี้วัด 3)วัตถุประสงค์ 4) เนื้อหา 5) ข้อสอบ(มีหรือไม่มีก็ได้) 6) ใส่เสียง ใส่ภาพ ใส่วิดีโอ หรือลิงก์ที่เชื่อมไปยังวิดีโอ 7) มีปุ่มไปและกลับ (back,next) ระหว่างแฟรม รวมถึงต้องdesign การเปลี่ยน frame เลื่อนซ้ายก็ซ้ายหมด ขวาก็ขวาหมด 8)การวางปุ่มใด ๆ ก็แล้วแต่หากวางที่ใดแล้วก็ควรวางที่เดียวกันตลอด 9) ตัวอักษรไม่ควรเกิน 8 บรรทัด หัวข้อใหญ่ประมาณ 36 ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ประมาณ 28

Naliz336 said...

2. การศึกษาค้นคว้ากลุ่มและการนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสอนสังคมศึกษา เป็นงานในเชิงการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มละ 10 คน ซึ่งทาง host team จะดำเนินการขอรายชื่อสมาชิกภายวันพฤหัสที่ 15 พฤศจิกายน 2555 หลังเรียนวิชาครอบครัวศึกษา นะคะ ^^
******เพื่อนสมาชิกสามารถชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนในวันที่ 12 พ.ย. 55 ได้เลยนะคะ ****************
พวกเราขอจบกิจกรรม Host Team สำหรับวันที่ 12 พ.ย. 55 เพียงเท่านี้
สวัสดีคะ ^______________^

ชนาพร พูลทอง said...


ขอเพิ่มเติมในเรื่องหน้าที่ของ Host team ที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทุกคนได้ปฏิบัติในแต่ละสัปดาห์นั้น มีดังนี้...
1. สรุปบทเรียนในแต่ละครั้ง ว่ามีการบ้านอะไร และแสดงความคิดเห็นด้วยว่าการเรียนในครั้งนี้ ดีหรือไม่ดี อย่างไร
2.ดูแลเปิด-ปิด เครื่องคอมฯ ของอาจารย์
3.หลังจากเลิกเรียน Host team ต้องตรวจเช็คเครื่องคอมฯของสมาชิกทุกคน ว่าปิดครบทุกเครื่องแล้วหรือไม่
4. นำข้อมูลที่สรุปได้นั้น มาโพสต์แจ้งให้เพื่อนสมาชิกทราบ

Yuttasin090 said...

รับทราบครับ ขอบคุณมากๆๆๆๆๆ ได้ข้อมูลที่ละเอียดมากเลยจะ ^^

Kritsana068 said...

Host team ทำหน้าที่ได้ดีมากๆเลยคะ ^_^

Unknown said...

ดีมากเลย
จะไดรู้ว่าแต่ละวันเราเรียนอะไรบ้าง
ถ้าวันไหนลืมก็กลับมาดูได้^^

Unknown said...

Host team น่ารักมากเลยยย ไม่ได้เข้าเรียนครั้งที่แล้ว แต่เรารู้งานหมดเลย ขอบคุนมากค่ะ คราวนี้ก็เหลือแต่ว่าจะทำหรือไม่ทำก็เท่านั้นแหละ 55+ ^^

Paothai Siangjam said...

ทำงานเก่งกว่ากลุ่มที่แล้วอีก เยี่ยมมากกเลย

Araya Pittayachamrat said...

ละเอียดมากกก จนเราขี้เกียจอ่านเลย :)

Unknown said...

ทำได้ดีมาก...

pongpon wichadee said...

งานที่เราไม่รู้ ทำให้เราได้รู้ ขอบคุณนะครับ

nisarat 083 said...

ไลท์ล้านครั้งค่ะ^^

orapin said...

Host team กลุ่มแรกทำงานได้ดีมาก มีการแนะนำสมาชิกก่อน และสรุปเนื้อหาที่เรียนได้ครอบคลุมดี พร้อมทั้งได้นำเสนองานที่มอบหมายได้ครบถ้วน :-)

Unknown said...

Host Team กลุ่มนี้น่ารักที่สุดเลยคะ
ขอบคุณนะคะ

Cherry kiss077 said...

Host Team (19 พฤศจิกายน 2555)
สวัสดีคะเพื่อนๆ เอกสังทุกคน น น น หลังจากที่เรียนครั้งแรก และรับทราบงานเบาๆ ไปแล้วนั้น วันจันทร์ที่ผ่านมาก็เริ่มจัดเต็มอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระ และความไร้สาระของพวกเรา โดย Host Team ครั้งนี้มีนางทั้ง 3 ได้รับอาสาเป็นนางเอก ดังนี้ค่ะ 1.ชมพูนุท เทียมลม (รหัส 06510077), 2.พิไลรัตน์ ศรีวิเชียรอำไพ )รหัส 06510087), 3.อััจฉรา อยุทธศิริกุล (รหัส 96510101)
................
อย่าเสียเวลาเลยน่า ไปพบกับความไร้สาระของพวกเราได้เลยคร่าาาาาาาาาาาาาาาา ^^*

Cherry kiss077 said...

(ถ้าหากว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหน ขอให้เพื่อนๆ ช่วยตรวจสอบและแก้ไขให้เลยดีมั๊ย? ... อ่ะๆ ให้เพื่อนๆ ช่วยกันแชร์ไว้เดี๋ยวจะมาสรุปให้อีกที่ว่ามันผิดพลาด หรือขาดหายไปในส่วนให้บ้าง Host team จะได้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ และจะได้ไม่งงกัน ชะลาล่า เริ่มค่ะ ...)

Cherry kiss077 said...

สิ่งที่จะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ในวันนี้มีหัวข้อ ดังนี้นะ
1. การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1.1 แนวคิดแบบดั้งเดิม จะเป็นการเรียนรู้ที่สอนเพื่อให้เด็กมีชีวิตรอด กล่าวคือ จะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในระบบโรงเรียนซะส่วนใหญ่ และเป็นไปตามโครงสร้างของหลักสูตรที่มีการกำหนดรายละเอียดของเนื้อหาเอาไว้แล้ว มีการถ่ายทอดความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ (หรือครูทำหน้าที่สอนๆๆๆๆๆๆ อย่างเดียว หึ!!! นักเรียนไม่ได้คิดเองเลยค่ะหัวหน้า ถูกครูชี้นำตลอด (แต่เอ๊ะ!!! ทำไมเด็กยุคก่อนๆ ที่เป็นผู้ใหญ่ในวันนี้มีแต่เก่งๆ หว่า?? O_o) ซึ่งมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบตรงที่ว่า เด็กที่มีความกระตือรือร้น และมีความสนใจที่จะเรียนรู้ย่อมมีความสามารถจดจำได้มากกว่า (ไม่ไหวๆ เด็กที่ขี้เกียจ และมีความอ่อนเป็นทุนเดิมจะทำยังไงล่ะเนี่ย??)

Cherry kiss077 said...

1.2 แนวคิดแห่งอนาคต (ไม่ต้อง ไม่ต้องเสียใจไปค่ะ โลกยุคใหม่แล้ว เรามีการคิดและปรับเปลี่ยนวิธีต่างๆ มากมายมานำเสนอ สำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาเหล่านั้นจร้า ^^) โดยการเรียนรู้ในยุคนี้ผู้สอนจะต้องยอมรับในความแตกต่างของผู้เรียน (***กาดอกจันทน์ 700 ดอก) ด้วยวิธีเรียนรู้แบบ “How to” (ซวยแระแปลว่าไรเนี่ย?? ... ขอปรึกษาเพื่อนร่วมทีมก่อน) อ่อ!!! “How to” ก็คือ การจัดรูปแบบการเรียนรู้ที่ต่างกันไปตาม “ความสามารถ” ของผู้เรียน

Cherry kiss077 said...

ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถ “เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง” เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา (ทุกหนทุกแห่ง) ผู้เรียนมีสิทธิ์ในการ “เลือก” และ “ตัดสินใจ” ได้ด้วยตนเองว่าตนเองมีความพึงพอใจหรือสนใจที่เรียนรู้เรื่องอะไร นอกจากนี้ทุกคนจะต้องได้รับการขัดเกลาเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางความคิดในสังคมที่ตนอยู่ด้วยแหละ วิ้งๆ ว้าวๆ กันเลยทีเดียว (ป.ล. แนวคิดแห่งอนาคตย้ำเรื่อง “ความแตกต่างของผู้เรียน, ความสามารถในการเรียนรู้, ต้องสอนให้นักเรียนคิดเป็นด้วย อันที่จริงสรุปแค่นี้ก็จบ!!! จะเวิ้นทำไม = =”)

Cherry kiss077 said...

1.3 แนวทางการจัดการเรียนรู้ “คนทุกคนมีความแตกต่างกัน” ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ก็ต้องคำนึงถึงข้อนี้ด้วย ... ซึ่งการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ผู้สอนจะต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย, ผู้เรียนสามารถกำหนดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยปรับให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ภายใต้กฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้ในรูปแบบของ “การยืดหยุ่น” (ที่เถียงๆ กันในห้องอ่ะแหละ ^^)
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษนี้ จึงใช้การเรียนรู้ที่เป็นระบบมากขึ้น ที่เกิดขึ้นได้ทั้งในแง่บวกและลบ ซึ่งเกิดจากความสนใจของผู้เรียนตามความแตกต่างและความสนใจของตนนั่นเอง

Cherry kiss077 said...

ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้ที่บ้าน (Home School) โดยใช้ระบบเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน นอกจากนี้การเรียนรู้จะต้องเป็นการเรียนรู้แบบ “รู้ลึก รู้จริง รู้รอบ” (ป.ล. สงสัยเพื่อนในทีมแอบคิดถึงป๋าอยู่แน่ๆ เรอ) ซึ่งครูจะต้องเป็นผู้ชี้แนะให้แก่ผู้เรียน เปรียบเสมือนตัวแทนที่จะนำนักเรียนไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ (Host Team นางนี้ออกแนวเพ้อฝัน)

Cherry kiss077 said...

1.4 ระบบการเรียนรู้ >>> ผู้เรียนจะต้องเลือกการเรียนรู้ด้วยตนเองจากหลักสูตรที่มีอย่างหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามความถนัดและความสนใจ นอกจากนี้ระบบการเรียนรู้จะต้องแบบ “Personal Learning Plan” ด้วยนะเออ หมายถึงอะไรน่ะหรอ? ก็หมายถึง แผนการเรียนรู้รายบุคคล เนื่องจากผู้เรียนมีศักยภาพ & ความสนใจในการเรียนรู้แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดความคิดได้อย่างหลากหลาย โดยผู้สอนจะทำหน้าที่สังเกตและประเมินผลผู้เรียนอยู่ห่างๆ (ได้แต่อยู่ห่างๆ ทั้งที่ยังห่วงๆ และไม่มีสิทธิห่วง เพราะไม่ใช่เจ้าของเธอออ....เพ้อเจ้อ!!) เนื่องจากผู้สอนทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการเรียนรู้ และระบบประเมินผลต่างๆ จะเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในระบบประเมินผลการเรียนรู้ของโรงเรียนต่างๆ เป็นต้น (ใครเคยใช้แล้วมั่งเอ่ย?? ... โปรแกรม @School กระมัง ^^*)

adshara said...

1.5 รูปแบบการเรียนรู้ จะเรียนรู้ด้วยตนเองได้จากสื่อประกอบการเรียนการสอนด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และผ่านเครือข่าย Social network มากขึ้น เช่น ครูตู้ออนไลน์, facebook, Blogger, Wikipedia (สารานุกรมเสรีหลายภาษาบนอินเทอร์เน็ต), Google+, CAI, e-book, e-learning, E-media, E-bra (เออะ!! ไม่เกี่ยว) ... มีช่องทางมากมายให้เราเลือกแชร์ความรู้ต่างๆ และเก็บความรู้ เว้นแต่ว่าเราจะเลือกใช้ประโยชน์จากมันมากน้อยแค่ไหนก็เท่านั้นเอง :)

adshara said...

1.6 คุณลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ 21 ในเมื่อเราเป็นครูในยุคนี้ต้องก้าวให้ทันเขาหน่อย คือก้าวขายาวๆ ตามคนเก็บค่าแชร์ให้ทัน โว้ว!! ไม่ใช่ >>> “ก้าวให้ทัน” = ผู้สอนจะต้องทำหน้าที่เป็น “The Networked Teacher” เบ้ย เบ้ย .... โดยสอนด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ประมาณนี้มั้ง ... เอ๊ะ!! ถูกไม่ถูกแจ้งให้ทราบด้วยก็ดีน๊า?? ... Host team ใจลอยไปหาเนื้อคู่ เลยไม่ได้ฟังอ.อ้อย คริคริ) ซึ่งผู้สอนจะต้องใช้นวัตกรรมทางการสอน เพื่อให้เรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันตามการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน เช่น WIKIS, Glogs, Popular Media, Curriculum Documents เป็นต้น นอกจากนี้ผู้สอนจะต้องเป็น “E-Teacher” ดังนี้จร้าคุณผู้ช๊ม ม ม ม ม

Unknown said...

ขอบคุณนะคะ Host Team อาทิตย์นี้
การสรุปเนื้อหาใช้ภาษาเข้าใจง่าย ครอบคลุม
เปรียบเสมือนการทบทวนความรู้ ขอบคุณทั้งสามคนคะ

adshara said...

Exploration คือ ครูที่ดีจะต้องหาความรู้ใหม่ๆ ไปเสาะ ไปสืบ ไปงัด ไปแงะ ได้ยิ่งดี อะไรที่ใหม่ๆ กับการเรียนการสอน ทั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาตนเองและผู้เรียนยังไงล่ะไจแอ๊นน น น = =”
Evaluation คือ ครูจะต้องมีวิธีการประเมินอย่างหลากหลาย โดยไม่จำเป็นต้องประเมินด้วยการทำแบบทดสอบอย่างเดียว (รถไฟตกลางแล้วจ๊ะ = ตกแทรนด์ = =”) เช่น การประเมินชิ้นงาน การเข้าร่วมกิจกรรม การพูด การเขียน การแสดงออก แบบสอบถาม แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินความพึงพอใจ และ“แบบทดสอบในทางสังคมมิติ”

adshara said...

(สังคมมิติ (Sociometry) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลอย่างหนึ่ง เพื่อใช้ศึกษาสถานภาพทางสังคมของบุคคล ในเชิงโครงสร้างทางสังคมของกลุ่ม และความสัมพันธ์เชิงสังคมระหว่างบุคคลแต่ละคนกับบุคคลอื่นที่อยู่รวมในสังคม
ซึ่งครูจะใช้คำถาม เพื่อให้นักเรียนเลือกตอบ โดยจะนำคำตอบของนักเรียนที่ได้มาวิเคราะห์สถานภาพสังคมที่แท้จริงของนักเรียนในขณะนั้นว่ามีความสัมพันธ์กันในทิศทางใด (ตัวอย่างตามเพื่อนในชั้นเรียนยกตัวอย่างไปแล้ว)

adshara said...

End-User ต้องเป็นผู้ใช้ที่ดี (ในที่นี้ อาจจะหมายถึงเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีที่ดี) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Enabler ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
Engagement ต้องให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใหม่ๆ กับเพื่อนร่วมงาน หรืออื่นๆ (ตามแต่ความศรัทธา และความชอบส่วนบุคคล ;P)

adshara said...

Efficient and Effective คือ การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (ประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถในการทำให้เกิดผลงาน โดยบรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ในรูปแบบของชิ้นงานหรือภารกิจต่างๆ (ทำให้ฟิน,,,ใครคิดเหมือนกันบ้างเอ่ย???) ประสิทธิผล หมายถึง ผลสำเร็จ หรือผลที่เกิดขึ้น ซึ่งได้จากการเรียนรู้ โดยเทียบค่าผลลัพธ์กับจุดประสงค์ ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้รึเปล่า ... เย่ เย่ เย่)
Experience คือ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ (= ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้,,,เพิ่มเติมหน่อยสิ พอดีมัวแต่เม้าท์มอยหอยกาบอยู่ :P)

adshara said...

Extended ต้องมีความตั้งใจ ใฝ่เรียนรู้ ค้นคว้า (ถ้ามีคุณธรรมด้วยนี่ชัดเลย คำขวัญตามโรงเรียนชัดๆ) ในการหาความรู้อยู่ตลอดเวลา (ศึกษาไป ศึกษาตลอดชีวิต ไม่เว้นแม้ตอนทำธุระส่วนตัว เอื๊อกๆ )
Expanded จะต้องมีความสามารถนำความรู้ที่ได้มาทั้งหมด มาขยายความรู้ให้กว้างขวางสู่นักเรียนให้มากยิ่งขึ้น (นอกจากจะ Gen ได้แล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการ “ต่อยอด” ทางความคิดออกไปได้เรื่อยๆ (อย่างไม่ไร้สาระ) เหมือน “น้องหมวยเล็ก” ได้อีกด้วย อิอิ)

adshara said...

2. ความหมายของ “เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรม” มันแตกต่างกันยังไงนะ
2.1 เทคโนโลยี คือ สิ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา หรือช่วยในการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในทางปฏิบัติ (เอาง่ายๆ เลยนะ,,,ถ้าผู้ใช้ ใช้แล้วจนเกิดความชำนาญ เหมือนเราใช้คอมพิวเตอร์เนี่ย มันก็คือ “เทคโนโลยี” และต้องเป็นที่ “ยอมรับ” ด้วยล่ะ ... “น้องเอ๋ย” แนะนำเข้ามาทางเสียงตามสาย เมื่อได้ยินเสียงกระชากวิญญาณจาก ผศ.ดร. สอบถามมาว่า “เทคโนโลยี คืออะไร” เอื๊อกๆ)

adshara said...

2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และประเมินผล โดยมี “กระบวนการ” (ฮาร์ดแวร์ + ซอฟแวร์ + ข้อมูล >>> ทำการประเมินผล = เพื่อให้เราทราบข้อมูล)
2.3 นวัตกรรม คือ การประดิษฐ์สิ่งใหม่ พัฒนา หรือดัดแปลงจากของเดิมให้มีความทันสมัย และสามารถใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น (ตัวอย่าง การโมดิฟรายตัวเองให้ดูสวยขึ้นผิดหูผิดตา เช่น การแต่งหญิงของฮูลูนิย่า อ่อ!! ไม่เกี่ยว)

philairat said...

3. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
3.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล > ผู้เรียนมีการรับรู้ หรือเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นสำคัญ เช่น การเลือกวิธีสอน จะต้องเลือกใช้วิธีที่ทำให้ผู้เรียนเกิด “ศักยภาพ” หรือเกิด “การเรียนรู้” มากที่สุด (เช่น เชอร์รี่สวย เพื่อนในห้องไม่สวยไรงี้ :P)
3.2 ความพร้อม > ความพร้อมของผู้เรียน, ผู้สอน, สื่อ, เทคโนโลยี ฯลฯ
3.3 การใช้เวลาเพื่อการศึกษา > ทุกที่ทุกเวลา และสามารถใช้เวลาในการศึกษาในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่ (เช่น การใช้เวลาว่างติดตามราคาทอง และซื้อเก็บไว้แบบ “น้องกัน” อ่อ!! ไม่เกี่ยว :P)

philairat said...

3.4 ประสิทธิภาพในการเรียน > จะต้องมีการวัดผล เพื่อให้ทราบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผู้เรียนว่ามีการพัฒนา เปลี่ยนแปลง หรือเห็นชอบอย่างไร (เช่น วิ่งที่ไหนได้ความสุขซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีมากกว่ากัน ระหว่างที่ที่มีน้ำกว้างใหญ่กับวังใกล้มอ. เหมือน “น้องคิม” อ่อ!! ไม่เกี่ยว)
(ในข้อ 3.2 3.3 และ 3.4 Host Team ขอความกรุณาเพื่อนๆ ช่วยตรวจสอบความถูกต้องให้ที เนื่องจากเหม่อลอยไปหาเนื้อคู่ เป็นรอบที่สอง เลยฟังบ้างไม่ฟังบ้าง และประเด็นมันในการขยายความอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น ว่ะฮ่ะฮ่า)

philairat said...

4. สาเหตุของการเกิดนวัตกรรม (สไลด์ที่หายไป เผื่อว่าใครยังไม่ได้จด .. มัวแต่เม้าท์ไรงี้)
4.1 การเพิ่มปริมาณของผู้เรียน > นวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทำให้จำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วยล่ะมั้ง O_o” (มั้ง มั้ง มั้ง เอ๊ะ!! ยังไง มั้งตลอด ฮ่าๆๆ)
4.2 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว (วิ่งตามให้ทันนะ :P)
4.3 การเรียนรู้ของผู้เรียน มีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น (เราสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจไง ^^*)
4.4 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม

philairat said...

5. นวัตกรรมเชิงวิจัยและพัฒนา (R&D)
1. ขั้นการศึกษาค้นคว้า (Study) = R1
2. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) = D1
3. ขั้นพัฒนาการ (Development) = R2
4. ขั้นการปฏิบัติ (Action) = D2

philairat said...


*** R1 คือ การศึกษาค้นคว้าเอกสารข้อมูล แนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรม งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรการศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับเรื่องที่เราต้องการจะศึกษา
ตัวอย่าง การศึกษาวิธีสอนโดยใช้ CAI
1. ค้นคว้าหลักฐาน
2. ข้อมูลเรื่องที่ตนสนใจ
3. แนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ CAI
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
(ป.ล. ทำความเข้าใจกันก่อนิดนึง Host Team จะยกตัวอย่าง การสอนโดยใช้ CAI นะ เพราะฉะนั้นการแทนค่า R1, D1, R2, และ D2 จะเกี่ยวข้องกับ CAI และขั้นตอนของนวัตกรรมเชิงวิจัยและพัฒนา (R&D) เลยออกมาเป็นประมาณนี้นะ ... รับทราบ!!!)

philairat said...

*** D1 คือ การนำที่ได้จากการศึกษามาออกแบบ คิดค้น เพื่อประดิษฐ์เป็นนวัตกรรมใหม่ จากนั้นจึงนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัตกรรมนั้นๆ ตรวจสอบความถูกต้อง แล้วจึงนำกลับมาพัฒนา ปรับปรุง และวิเคราะห์ให้เป็นนวัตกรรมของตนเอง (ป.ล. ต้องดีขึ้นนะจ๊ะ)

*** R2 คือ การนำนวัตกรรมไปทดลองใช้กับผู้เรียน อยากให้ได้ผลดีลองใช้แบบ 3 step = 1 : 1 : 1 (เก่ง : กลาง : อ่อน) (ลองดูนะ ผศ.ดร. เขาแนะนำมาแหละ)

philairat said...

*** D2 คือ การนำเอานวัตกรรมที่มีการนำไปทดลองใช้กับผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างแล้ว มาทำแบบสอบถามผู้ใช้ว่า ผลการใช้เป็นอย่างไร มีความพึงพอใจมากน้อยแค่ไหน และต้องพัฒนา รวมทั้งปรับปรุง แก้ไข ในส่วนใดบ้าง

(ป.ล. ตลอด และเยอะด้วย .... เพื่อนๆ เข้าใจกันว่าไง แชร์ด้วย เพราะแอบ “งง” เหมือนกันว่าสิ่งที่เข้าใจอ่ะถูกรึเปล่า??? เดี๋ยวจะถูกมองว่า “เราเรียนคนละเรื่องเดียวกัน”)

philairat said...

ภาระงานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์นี้ มีดังต่อไปนี้ค่ะ
1. ให้เพื่อนๆ วิเคราะห์วิธีสอนที่เราเลือกมาจากโทรทัศน์ครูอ่ะ ว่าสอดคล้องกับวิธีใดหรือขั้นตอนใดบ้างในวิธีการสอนอื่นๆ ให้วิเคราะห์เป็นไฟล์เก็บไว้ และส่งมาให้อ.ทาง G-mail ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2555 น๊า

2. ให้เพื่อนๆ วิเคราะห์ว่าอาจารย์ได้ใช้รูปแบบ และ/หรือ เทคนิคการสอนอะไรบ้างในคาบเรียนนี้ ให้สรุป/หรือนำเสนอเป็นประเด็นให้ชัดเจน **หมายเหตุ : หากนำเสนอแล้วอยากจะปรับเปลี่ยน สามารถดำเนินการได้ตลอดเวลา อาจารย์จะยึดคำตอบสุดท้ายของการโพสต์เป็นหลัก และจะต้องโพสต์ให้เสร็จก่อนวันเสาร์ 24.00 น. นะคะ

philairat said...

3. ให้เพื่อนๆสืบค้นสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องตามสาระการเรียนรู้แกนลางของกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม แล้วนำเสนอด้วยว่า เกี่ยวข้องในสาระใด และเนื้อหาใดในบทเรียนของนักเรียน **หมายเหตุ : สืบค้นให้ครบตามสาระ / เนื้อหาสาระที่นักเรียนต้องเรียน หากเพื่อนนำเสนอแล้วก็อาจจะไม่ต้องใส่ซ้ำ ให้เพิ่มเติมเว็บไซต์อื่น กรุณาอ่านของเพื่อนด้วย เพื่อแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมนะคะ

philairat said...

3. ให้เพื่อนๆสืบค้นสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องตามสาระการเรียนรู้แกนลางของกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม แล้วนำเสนอด้วยว่า เกี่ยวข้องในสาระใด และเนื้อหาใดในบทเรียนของนักเรียน **หมายเหตุ : สืบค้นให้ครบตามสาระ / เนื้อหาสาระที่นักเรียนต้องเรียน หากเพื่อนนำเสนอแล้วก็อาจจะไม่ต้องใส่ซ้ำ ให้เพิ่มเติมเว็บไซต์อื่น กรุณาอ่านของเพื่อนด้วย เพื่อแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมนะคะ

philairat said...

*** เสร็จแล้วๆ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ในหัวข้อไหน โพสพอกไว้ และแชร์ในสิ่งที่ถูกต้องด้วยน๊าๆๆๆๆ ทาง Host Team จะจัดการรวบรวมและแก้ไข เพื่อให้แจ้งให้แซ่บต่อไป

pongpon wichadee said...

Host Team เเอบอัดเสียงอาจารย์ไว้ป่าวนิ เหมือนฟังในห้องเรียนเลย ขอบคุณมากก ^^

Unknown said...

ละเอียดมากเลยค่ะ เข้าใจทันทีเลย

Teerapong081 said...

ละเอียดมากๆเลยครับ...อ่านเข้าใจง่าย
ขอบคุณมากครับ^^

Araya Pittayachamrat said...

2534ขอบคุณค้าบบบบบ ตอนในห้องแอบหลับ พอมาอ่านแล้วเข้าใจเหหมือนฟังเองเลย

Cherry kiss077 said...

อุ้ย!!! Host Team แอบดีใจอ่ะ เพื่อนๆ เข้าใจด้วย เหวยๆๆๆ ... ^^"

Naliz336 said...

HOST TEAM ทำงานได้เยี่ยมเลยทีเดียว รายละเอียดเปะ เหมือนอยู่ในห้องเรียนเลยค่ะ >> ขอบคุณมากค่ะ ^_________^

Cherry kiss077 said...

เปล่าตอนเรียนพวกชั้นเข้าไปสิงร่างอาจารย์อ้อย ... เลยสรุปได้เหมือนของจริง อิอิ

Unknown said...

ขอบพระคุณค่ะ กระจ่างใจมลมาก

Wichian093 said...

ขอบคุณมากก....ละเอียดจริงๆ^^

nuntida082 said...

ชัดเจนดีมากๆ ค่ะ

orapin said...

สรุปรายละเอียดได้ดี น่าอ่าน เพื่อนและน้องที่ไม่ได้เข้าเรียน (พิชาภา และภัทรนันท์) สามารถเข้ามาทบ ทวนเนื้อหาได้

Cherry kiss077 said...

เบ้ยๆ รู้สึกปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่งหลาว ^^"

orapin said...

host team no.3 ยังไม่ได้ดำเนินการสรุปสาระที่สอนเมื่อครั้งที่ผ่านมาเลยนะคะ ปฏิบัติการได้แล้ว ครูรออ่านอยู่ กรุณาแนะนำทีมงานของกลุ่มด้วยนะตะ อย่าให้รอนานนะ ^^

Unknown said...

็็้Host team รายงานตัวค่ะ
ขออภัยในความผิดพลาดที่ลงข้อมูลช้า
และลงข้อมูลผิดที่..ไปลงในกลุ่มสังคมใน
Facebook

สมาชิกในกลุ่มมีดังนี้ค่ะ
1. นางสาวจริยา ธนานันต์ (06510073)
2. นางสาวลัดดาวัลย์ สุขศิลป์ (06510090)
3. นายวิศระ เชียงหว่อง (06510094)
ี4. นางสาวพิชชาภา

Unknown said...

ขอเริ่มการทบทวนการบ้านน่ะคะ
1.หาข้อมูลที่เกี่ยวกับสังคมศึกษา โดยข้อมูลนั้นต้องมีเนื้อหาที่เป็นหน่วยย่อย 3 หน่วยขึ้นไป (สามารถไปลงเรื่องที่ทำในเฟซบุคกลุ่มสังคมได้เลยค่ะเพื่อป้องกันการซ้ำ)
2. ทบทวนวิธีการทำ Wordpress โดยทบทวนในเรื่องดังต่อไปนี้
- การเปลี่ยนรูป
- การเปลี่ยนธีม
- การเปิดหน้าต่าง (หน้าบ้าน ,หลังบ้าน)
- การใช้วิดเจ็ท(ตัวช่วย)

Unknown said...

E-learning
เป็นการเรียนรู้ศึกษาด้วยตนเองจากเทคโนโลยี เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI และเพิ่มเติมระบบจัดการและการบริหาร เป็นระบบบริหารการจัดการเรียนการสอนที่จะต้องรู้ในเรื่องของหลักสูตร , เนื้อหา ,แนวทางในการศึกษา ,มีการสมัครสมาชิกและมีการลงทะเบียนในการเข้าใช้
การติดต่อ E-learning การเรียนแบบ E-learning นั้นสามารถบริหารจัดการให้นักเรียนสามารถเรียนนอกห้องเรียนได้แต่ผู้สอนต้องมีการติดตามนักเรียนบ้างเป็นบางครั้ง เพื่อแนะนำและสอบถามหรือทำการทดสอบความเข้าใจในเนื้อหา E-learning เป็นสื่อการเรียนที่ต้องมีการ Log-in เสมอเนื่องจากเป็นระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนเนื่องจากผู้สอนต้องการทราบข้อมูลในการเข้าใช้งานของผู้เรียน E-learning มีระบบการโต้ตอบผู้เรียนสามารถมาสอบถามผู้สอนได้เกี่ยวกับปัญหาการเรียนและความไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่หากผู้สอนไม่ได้เข้าสู่ระบบผู้เรียนสามารถฝากคำถามไว้ได้เพื่อให้ผู้สอนมาตอบคำถามภายหลัง

Unknown said...

Web 2.0
Web 2.0 เป็นระบบเว็บไซต์ที่มีการปฎิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ทำเว็บไซต์ และผู้เข้าม้เยี่ยมชมหรือระหว่างผู้มาเยี่ยมมชมด้วยกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างการเรียนร่วมกัน พัฒนาการของ Web 2.0 มาจากเว็บ Web 1.0 ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ไม่สามารถโต้ตอบกันได้ ซึ่งอีก 10 ปีข้างหน้าอาจมีพัฒนาเป็น Web 3.0 ซึ่งจะเป็นเว็บที่เป็นลักษณะคล้ายหุ่นยนต์และใช้คำสั่งเสียงในการสั่งงาน ตัวอย่าง Web 2.0 เช่น Google , Wiki , facebook เป็นต้น

Unknown said...

Blog
เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร Blog เกิดมาจาก Web+Log (web = เว็บไซต์) ( Log = การเขียนบันทึกประจำวัน) เมื่อมีการเขียนมีการเขียนเรื่องราวหรือบันทึกมีคนเข้ามาอ่านติดตามมีกระแสในการโต้ตอบ เป็นเรื่องลักษณะที่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัวเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

Unknown said...

ลักษณะของ Blog
-มีการบันทึกข้อมูลอยู่เสมอ
- ข้อมูลจะถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ
- มีการ link ไปหา Blog อื่น
- มีความเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม
- สิ่งสำคัญต้องมีการเขียนบันทึกเป็นประจำเสมอ

Unknown said...

หากเพื่อนๆต้องการเนื้อหาที่อาจารย์สอน นอกเหนือจากการสรุปของ host team แล้ว มีเนื้อหาที่แบ่งออกเป้น 3 ส่วน คือ
1. การสร้าง blog http://www.facebook.com/groups/132434550162735/410012725738248/
2. e - learning
http://www.facebook.com/groups/132434550162735/410012725738248/
3. วิธีการสร้าง wordpress (Host team ทำเองเลยนะค่ะ)
http://www.facebook.com/groups/132434550162735/410013502404837/
** โดยให้เพื่อนคลิกเข้าไปอัพโหลดได้ตามลิงค์นี้นะค่ะ ^^

Cherry kiss077 said...

Host Team เลิศมากค่ะ
ป.ล. อาทิตย์ที่แล้ว งงโคตร การเรียนรู้แบบช่วยเหลือตัวเองเนี่ย ... งมโข่งจนเป็น เน็ตไม่เอื้ออำนวย และคงจะได้เรียนมากขึ้นในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ เย้!!! เบเบ้ อยากทำเป็นมากกว่านี้ ชักสนุก ^^*

orapin said...

กลุ่มHost team 3 สรุปประเด็นที่สอนครบค่ะ ส่วนรายละเอียดการทำ blog โดยใช้ wordpress ครูไม่สามารถเข้าไปตรวจได้ค่ะ กรุณาดำเนินการแก้ไขด้วย รออยู่นะคะ อย่าให้รอนานนะ ^^

orapin said...

พิชาภา แนะนำตัวเองโดยใส่รหัสด้วยค่ะ

Unknown said...

Host team no.3
ขอแก้ไขรายชื่อสมาชิกและรหัสใหม่ ค่ะอาจารย์
1. นางสาวจริยา ธนานันต์ (06510073)
2. นางสาวลัดดาวัลย์ สุขศิลป์ (06510091)
3. นายวิศระ เชียงหว่อง (06510094)
ี4. นางสาวพิชชาภา กิจจิว (06510119)

Unknown said...

สวัสดีคะกลุ่ม Host Team
ขอบคุณนะคะสำหรับการทบทวนความรู้
เราอยากให้มีการทบทวนการบ้านในแต่ละคาบเรียนด้วยคะ

Unknown said...
This comment has been removed by the author.
Unknown said...

Host team No.4 (3 ธันวาคม 2555) รายงานตัวค่ะ

1. นางสาวอธิจิต สงวนกุล รหัส 06510100
2. นางสาวอุไรวรรณ คีรีทอง รหัส 06510103

**ขอใช้แอคเคาท์เดียวในการโพสนะคะ เพื่อความต่อเนื่อง 1..2..3..เริ่มกันเลยค่ะ!!

Unknown said...

การสร้าง wordpress (สัปดาห์ที่ 2)

มาพบกับ Host team ในสัปดาห์นี้ ซึ่งเราก็จะมาเรียนกันถึงเรื่อง การจัดหมวดหมู่และการเขียนเนื้อหาต่างๆลงในบล็อกของตัวเอง มีคำสั่งอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย ^^

1. การตั้งค่าทั่วไป

1.1ให้เพื่อนๆเข้าบล็อกของตัวเอง จากนั้นไปที่หน้าควบคุม (โดยคลิ๊กขวาเพื่อเปิดแท็บใหม่ให้คู่กัน แบบหน้าบ้านและหลังบ้านเหมือนที่อาจารย์บอกนั่นเองค่ะ)

1.2 จากนั้นเราก็จะเจอหน้าควบคุมให้ไปที่คำสั่งตั้งค่า----> ทั่วไป ---->จะพบกับการตั้งค่าต่างๆดังนี้

- หัวข้อเว็บ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามใจชอบ

- คำโปรย คือ คำอธิบายว่าบล็อกของเราเกี่ยวกับอะไร

- อีเมลล์

- เขตเวลา ซึ่งให้เพื่อนๆเปลี่ยนเป็นเขตเวลาของประเทศไทย นั่นคือ UTC+7

- รูปแบบวันที่ รูปแบบเวลา วันเริ่มต้นของสัปดาห์

- ภาษา อาจารย์แนะนำให้เปลี่ยนเป็นภาษาไทย หรือเพื่อนคนไหนอยากใช้ภาษาอังกฤษหรืออย่างอื่นก็ตามใจชอบเลยจ้า ^^

Unknown said...

2.การตั้งค่าหมวดหมู่

จากหน้าควบคุม ไปที่คำสั่งเรื่อง ----> หมวดหมู่ ----> จากนั้นสามารถตั้งชื่อหมวดหมู่ได้ตามเท่าที่ต้องการ

1) การสร้างหมวดหมู่หลัก

ตั้งชื่อหมวดหมู่ ----> เพิ่มคำอธิบายของหมวดหมู่ (ในส่วนของคำอธิบายเพิ่มเติมจะใส่ หรือไม่ใส่ก็ได้ค่ะ)
----> คลิ๊กที่คำสั่งสร้างหมวดหมู่ใหม่----> หมวดหมู่ที่เราสร้างก็จะไปปรากฏทางขวามือ

2)การสร้างหมวดหมู่ย่อย จะคล้ายกับการสร้างหมวดหมู่หลักเริ่มจาก

ตั้งชื่อหมวดหมู่ ----> เพิ่มคำอธิบายของหมวดหมู่ (จะมีคำอธิบายเพิ่มเติม ไม่มีก็ได้ค่ะ) ----> *คลิ๊กที่ลูกศรชี้ลงตรงคำสั่ง “หลัก” เพื่อเลือกว่าจะให้หัวข้อย่อยนี้อยู่ในหัวข้อหลักอะไร ----> คลิ๊กที่คำสั่งสร้างหมวดหมู่ใหม่ ----> หมวดหมู่ที่สร้างก็จะไปปรากฏทางขวามือ

**เช่น จะสร้างหมวดหมู่ย่อยเรื่อง GIS ให้อยู่ในหมวดหมู่หลัก “เทคโนโลยีทางด้านภูมิศาสตร์”ก็พิมพ์หัวข้อ จากนั้นเลือกตรงคำสั่งหลักหัวข้อ “เทคโนโลยีทางด้านภูมิศาสตร์” ก็จะได้หมวดหมู่ตามต้องการ

Unknown said...

3. การเขียนเรื่อง

3.1 การเขียนเรื่องก็ไม่ซับซ้อน เพียงเข้าไปที่เมนูคำสั่ง เรื่อง----> เขียนเรื่องใหม่ ----> ตั้งชื่อเรื่องตรงหัวข้อ ----> จากนั้นสามารถพิมพ์หรือก็อปปี้ข้อความลงในเนื้อเรื่องได้เลยซึ่งรูปที่ก็อปปี้มา บางเครื่องจะรองรับ สามารถก็อปปี้แล้ววางได้แล้วบันทึกโดยกดเผยแพร่เลย แต่บางเครื่องต้องแทรกรูป ซึ่งมีวิธีตามข้อ 3.2 ค่ะ : ))

3.2 หากจะเพิ่มรูป ให้คลิ๊กคำสั่ง “เพิ่มสื่อ”ซึ่งจะมีการแทรกรูป 2 รูปแบบ คือ

- Insert From URL ให้คัดลอก URL ของภาพที่ต้องการ ---->แล้ววางในช่องคำสั่ง ---->คลิ๊กInsert ได้เลย

- Insert Mediaจากคลังรูปภาพในเครื่องให้คลิ๊กที่คำสั่ง เลือกหลายไฟล์ ----> เลือกรูปภาพที่ต้องการ ----> อัพโหลด


4. การใส่วิดีโอจากยูทูป

การแทรกวิดีโอจากยูทูปก็ต่อเนื่องมาจากการเขียนเนื้อหา เริ่มจากไปที่เมนูคำสั่ง
เรื่อง ----> เขียนเรื่องใหม่ ---->คลิ๊กตรงคำสั่ง “ข้อความ” บนกล่องเนื้อเรื่อง

เราก็จะเห็นช่องให้ใส่ URL จากนั้นก็เปิดวิดีโอจากยูทูปที่ต้องการแทรกลงในเนื้อหา---->คลิ๊กแบ่งปัน ---->ฝัง ---->จากนั้นก็อปปี้โค้ดURLที่ได้ นำมาวางในช่องคำสั่ง ---->เผยแพร่ได้เลยค่ะ

Unknown said...

5. การแทรกหมวดหมู่ไว้ที่หน้าแรกของบล็อก

เข้าไปที่คำสั่ง รูปแบบบล็อก ----> เมนู ---->แล้วตั้งชื่อเมนูในที่นี้ท่านอาจารย์แนะนำให้ตั้งว่าเมนูหลัก ---->เลือกหมวดหมู่ที่ต้องการให้อยู่หน้าแรก ---->คลิ๊กเพิ่มลงเมนู
----> จากนั้นตรวจสอบโดยการกลับดูที่หน้าแรก(หน้าบ้าน)

6. อาจารย์อ้อยทบทวนและเตือนการส่งงานจากสัปดาห์ก่อนๆ O_๐

6.1 งานวิจัยR&D กลุ่มละประมาณ 10 คน อย่าลืมทำกันด้วยนะคะ ><

6.2 ตกแต่งบล็อกให้เรียบร้อย สวยงามตามสไตล์ ส่งต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

6.3 งานวิพากษ์โทรทัศน์ครูที่เคยสั่งไป ดังนี้

- วิธีการสอนที่เลือกนั้นสอดคล้องกับวิธีการอื่นใดอีก บอกมา 1 วิธีการ

- แล้วศึกษาต่อว่าคล้ายของครูคนใด

- ต้องการลด – เพิ่มวิธีการส่วนไหนให้สมบูรณ์

**ส่งเป็นไฟล์ PDF มาทางอีเมลล์ของอาจารย์อ้อย osirisamphan@hotmail.com ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2555

***หากมีการเปลี่ยนแปลง จะแจ้งให้ทราบด่วนเลยค่ะ ^______^

Unknown said...

****รายละเอียดเพิ่มเติมค่ะ

6.4 ให้ทุกคนเตรียมข้อมูลในการทำ e-book มาในวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม โดยเรื่องจะต้องไม่ซ้ำกันกับเพื่อนและไม่ซ้ำกับงานที่ตัวเองเคยทำมาแล้ว
ซึ่งการเลือกเรื่อง ทางโฮสท์ทีมได้เปิดช่องทางในเฟสบุคให้จองเรื่องแล้วนะคะ

ขอให้ทุกคนมีความสุขในการทำงานค่ะ ^3^

Unknown said...

ขอบคุณhost team สัปดาห์นี้ค่ะ ละเอียดดี

Yuttasin090 said...

ขอบคุณครับสำหรับขั้นตอนการทำ

Cherry kiss077 said...

ขอบคุณ Host Team ค่ะ เจ๋งอ่ะสรุปขั้นตอนได้ และแอบช็อคกะงานวิพากษ์โทรทัศน์ครู เพราะลืมไปแล้ว แต้งๆ ที่เตือนสติ ^^*

Unknown said...

ขอบคุณคะ Host Team สัปดาห์นี้
ละเอียดดีคะ ขอบคุณนะคะ โดยเฉพาะการบ้าน
เพราะเราไม่ได้จดคะ

Suparat_First said...

ขอบคุณมากครับผมสำหรับขั้นตอนการทำและการบ้านด้วยนะ ^_^

pongpon wichadee said...

อ่าน วิธีการทำเเล้ว เป็นขั้นตอนดี สามารถทำตาม ข้อความที่พิมพ์อธิบายได้ทันที ขอบคุณนะครับ

Unknown said...

ดีมากๆเลยคะ เข้าใจง่ายมากคะ

Araya Pittayachamrat said...

ขอบคุณค้าบบบบบ.....อ่าวได้ทวนความจำอีกครั้งนึงนแล้

Unknown said...

ละเอียดดีมากเลย ขอบใจมาก ๆ นะจะ ^^

orapin said...

HOST TEAM ที่4 มีสมาชิก 2 คน แต่มีข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อน ๆสามารถนำไปทำหรือทบทวนได้ และมีงานที่ต้องเตรียมมาในสัปดาห์ต่อไปด้วย ^^

Unknown said...

วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เรื่อง E-Book
กลุ่ม Host Team
โดย นางสาวเกตุวลี ช้างดี รหัส 06510071
นางสาวดวงใจ เปลี่ยนศรี รหัส 06510078

Unknown said...

วิธีการดาวน์โหลดโปรแกรม Flip Album 6.0 Pro
วิธีแรก แผ่นติดตั้งโปรแกรม Flip Album 6.0 Pro ที่ได้รับจากอาจารย์ผู้สอน
วิธีสอง ดาวน์โหลดโปรแกรมจากอินเตอร์เน็ต ด้วยลิงค์ดังต่อไปนี้
- http://edu.sg.ac.th/scim3/Download/CDBD9730-9568-43DE-92BD-91825E942B3B.html
- http://www.srb1.go.th/anuban/e_book/setup.htm
- http://km.sukhothaitc.ac.th/files/10101910105625_10101917170627.pdf
- http://www.youtube.com/watch?v=5gVXqrf7htQ (วิดีโอจาก YouTube เรื่อง วิธีการดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม)
*** หมายเหตุการณ์ลงโปรแกรม Flip Album 6.0 Pro ด้วยแผ่นซีดีหรือจาก Flash Drive จะต้อง Copy ทุกอย่างลงไปในเครื่องทั้งหมด มิเช่นนั้นจะไม่สามารถใช้โปรแกรมอย่างสมบูรณ์แบบได้

Unknown said...

การใช้โปรแกรม Flip Album 6.0 Pro
Flies > New Book
หน้าปก
- วิธีการทำหน้าปก Click Right > Page Properties > Texture > Browse Flies (Flies ภาพหน้าปกที่ตนเองได้ Save ไว้)
*** หมายเหตุหากภาพใหญ่หรือเล็กเกินไป คำแนะนำให้ไปแต่งภาพด้วยโปรแกรม Photoshop
- วิธีการใส่ข้อความหน้าแรก Click Right > Annotation > พิมพ์ชื่อหนังสือของเราเข้าไป เช่น ท่องเที่ยวอยุธยา > เลือก Font > Color
*** หมายเหตุสามารถแก้ไขและปรับเปลี่ยน สี เลือกตัวอักษร และปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

Unknown said...

หน้าต่อไป (Content)
- วิธีการเพิ่มหน้า Click Right > Insert Page
- วิธีการลบหน้า(หน้าที่เราเพิ่มเกิน) Click Right > Delete Page
- วิธีการทำผิดแล้วทำใหม่ Click Undo
หน้าแรกของเนื้อหา (หน้า 3)
- วิธีการใส่ภาพประกอบ Click Right > Multimedia Object > เลือก Files ภาพที่ Save ไว้ > ลากภาพนั้นลงมาวาง
- วิธีการใส่ข้อความ Click Right > Annotation > ใส่คำอธิบายต่างๆ ใต้ภาพด้วยการพิมพ์
- วิธีการใส่ข้อความที่คัดลอกมาจากทื่อื่น Click Right > Annotation > Control V (Paste)
- วิธีการใส่ลวดลายหรือพื้นหลังในหน้าต่างๆ Click Right > Page Properties > Choose Color หรือ Browse Flies (Flies ภาพพื้นหลัง)

Unknown said...

วิธีการต่างๆ ที่น่าสนใจ
- วิธีการ Save > Flies > Save As (สกุล .opf)
- วิธีการใส่วิดีโอ Click Right > Multimedia Object > เลือก Files วิดีโอที่ใช้ (สกุล .avi)
*** หมายเหตุ เมื่อเราเลือก Files แล้วนั้นจะเห็นเป็นสัญลักษณ์เล็กๆ เราต้องเล่น Files ก่อน แล้วจึงปรับขนาดของวิดีโอที่ต้องการนำเสนอ
- หากไม่มี Files วิดีโอ ให้ดาวน์โหลดจาก YouTube แล้วใช้โปรแกรมแปลงไฟล์ให้เป็นสกุล .avi
- วิธีการใส่เพลง Menu Bar Click สัญลักษณ์ ตัวโน๊ต > เลือก Files เพลง (สกุล .mp3)
*** หมายเหตุ ควรเลือกเพลงที่เหมาะสมกับเนื้อหาใน E-Book เช่น เพลงบรรเลง
- วิธีการเปลี่ยนเพลง Menu Bar Click Options > Set Book Options > เลือก Files เพลง (สกุล .mp3)

Unknown said...

วิธีการทำสารบัญ (ให้ทำเป็นส่วนสุดท้ายใน E-Book)
- เปิดหน้า Content > Menu Bar Click Edit > Customizes Content จะมีตาราง Style ขึ้นมา > Title > Modify สามารถเปลี่ยน คำว่า Content เป็น สารบัญ
- วิธีการใส่ข้อความเพื่อไปยังหน้าเนื้อหา Menu Bar Click Edit > Customizes Content จะมีตาราง Style ขึ้นมา > TOC… > Modify สามารถเปลี่ยน คำว่า TOC เป็น หัวข้อเรื่องต่างๆ ได้
- วิธีการ Rename ข้อความต่างๆ เพื่อแก้ไข Click Right > พิมพ์ข้อความที่ต้องการแก้ไข

*** หมายเหตุสามารถแก้ไขและปรับเปลี่ยน สี เลือกตัวอักษร (Font ของไทย มิเช่นนั้นจะขึ้นเป็นภาษาต่างดาว) และปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม หากในหน้าต่างๆ ไม่มีเนื้อหาข้อมูล จะไม่ขึ้นที่หน้าสารบัญ (Content)

Unknown said...

วิธีการทำ Index
- เปิดหน้า Content > Menu Bar Click Edit > Customizes Index จะมีตาราง Style ขึ้นมา > Title > Modify สามารถเปลี่ยน คำว่า Content เป็น สารบัญ
- วิธีการใส่ข้อความเพื่อไปยังหน้าเนื้อหา Menu Bar Click Edit > Customizes Index จะมีตาราง Style ขึ้นมา > Index … > Modify สามารถเปลี่ยน คำว่า Index เป็น หัวข้อเรื่องต่างๆ ได้
- วิธีการ Rename ข้อความต่างๆ เพื่อแก้ไข Click Right > พิมพ์ข้อความที่ต้องการแก้ไข
*** หมายเหตุสามารถแก้ไขและปรับเปลี่ยน สี เลือกตัวอักษร (Font ของไทย มิเช่นนั้นจะขึ้นเป็นภาษาต่างดาว) และปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม หากในหน้าต่างๆ ไม่มีเนื้อหาข้อมูล จะไม่ขึ้นที่หน้าดรรชนี (Index)

Unknown said...

คำแนะนำ
- E-Book ควรเป็นหนังสือเพิ่มเติมที่ไม่มีในตำราหรือหนังสือเรียนปกติ หลักการทำ E-Book เพื่อใช้ในการเสริมความรู้ให้แก่นักเรียนที่เป็นเกร็ดความรู้ต่างๆ ที่ไม่มีในหนังสือเรียน เพราะประโยชน์สูงสุดของ E-Book เพื่อใช้ในการเพิ่มเติมการเรียนรู้ของนักเรียน
- เนื้อหาและสื่อต่างๆ ควรออกแบบให้มีความเหมาะสมกัน ให้น่าอ่านมากยิ่งขึ้น
- เนื้อหาไม่ควรเกิน 15 หน้า
- การจัดรูปแบบของเนื้อหา การเว้นวรรค การวางรูปภาพ ควรมีความเหมาะสมและให้น่าอ่านมายิ่งขึ้น
- กลุ่ม Host Team นำเสนอ โปรแกรมแนะนำวิธีการใช้ E-Book อย่างละเอียด ไว้ศึกษาเพิ่มเติมhttp://ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/171/9.pdf
- การ Save ควร Save Files ภาพ เสียง สื่อมัลติมีเดีย ต่างๆ ที่ใช้ใน E-Book ลงไปใน Folder เดียวกัน เพื่อเวลาที่เล่น E-Book จะได้เล่นได้ทันที

Unknown said...

ข้อตกลง / การบ้าน
1. หลังจากหยุดปีใหม่ จะให้อาจารย์อนิรุทธ์มาสอน CAI 3 อาทิตย์ติดต่อกัน
2. หลังจากจบการสอน CAI แล้ว จะให้นำเสนองานเกี่ยวกับโทรทัศน์ครู และอาจารย์จะสรุปเนื้อหาทบทวนให้อีกครั้ง
3. จะพาไปทัศนศึกษาในวันศุกร์ที่นิทรรศน์รัตนโกสินทร์และมิวเซียมสยาม ส่วนจะพาไปเพิ่มอะไรอีกอาจารย์ขอไปดูก่อน
4. E-book ไม่กำหนดส่ง แต่เมื่อเรียนจบงานทุกชิ้นต้องส่ง เพราะฉะนั้นอย่าหมักดองงานเด็ดขาด
5. ปีใหม่คิดใหม่ทำใหม่ อะไรที่ไม่ดีให้เลิกได้แล้ว

Naliz336 said...

ข้อมูลละเอียดยิบๆๆ ขอบคุณทีมงาม HOST TEAM นะคะ ปล. การบ้านเยอะแยะเลยเนอะ สู้ๆๆสหายทั้งหลาย

narma doloh said...

โออ โหห..เพิ่งได้เปิดมาอ่าน สรุปว่าเข้าใจถ่องแท้เลยทีเดียว รวมทั้งการทบทวนงานของอาจารย์ (ดีค่ะ..จะได้ทวนความจำว่ามีงานอะไรเพิ่มเติมที่ต้องทำ) โฮสต์กลุ่มนี้ เก็บรายละเอียดดีนะคะ

Fonphrom Puttana said...
This comment has been removed by the author.
Fonphrom Puttana said...

กลุ่ม Host team 7/1/56
นายปองพล วิชาดี 06510084
นางสาวฝนพรม พุทธนา 06510086

pongpon wichadee said...

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
1. ทบทวนความรู้เดิม ว่า นศ เคยเรียนอะไรมาแล้วบ้าง
2. นำเรื่องด้วยการ การใช้สื่อของครูใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้โปรแกรมช่วยสอน ในโรงเรียน การขอวิทยฐานะ ต้องทำบทเรียน ซี เอ ไอ
ประเด็นในการศึกษา
1. ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. กระบวนการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ความหมาย
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ การเรียนการสอนคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสม (ผสมผสานสื่อในการใช้) อันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิกภาพเคลื่อนไหว วิดีทัศน์และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาไปยังผู้เรียน บทเรียนจะต้องถ่ายทอดใกล้เคียงกับความรู้เดิม กับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด

pongpon wichadee said...

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์มีคุณลักษณะสำคัญ 4 ประการ (4I)
1. Information – ต้องมีการเรียบเรียงแล้วเป็นอย่างดี คือ จะต้องไม่จัดเนื้อหามากเกินไปใน 1 หน้า
2. Individualization – ต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. Interaction – ต้องมีการตอบโต้ภายในสื่อ
4. Immediate Feedback – ต้องสามารถตอบโต้กับผู้เรียนได้ เช่น การทำแบบทดสอบ

pongpon wichadee said...

ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. แบบเนื้อหาบทเรียน(tutorial) หรือสอนเนื้อหา เกือบทั้งหมดจะเป็นแบบนี้ คือ มีเนื้อหาต่าง สื่อประกอบ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และจดจำได้จากการเรียนด้วนสื่อชนิดนี้
2. แบบฝึกทักษะ(Drill Practice) ส่วนใหญ่จะอยู่ในรายวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ คือเน้น ให้ผู้เรียนฝึกษะซ้ำจากแบบทดสอบ
3. แบบสถานการณ์จำลอง(Simulation) ไม่เน้นตัวอักษร ภาพ และแบบฝึก แต่จะแปลงเนื้อหาที่ยาก เป็นนามธรรมมาแปลงให้ง่ายต่อการเข้าใจ เช่น รายวิชาวิทยาศาสตร์ ในเรื่องของทฤ
4. แบบเกมส์การเรียนการสอน(game) จะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปแบบของเกมส์เป็นสื่อ
5. แบบการแก้ปัญหา(Problem Solving) คล้ายแบบสถานการณ์จำลอง แต่จะต่างกันครงที่ที่แบบนี้จะสร้างสถานการณ์ขึ้นมาและให้ผู้เรียนแก้ปัญหา เช่น ในรายวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ขั้นตอนการพัฒนาสื่อ
- สัมภาษณ์/สอบถาม
- ประเมินคุณภาพ
- การทดลอง

pongpon wichadee said...

ขอโทษด้วยนะครับเพื่อนๆ ตอนเเรกก็โพสเเล้วไม่ขึ้น เผอิญ โฮส มือใหม่ใจเร็วไปนิด 55

orapin said...

host team ปองพล และฝนพรม รับผิดชอบดี มีใครขาดเรียนครั้งนั้นหรือไม่ ช่วยเช้คให้ด้วย และอาจารย์ได้สั่งงานหรือเปล่า ช่วยโพสรายละเอียดเพิมเติมให้ด้วยนะคะ

Unknown said...

ขอบคุณคะ Host Team

Yuttasin090 said...

ขอบคุณครับ

Unknown said...

ขอบคุณโฮสทีมมากๆค่ะ ^^

orapin said...

สัปดาห์ที่ผ่านมา (14 ม.ค.56) ไม่มีการสรุปเนื้อหาที่เรียนเลยนะคะ สมาชิกที่ได้ตกลงไว้ (กลุ่มน้องๆ ปี 4) กรุณารับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายด้วยนะคะ

Unknown said...

Host team วันจันทร์ที่14 มกราคม 2556
สมาชิกคือ นางสาว ปริวาส เหมะศิวะ
นางสาว ภัทรนันท์ บุษปวัต
นางสาว เพ็ญภาส อุทัชกุล

Unknown said...

วันนี้ อาจารย์สอนเกี่ยวกับการใช้ โปรแกรม Adobe captivate 4 ในการทำ CAI เบื้องต้น มีขั้นตอนดังนี้
1. หลังจากลงโปรแกรมแล้ว ให้เปิดหน้า Blank project เพื่อเริ่มการสร้างงานใหม่
2. เลือก size ที่ 800X600 full scean กด OK
3. หน้าที่เลือกไว้จะปรากฎขึ้น ให้ double click ที่หน้าจอที่ขึ้นมา หากต้องการเพิ่มหน้า ให้เลือก Insert > blank slide
4. เลือก Icon caption ที่อยู่บริเวณแถบเครื่องมือด้านซ้าย > New text caption เพื่อเพิ่มข้อความ เช่น ยินดีต้อนรับ
5. หากต้องการให้ตัวอักษรมีการเคลื่อนไหว ให้เลือกใช้ Text animation

Unknown said...

6. การเปลี่ยนพื้นหลัง Slide ให้ double click บริเวณที่ว่าง > change background Image
7. ใส่ภาพประกอบ เลือก insert >image
8. การใช้เอฟเฟค ไฮไลท์ เพื่อให้ภาพดูเด่นขึ้น ไปที่ Hilight > fill outerace
9. การซูม เพื่อใช้ในการอธิบายหรือจำแนกสิ่งต่างๆเป็นส่วนๆ ให้คลิกที่ Zoom จะปรากฏกรอบ2 กรอบ คือกรอบใสจะใช้กำหนดจุดที่ซูม ส่วนกรอบทึบ เป็นกรอบที่ใช้แสดงผล ให้เลือกแบบเปอร์เซ็นต์ของกรอบน้อยๆ เพื่อจะได้โปร่งแสงเวลาที่ซูม
10. หากต้องการใส่วิดีโอ ให้ไปที่ Insert > flash vedio> new flash Vedio จากนั้นเลือกไฟล์ที่เตรียมไว้มาใส
คนที่ไม่มาในชั่วโมงนี้คือ นางสาวอารยา เนื่องจากไปแข่งกีฬา

Yuttasin090 said...

สวัสดีคุณครู เพื่อนๆ และน้องๆ ทุกคนนะครับสำหรับ Host team ในครั้งนี้ก็ประกอบไปด้วย

1. นายธีรพงษ์ สิงห์ทอง 06510081 ติดต่อได้ที่ http://teerapong081.wordpress.com/
2. นายยุทธศิลป์ แปลนนาค 06510090 ติดต่อได้ที่ http://yuttasin090.wordpress.com/
3. นายวิเชียร ภคพามงคลชัย 06510093 ติดต่อได้ที่ http://wichian093.wordpress.com/

สำหรับครั้งนี้ก็เกือบๆ จะเป็นครั้งสุดท้ายของการเรียนแล้ว แต่ยังไงก็ยังไม่ใช่วันสุดท้ายครับ เอาเป็นว่าเรามาทำความรู้จักกับไอเจ้า Captivate กันต่อดีกว่าครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา

Yuttasin090 said...

สำหรับวันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2556 ได้เรียนเพิ่มเติมในหัวข้อ

1. การสร้างเฟรมสำหรับการรายงานตัวของผู้ใช้บทเรียน

สำหรับเฟรมนี้จะให้ผู้ใช้งานได้ระบุตัวตนว่าเป็นใคร ในการใช้งานครั้งนั้นๆ ครับ การสร้างๆ ก็ไม่ได้ยากอะไรมากมายเลยครับ ^^ !!!
1.1 สร้างเฟรมเปล่าขึ้นมา 1 เฟรม
1.2 พิมพ์ข้อความเพื่อระบุจุดประสงค์ที่ต้องการให้ผู้ใช้ปฏิบัติตาม เช่น “แนะนำตัวผู้ใช้งาน” ด้วยเครื่องมือ Caption ทางซ้ายมือของหน้าต่าง
1.3 หัวข้อที่จะให้ผู้ใช้กรอกชื่ออาจพิมพ์คำว่า “กรุณาพิมพ์ชื่อ”
1.4 ไปที่เครื่องมือ Text Entry ทางซ้ายมือ >> Options >> ให้เลือก Show button และ Show text box frame

Yuttasin090 said...

1.5 มาที่ Advanced >> ที่ช่อง Variable Associated พิมพ์ว่า “Studentname” >> Ok
1.6 จะปรากฏช่องให้เติมข้อความกับคำว่า Submit ให้ Double Click ที่ปุ่ม Submit แล้วเปลี่ยนคำตรงบริเวณ Button Text ว่า “กดยืนยัน” หรือคำอื่นๆ ที่สื่อความหมายเช่นเดียวกัน

อ้า!!! อย่าลืมตกแต่งให้สวยงามด้วยนะครับ เดี๋ยวจะไม่ดึงดูดใจผู้ใช้งาน หลังจากนั้นเพื่อความสมบูรณ์ของงานให้ผู้เพื่อนๆ ปฏิบัติ ดังนี้

Yuttasin090 said...

1.7 สร้างเฟรมเปล่าขึ้นมาอีก 1 เฟรม (เฟรมถัดไป)
1.8 พิมพ์ข้อความ “ยินดีต้อนรับคุณ” หรือจะเป็นประโยคอื่นก็ได้ครับ
1.9 เลือกเครื่องมือ Caption >>> Insert Variable (รูปตัว X) >>> จะปรากฏหน้าต่างใหม่ บริเวณที่เป็น Variables ให้เลือก “Studentname” >>> Ok จะปรากฏ กล่องข้อความ $$studentname$$ ให้ลากข้อความนี้ไปไว้ตำแหน่งด้านหลัง คำว่า “ยินดีต้อนรับคุณ” …. แค่นี้ก็จะได้เฟรมเก๋ๆ อีก 1 เฟรมแล้วนะครับ

อ้อแต่อย่าลืมตกแต่งให้สวยเหมาะสมกับเนื้อหาด้วยนะครับ เวลาไปขอผลงานทางวิชาการจะได้ไม่เป็นจุดตัดคะแนน ^^

Teerapong081 said...

2. การ Link ไปยังส่วนต่างๆ

อันนี้ไม่อยากเลยนะครับ แต่ขอบอกกล่าวทำความเข้าใจก่อนว่า การลิงค์ใน Captivate Host Team ขอแบ่งเป็น 5 หัวข้อนะครับ สำหรับลิงค์ทั่วๆ ไปครับ

การลิ้งค์จะมี 5 หัวข้อ คือ
- ลิงค์จากเมนูหลักไปเฟรมอื่นๆ
- ลิงค์จากเฟรมเนื้อหาปัจจุบันไปเฟรมถัดไป “ลิงค์เดินหน้า”
- ลิงค์จากเฟรมเนื้อหาปัจจุบันไปเฟรมก่อนหน้า “ลิงค์ย้อนกลับ”
- ลิงค์จากเฟรมเนื้อหากลับสู่เมนูหลัก
- ลิงค์ข้ามเฟรม

การลิงค์ทั้งหมดนี้มีขั้นตอนการสร้างและการลิงค์เหมือนกัน ปุ่มลิงค์อาจสร้างจากเครื่องมือ Button ทางซ้ายมือ โดยปกติปุ่มกดจะเป็นแบบ text ครับ แต่ถ้าเพื่อนๆ สนใจจะสร้างให้มันดูดีมาอีกนิด เมื่อเราคลิ๊ก Button จะเห็นหัวข้อ Type อันนี้เพื่อนๆ สามารถเลือกได้ครับว่าจะใช้รูปแบบไหน ถ้าแบบปกติก็ Text Button ถ้าหากเพื่อน Insert รูปแบบลิงค์เฉพาะตัวก็เลือก Transparent Button หรือถ้าชอบรูปแบบที่โปรแกรมสร้างไว้ให้ก็เลือก Image Button นะจะ

Teerapong081 said...

เมื่อเลือกปุ่มได้แล้ว จะ Next จะ Home หรือ จะ Back หรือจะเป็นข้อความใดๆ ก็แล้วแต่ที่เราอยากจะลิงค์ให้มัน หรือจะเป็นภาพก็ตาม ให้ระบุว่าปุ่มที่เราเลือกนี้เมื่อคลิ๊กแล้วมันจะไปบังเกิดลูกเล่น หรือสิ่งมหัศจรรย์อันใดเฟรมใดที่เพื่อนๆ ได้สร้างไว้ ก็ให้ดูที่หัวข้อ On success มันก็จะมีหัวข้อมาให้เลือกหลากหลาย ถ้าต้องการให้ปุ่มนั้นย้อนกลับ ก็เลือก Go to previous slide หรือให้ไปเฟรมถัดไปก็ Go to next slide แต่ถ้าอยากกำหนดหน้าเองเลยก็ให้เลือก Jump to slide เมื่อเลือกมันปุ๊บ มันก็จะขึ้นแถบหัวข้อขึ้นมาให้เรากำหนดจุดหมายปลายทาง เราก็จัดการเลือกมันเลย จากนั้นก็ OK เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

Teerapong081 said...

แต่ถ้าเพื่อนต้องการความแปลกแหวกแนวไม่ซ้ำใครก็อาจจะใช้ปุ่มกดแบบมีเสียง ก็ให้เลือกที่เมนู Audio จากนั้นก็ Import เสียงใสๆ ไร้มลทินแบบ mp3 เข้ามา แล้ว Ok แค่นี้ก็เรียบร้อย แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงว่างานเราจะโอเคหรือไม่โอเคอยู่ที่ระดับของผู้ใช้งานและเนื้อหา อันนี้ลองนำศาสตร์ทางจิตวิทยามาเป็นตัวช่วยในการออกแบบก็ดีนะครับ จำพวกการเสริมแรง การเล่นเสียงสีแสง ให้มันเร้าความสนใจสักหน่อยก็จะดี

Wichian093 said...

3. Timeline

ทามไลน์เป็นตัวที่จะกำหนดว่าหน้านั้นๆ จะเล่นกี่นาทีกี่วินาที หรืออะไรจะปรากฏก่อนหรือหลัง อันนี้ Host Teams ต้องขอกล่าวเลยว่าอันนี้ต้องใช้การฝึกฝน สังเกต และเทคนิคเฉพาะตัวครับ กล่าวง่ายสั้นๆ คือ ถ้าเพื่อนต้องการให้ข้อมูลส่วนไหนมีเวลานาน เพื่อนก็กำหนดลากส่วนนั้นให้ยาวที่สุด ต้องการจะให้ข้อมูลแสงสีเสียงอะไรมาก่อนก็กำหนดให้มันอยู่ก่อน อันไหนปรากฏตอนหลังก็ลากมันมาอยู่ตอนท้าย คล้ายๆ กับโปรแกรม Movie Maker แหละครับ หรือถ้าไม่รู้จักอีกก็ต้องใช้ประสบการณ์แล้วแหละครับ^O^ ไม่มีงานไหนยากนะครับ นอกเสียจากว่าเราคิดว่ามันยากเอง ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันยากหรือไม่อยากทำกันแน่เนอะอิอิ ^^

Wichian093 said...

4. การสร้างแบบฝึกหัด (ข้อสอบ)
การสร้างข้อสอบมีหลายวิธี แต่ที่แนะนำในครั้งนี้เป็นข้อสอบปรนัย
1. โดยเริ่มต้นวิธีการสร้างคือการกำหนดค่าต่างๆ คือ เลือกใช้คำสั่ง Quiz > Quiz Preferences เพื่อใช้ในการตั้งค่าแบบทดสอบ>Settings เพื่อตั้งค่าปกติ > Pass or fail เพื่อกำหนดระดับคะแนนในการผ่านขั้นต้นว่ากี่เปอร์เซ็นต์

Wichian093 said...

2. การสร้างแบบทดสอบ โดยเลือกแถบเมนูคำสั่ง Quiz > Question Slide > เลือกชนิดข้อสอบในที่นี้เลือก Multiple choice > Graded Question > ก็จะปรากฏหน้าต่างของการตั้งคำถาม โดยเริ่มจะกรอกข้อมูลต่างๆ ลงในช่องว่าง ช่องName ให้พิมพ์ชื่อแบบทดสอบ> ช่อง Question ให้พิมพ์คำถามลงไป > ช่อง Answers ให้พิมพ์ตัวเลือก พร้อมทั้งกำหนดตัวเลือกที่ถูกต้อง เสร็จแล้วกด OK เสร็จเรียบร้อยครับ

5. การ save ไฟล์

ให้เลือก file >>> publish >> flash (swf) >>> Output option >>> Export Html >>> publish

Wichian093 said...

6. นัดหมายและการสั่งงานต่างๆ

1. วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2556 นำเสนอวิธีการสอนรูปแบบต่างๆ (โทรทัศน์ครู) คนละไม่เกิน 10 นาที
2. 18 กุมภาพันธ์ สอบปลายภาค ส่วนแรกสอบข้อเขียน (ตอนเช้า) หลักจากนั้นเป็นสอบภาคปฏิบัติ CAI สามารถนำโน๊ตบุ๊กมาได้ครับ
3. งานทุกชิ้นสามารถเริ่มส่งได้แล้วครับ ควรจะส่งก่อน 25 กุมภาพันธ์นี้ครับ
4. แต่ละกลุ่มอย่าลืมนำเสนอหัวข้อนวัตกรรม และสมาชิก ครับ

Teerapong081 said...

7. ลำดับรายชื่อนักศึกษาในการนำเสนองานวิธีการสอนจากโทรทัศน์ครู

1.นัรมา 2.เกตุวลี 3.กิตติยา 4.ปองพล 5.วิศระ 6.ชนาพร 7.ฝนพรม 8.อธิจิต 9.ศุภวรรณ 10.กฤษณา 11.นันทิดา 12.กาญจนา 13.- 14.ดวงใจ 15.ลัดดาวัลย์ 16.อัจฉรา 17.ชมพูนุท 18.พิไลรัตน์ 19.พิชชาภา 20.สุภกิจ 21.ยุทธศิลป์ 22.ศุภรัตน์ 23.ธีรพงษ์ 24.หัทยา 25.- 26.วิเชียร 27.วรงกรณ์ 28.คณาพร 29.ชญาพร
30.จริยา 31.เตย 32.จิรายุ 33.อารยา 34.นาลิศ 35.อุไรวรรณ 36.นิสารัตน์ 37.- 38.ภาณุพงศ์ 39.-
40.ธิติมาศ

Yuttasin090 said...

สำหรับสุดท้ายนี้ เพื่อนๆ อย่าลืมมาเสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็นกันนะครับ

หากมีความผิดพลาดประการใดในการนำเสนอขั้นตอนที่ทำไม่ถูกต้องหรืออาจไม่เข้าใจ ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างต้องขออภัยด้วยนะครับ

แหล่งการศึกษา captivate เพิ่มเติม
http://www.senate.go.th/elearning/file.php/27/Adobe_Captivate_4.PDF

Kritsana068 said...

กลุ่ม Host team ทำงานได้ละเอียดดีมากเลยคะ^__^

Supawan said...

สวัสดีค่ะ กลุ่ม Host team วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556
เรื่อง รายงานวิธีสอนที่ได้ศึกษาจากโทรทัศน์ครู
กลุ่ม Host team ประกอบด้วย
1.นางสาวกฤษณา แก้วตระกูล รหัส 06510068
2.นางสาวนันทิดา กาศสกุล รหัส 06510082
3.นางสาวศุภวรรณ เพชรประดิษฐ์ รหัส 06510096
4.นางสาวอารยา พิทยจำรัส รหัส 06510102

Supawan said...

กลุ่ม Host team กลุ่มแรก(จากวิธีสอนที่ได้ศึกษาจากโทรทัศน์ครู)นี้ขอนำเสนอรายงานของเพื่อนๆ 10 คนแรก และอีก 30 คนจะเป็นหน้าที่ของ Host team กลุ่มต่อไปค่ะ สำหรับการนำเสนอจะมี 4 หัวข้อสำคัญ คือ 1.รูปแบบการสอน 2.เทคนิค/วิธีสอนที่สอดคล้อง 3.สิ่งที่ต้องการเพิ่ม/ลดในวิธีสอนดังกล่าว และ 4.ขอเสนอแนะเพิ่มเติมของอาจารย์ ค่ะ ^___^

Supawan said...

 ลำดับที่ 1. นางสาวศุภวรรณ เพชรประดิษฐ์ นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง Citizenship – Establishing Communities (หน้าที่พลเมือง – การสร้างชุมชน) ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มๆ ละ 3 - 4 คน จากนั้นแจกสื่อแผนที่ “เกาะร้าง” ให้นักเรียนทุกกลุ่ม
2. ครูกำหนดสถานการณ์ที่เป็นคำถามมาให้นักเรียนทุกกลุ่มเพื่อแก้ปัญหา และอภิปรายร่วมกันในกลุ่ม คำถามส่วนใหญ่ให้นักเรียนตอบโดยใช้เหตุผล คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประกอบแผนที่ เกาะร้าง ที่ครูแจกให้นักเรียนโดยเรียงลำดับคำถามสำคัญ
3. ครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา เสนอแนะ ตั้งคำถามเพื่อไม่ให้นักเรียนคิดนอกประเด็นคำถาม จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ พร้อมกับสรุปความคิดรวบยอดร่วมกันในประเด็นสิ่งสำคัญในการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง
รูปแบบ/เทคนิคการสอนที่เกี่ยวข้อง
1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถาม (Questioning Method) ตัวอย่างคำถาม เช่น
- นักเรียนคิดว่าสิ่งสำคัญในการสร้างชุมชนจะต้องมีอะไรบ้าง (คิดวิเคราะห์)
- จากแนวคิดการสร้างเมืองของแต่ละกลุ่มในวันนี้ ให้นักเรียนในห้องช่วยกันสรุปผังความคิดว่า สิ่งที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง คืออะไร (สังเคราะห์)
2. การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning)
กิจกรรมเน้นการใช้คำถาม ตั้งแต่เริ่มต้น จนสรุปบทเรียน ครูเป็นผู้สนับสนุนการตัดสินใจ คำถามที่ใช้ล้วนกระตุ้นกระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนเอง เช่น นักเรียนคิดว่า เกาะร้าง เรียกว่าเมืองได้หรือไม่

Supawan said...
This comment has been removed by the author.
Supawan said...

ข้อเสนอแนะ/ประเด็นเพิ่มเติมของผู้สอน
ครูควรนำรูปแบบการสอนดังกล่าวไปปรับใช้กับเนื้อหาการสอนในเรื่องอื่น..ทั้งในสาระและนอกสาระวิชา เช่น การสอนเรื่องการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี สิทธิมนุษยชน เป็นต้น
กิจกรรมที่ครูจัดขึ้นสามารถนำไประยุกต์กับวิธีสอนแบบอื่นๆ เช่น รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ Cooperative Learning) โดยนำเทคนิคต่างๆมาใช้ เช่น STAD TGT Jigsaw เป็นต้น ครูผู้สอนอาจมีการแบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสามารถ ให้นักเรียนได้ช่วยเหลือกันเรียนรู้
ข้อคำถามของอาจารย์ที่ฝากถึงผู้นำเสนอและผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ
- หากนักศึกษาต้องการเพิ่มเติมวิธีสอนตามรูปแบบ Cooperative Learning ให้นักเรียนเพิ่มเติมรายละเอียดรูปแบบการสอนแบบให้ชัดเจนว่าใช้อย่างไร และใช้ได้ทุกเทคนิคหรือไม่ อย่างเช่น เทคนิค Jigsaw สามารถใช้เทคนิคดังกล่าวได้ช่วงใดบ้าง
- การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method) มีรูปแบบการสอนที่มีลักษณะเด่นอย่างไร และเกี่ยวข้องกับรูปแบบการสอนเรื่องที่นักศึกษายกมาจริงหรือ

Supawan said...

 ลำดับที่ 2. นางสาวเกตุวลี ช้างดี นำเสนอโทรทัศน์ครู เกม...นักสืบน้อย ของครูศรัณย์พร ยินดีสุข โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมศึกษา
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. การเรียนการสอนเป็นไปในรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยการใช้กิจกรรมเกมส์นักสืบน้อยในเนื้อหาเรื่อง ทวีปอเมริกาใต้ครูแจกแผนที่นักเรียนกลุ่มละ 1 ฉบับ บอกชื่อประเทศ
2. ครูชี้แจงกติกการเล่นเกมส์แก่นักเรียน โดยครูผู้สอนจะใช้คำถามๆนักเรียน นักเรียนจะต้องคิดว่าตนเป็นนักสืบ โดยครูจะใช้สถานการณ์ต่างๆ เชื่อมโยงสู่เป้าหมายของกิจกรรม
3. กลุ่มผู้ชนะมีเพียงกลุ่มเดียว คือ กลุ่มที่ตอบคำถามถูกต้องทุกข้อเป็นกลุ่มแรก
4. ท้ายคาบครูให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้รับในวันนี้ จากนั้นครูจะเป็นผู้กล่าวสรุปรวมอีกครั้ง
รูปแบบ/เทคนิคการสอนที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาเทคนิควิธีการสอนโดยใช้เกม...นักสืบน้อยของครูศรัณย์พร ยินดีสุข เป็นเทคนิควิธีการสอนที่มีความสมบูรณ์ ครูใช้วิธีการสอนโดยใช้เกมเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจแทนการท่องจำ เน้นให้นักเรียนรู้จักการฝึกคิด วิเคราะห์

Supawan said...

ตัวอย่างคำถามในเกม เช่น
- ให้นักเรียนบอกลักษณะการแต่งกาย และลักษณะการประกอบอาชีพของคนในประเทศนั้นๆ (คิดวิเคราะห์)
- การปลูกข้าวโพดควรปลูกบริเวณใด ประเทศอะไร (ความจำ)
ข้อเสนอแนะ/ประเด็นเพิ่มเติมของผู้สอน
- ในตอนแรกก่อนที่จะมีกิจกรรมเล่นเกม จากที่ครูให้ทำกิจกรรมกลุ่มโดยได้ให้ชื่อประเทศและให้นักเรียนสืบค้นว่าประเทศที่ผู้เรียนได้รับไปมีการประกอบอาชีพ และแต่งกายแบบใดโดยให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศเพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ซึ่งหลังจากที่นักเรียนได้ออกมาอธิบายคำตอบของตนเอง ครูควรที่จะสรุปหรือเฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้นักเรียนฟังอีกครั้ง แล้วจึงจะทำการเล่นเกม เพื่อให้นักเรียนได้ทราบข้อมูลที่ถูกต้อง
- ควรมีการแบ่งกลุ่มนักเรียนแบบคละความสามารถในการเล่นเกม
ข้อคำถามของอาจารย์ที่ฝากถึงผู้นำเสนอและผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ
อ.อรพิณถามนักศึกษาว่า คำถามที่ใช้ส่วนใหญ่ในเทคนิคการสอน เป็นคำถามคิดวิเคราะห์หรือความจำ และนักศึกษาแบ่งแยกระหว่างคำถาม คิดวิเคราะห์กับคำถามเชิงคิดสร้างสรรค์ได้หรือไม่ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

Supawan said...

 ลำดับที่ 3. นางสาวกิตติยา น้อยต้นวงศ์นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง การสอนโดยใช้สื่อสามมิติ อ.บุญยิน ศรีระวัตร ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
คุณครูบุญยิน ศรีระวัตร นั้น นำสื่อสามมิติไปใช้ในการสอนสาระวิชาพระพุทธศาสนา โดยนำสื่อไปประยุกต์กับการสอนบรรยาย และมีกิจกรรมการแข่งขันตามรูปแบบการสอน Cooperative Learning เทคนิค TGT ดังนี้
- T (Team) : แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 ทีม โดยคละความสามารถกัน
- G (Games) : กำหนดเกมที่ใช้ทักษะ ซึ่งเราจะนำสื่อสามมิติมาใช้ร่วมกับเกมด้วย เช่น เกม ฉันคือ … เช่นผู้สอนอ่านคาใบ้ และให้ผู้เรียนเขียนคำตอบบนกระดาน และเฉลยโดยการเปิดป้ายสื่อสามมิติ เป็นต้น
- T (Tournaments) : มีการแข่งขันระหว่างกลุ่ม เช่น กลุ่มไหนตอบได้มากที่สุด จะเป็นกลุ่มที่ชนะ หรือกลุ่มไหนตอบได้น้อยที่สุด จะต้องมาแสดงความสามารถให้เพื่อนชม เป็นต้น
รูปแบบ/เทคนิคการสอนที่เกี่ยวข้อง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คล้ายการสอนของ อ.อุทุมพร มุลพรม ร.ร. วัดทุ่งมน เทคนิควิธีสอน การสร้างสื่อการสอนด้วยตัวผู้เรียน วิชาพระพุทธศาสนา แต่มีจุดที่แตกต่างกันคือ ของครูบุญยินนั้น จะเป็นผู้ผลิตสื่อเอง และนำสื่อนั้นมาประกอบการเล่าเรื่อง แต่สำหรับของครูอุทุมพรนั้น จะให้นักเรียนร่วมกันผลิตสื่อ และให้นำเสนอหน้าห้องเรียน

Supawan said...

ข้อเสนอแนะ/ประเด็นเพิ่มเติมของผู้สอน
1. มีการใช้สื่อที่ประกอบการบรรยายของครูเพียงเท่านั้น อาจจะปรับปรุงให้สามารถใช้ในการศึกษาด้วยตนเองได้
2. นอกจากการนำสื่อไปใช้ในการเข้าสู่บทเรียน อาจจะเพิ่มในกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน เช่น การเล่าเรื่อง พุทธประวัติผ่านการใช้สื่อสามมิติ หรือใช้สื่อทำให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์ เช่น มีการตั้งคำถาม และเฉลยโดยการเปิดการ์ดสามมิติ เป็นต้น
3. ผลิตสื่อในรูปแบบที่มีความสวยงาม ดึงดูด เพิ่มขึ้น เช่น อาจจะมีการเลื่อนได้ หรือสามมิติที่สวยงามกว่านี้
4. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในขั้นตอนการสอนมากกว่านี้ มากกว่าการนั่งฟัง เช่น ออกมาอ่านให้เพื่อนฟัง เป็นผู้อธิบายรูปภาพ หรืออาจจะเป็นผู้สร้างสรรค์สื่อขึ้นมาเอง เป็นต้น
ข้อคำถามของอาจารย์ที่ฝากถึงผู้นำเสนอและผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ
- นักศึกษาคิดว่าสื่อ 3 มิติใช้ในการเรียนร่วมกับสาระใดได้อีก
- แล้วผู้สอนควรนำสื่อไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนในขั้นใด

nuntida082 said...
This comment has been removed by the author.
nuntida082 said...
This comment has been removed by the author.
nuntida082 said...

ลำดับที่ 4 นายปองพล วิชาดี นำเสนอเทคนิคการสอนจากโทรทัศน์ครู เรื่อง วิธีการสอนสังคมแบบโยนิโสมนสิการ โดยใช้วิธีสอนแบบโยนิโสมนสิการ ของคุณครูสิริมา กลิ่นกุหลาบ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างศรัทธา โดยใช้บทเพลงแห่งสติ เข้ามาเพื่อสร้างความสงบ กระตุ้นบรรยากาศในการเรียนรู้ แล้วให้นักเรียนมอบดอกไม้แห่งความดี เพื่อเป็นการเสริมแรงทางบวกในการเรียนรู้ร่วมกันในห้อง
ขั้นที่ 2 ฝึกให้รู้จักคิด และแยกแยะ อธิบายให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งในโลกนี้มีทั้งด้านดี และด้านเสีย เหมือนเหรียญสองด้าน ทุกอย่างจะมีทั้งดีและชั่วปนกันอยู่ เมื่อในชีวิตของเราต้องมีทั้งดีและไม่ดี เราต้องเลือกเป็น ขั้นนี้ใช้กิจกรรมฝึกการคิด เช่น กิจกรรมฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ว่ามีข้อดี และข้อเสียอย่างไร

nuntida082 said...

ขั้นที่ 3 วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาทางออก คือยกตัวอย่างรูปภาพ สถานการณ์ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำเน่าเสีย ภัยธรรมชาติ ต่างๆมาเล่าให้นักเรียนฟัง แล้วใช้คำถามในการกระตุ้นทักษะการคิดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหาทางออกได้
ขั้นที่ 4 รู้จักตัดสินใจเลือก ทางออก ที่เหมาะสม คำตอบที่หลากหลายของนักเรียน เป็นการกระตุ้นการสืบหาคำตอบที่หลากหลายเช่นกัน เพราะฉะนั้นความคิดมันก็จะแตกยอด นักเรียนเกิดความคิดเองได้ว่าสิ่งที่ตอบนั้นน่าจะใช่ หรือน่าจะไม่ใช่ อาจจะเห็นคล้อยตามหรือขัดแย้งแต่ในที่สุดก็ต้องฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน

nuntida082 said...

รูปแบบ/เทคนิคการสอนที่เกี่ยวข้อง
- การสอนด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้
- การสอนด้วยเทคนิควิธีการใช้คำถาม
- การสอนด้วยเทคนิควิธีการระดมพลังสมอง
สิ่งที่ต้องการเพิ่ม/ลดในวิธีสอนดังกล่าว
- ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน สามารถใช้วิธีการที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนอาจมีความ
กระตือรือร้นมากกว่านี้ เช่น การนำเกม มาช่วยฝึกสติให้นักเรียนเกิดความฉับไว เป็นต้น
- การร่วมกันสร้างผังกราฟฟิก เพื่อช่วยในการจัดระบบ เรียบเรียงความคิดขึ้นมาให้เป็น
ระเบียบมากขึ้น เพราะ ความคิดของคนถ้าไม่ได้ถูกการจัดระบบจะไม่สามารถอธิบายเป็นเรื่องราวได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
- การใช้สื่อ เช่น การ์ตูน หรือ วิดีทัศน์ มาช่วยในการอธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้
เด็กเกิดความสนใจในการเรียน และสามารถเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างเข้าใจ อีกทั้งยังจะช่วยลดการอธิบายของครูไปได้ระดับหนึ่ง
ข้อเสนอแนะ/ประเด็นเพิ่มเติมของผู้สอน
- หลักการคิดเเบบโยนิโสมนสิการคืออะไร ก่อนที่จะมี 10 ข้อย่อย
- การสอนเเบบโยนิโสมนสิการเป็นวิธีสอนหรือวิธีคิด เพราะอะไร

nuntida082 said...

ลำดับที่ 5 นายวิศระ เชียงหว่อง นำเสนอเทคนิคการสอนจากโทรทัศน์ครู เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นกับเด็กเปิดเกาะ โดยใช้วิธีสอนแบบการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ของอาจารย์ประทีป กลีบโกมุท โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
ขั้นนำ ผู้สอนได้ให้ผู้เรียนดูวีดีทัศน์ เกี่ยวกับประเพณีพื้นบ้านของจังหวัดเลย นั่นก็คือ ประเพณีผีตาโขน แล้วผู้สอนถามผู้เรียนในประเด็น ของประเพณีพื้นบ้านที่ผู้เรียนได้ดู แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่ประเพณีพื้นบ้านของเกาะพะงัน
ขั้นสอน ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนช่วยกันระดมความคิด ในหัวข้อของประเพณีพื้นบ้านต่างๆ ของเกาะพะงัน แล้วให้แต่ละคนในกลุ่มร่วมกันคิดและตัดสินใจเลือกประเพณีท้องถิ่นในเกาะพะงันมากลุ่มละ 1 ประเพณี เพื่อที่จะนำมาทำเป็นสารคดีเพื่อนำเสนอความรู้หน้าชั้นเรียน พร้อมกับไปนำเสนอต่อสาธารณะชนในงานวันเปิดเกาะที่ทางราชการจัดขึ้น ผู้สอนได้ให้ผู้เรียนตัดสินใจแล้วก็ให้ผู้เรียนร่วมกันวางแผนการทำงาน เมื่อรวบรวมข้อมูลเสร็จเรียบร้อย ก็เตรียมนำเสนอหน้าชั้นเรียนในรู้แบบของสารคดีสั้น และนำไปนำเสนอต่อสาธารณะชนภายในงาน

nuntida082 said...

ขั้นสรุป ผู้สอนให้ผู้เรียนสรุปการดำเนินงาน และประเมินผล ให้ผู้เรียนกลุ่มอื่นได้รับรู้หน้าชั้นเรียน โดยการให้ผู้เรียนสรุปการวางแผน การดำเนินงานตามแผน และการนำไปนำเสนอต่อสาธารณะชน เป็นการสรุปความรู้ของผู้เรียนเป็นครั้งสุดท้าย
รูปแบบ/เทคนิคการสอนที่เกี่ยวข้อง
- วิธีการสอนแบบร่วมมือ
- รูปแบบการสอนแบบระดมสมอง
สิ่งที่ต้องการเพิ่ม/ลดในวิธีสอนดังกล่าว
- ควรเพิ่มเติมในเรื่องของ การสอบถามในเรื่องความรู้พื้นฐานของผู้เรียนที่มีอยู่
ข้อเสนอแนะ/ประเด็นเพิ่มเติมของผู้สอน
- จากการดูคลิปจากโทรทัศน์ครูมีวิธีการสอนตรงกับการสอบแบบการสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Constructionism) อย่างไร

Kritsana068 said...

8.นางสาวอธิจิต สงวนกุล นำเสนอเทคนิคการสอนจากโทรทัศน์ครู เรื่อง เวิร์กช็อปประวัติศาสตร์คนผิวสี ของอ.แดน ลินดอน อาจารย์สอนประวัติศาสตร์ แห่งโรงเรียนเฮนรี คอมป์ตัน แฮมเมอร์สมิท และฟูแลม มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
1.กิจกรรมการจับคู่ ความรู้ มุมมอง ต้นแบบ
วิธีการ : ครูแจกชุดคำตอบให้กับนักเรียน ซึ่งชุดคำตอบนั้นจะเป็นชื่อของบุคคลผิวสี จากนั้นครูยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลผิวสี ให้นักเรียนจับคู่ระหว่างบุคคลผิวสีและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง เมื่อจับคู่เสร็จนำเหตุการณ์มาปรึกษากันภายในชั้นเรียนและเรียงลำดับเวลา
2.กิจกรรมการเล่นบทบาท การเข้าใจ ความรู้ บูรณาการ ทัศนคติ
วิธีการ : ให้นักเรียนจับกลุ่มประมาณ 3-4 คน จากนั้นให้เลือกตัวแทนของกลุ่ม 1 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้เล่นบทบาท บทบาท สำหรับผู้ที่เล่นบทบาทครูจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนั้นให้นักเรียนที่แสดงบทบาทศึกษา และให้คิดว่าตนเองสวมบทบาทเป็นบุคคลนั้นจริงๆ ส่วนนักเรียนในกลุ่มที่เหลือปรึกษาและตั้งคำถามเกี่ยวกับบุคคลที่กลุ่มของตนได้แสดงบทบาท

Kritsana068 said...

3.จับคู่แบ่งปันความคิด หาข้อมูล จัดอันดับ ให้เหตุผล
วิธีการ : ครูให้เวลานักเรียนศึกษาประวัติศาสตร์คนผิวสีที่ครูเตรียมให้เป็นเวลา 1 นาที เมื่ออ่านจบให้นักเรียนในชั้นร่วมกันปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ข้อมูลที่ตนได้ศึกษากับเพื่อนในชั้นเรียน
4.วิธีการสอนโดยใช้ Web Guest
วิธีการ : สอนโดยใช้ Web Guest เป็นการสอนโดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อการสอนที่เรียกว่า Web Guest โดยภายใน Web Guest จะประกอบไปด้วยข้อมูล 4 ส่วน ได้แก่ หัวข้อเรื่อง ภารกิจคำสั่ง แหล่งข้อมูล ประเมินความรู้ของนักเรียน

Kritsana068 said...

ข้อเสนอแนะ/ประเด็นเพิ่มเติมของผู้สอน
- ข้อสังเกตของการจัดการเรียนการสอนของครูในต่างประเทศจะไม่มุ่งใช้เทคนิคการสอนอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะใช้วิธีการที่หลากหลาย เนื่องจากมีไม่ใดที่ดีที่สุด
- สำหรับการใช้เทคนิค Host Team เป็นการที่นักเรียนได้แชร์ประสบการณ์ในการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมุมมองของคนต่างชาติมองว่ารู้อะไรต้องมาแชร์กัน

Kritsana068 said...


ข้อคำถามของอาจารย์ที่ฝากถึงผู้นำเสนอและผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ
- ให้อธิจิตสรุป เทคนิคที่เขานำมาใช้คือ Think shard pair เป็นเทคนิคอยู่ที่ไหน (อาจารย์เฉลยว่าอยู่ใน Cooperatives)
- จากนั้นอาจารย์ถามต่อว่า เทคนิคกับวิธีสอนแตกต่างกันไหม และแตกต่างกับอย่างไร
(แตกต่างกัน เพราะวิธีสอนมีขั้นตอน ส่วนเทคนิค เป็นกระบวนการเล็กๆน้อยที่ช่วยให้การเรียนการสอนสมบูรณ์มากขึ้น)
- กิจกรรมที่นำเสนอน่าสนใจ
- และสุดท้ายอาจารย์ได้ตั้งคำถามไว้ว่า กระบวนการเรียนประวัติศาสตร์ที่ดีที่สุด คืออะไร (ฝากถึงนันทิดาที่จะนำเสนอในส่วนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ต่อไป)

Kritsana068 said...

8.นางสาวนัรมา ดอเลาะ นำเสนอเทคนิคการสอนจากโทรทัศน์ครู เรื่อง เทคนิคการใช้เกม “ไวกิงมหาภัย ใช่นอร์สหรือไม่ใช่นอร์ส” ของอาจารย์ ปีเตอร์ ในวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. ผู้สอนกล่าวชี้วัตถุประสงค์และชี้แจงกิจกรรม พร้อมกระตุ้นความรู้เดิมโดยใช้คำถาม
2. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มและนำภาพที่เป็นวัตถุของชาวไวกิง และให้แต่งคำอธิบายจริงและ คำอธิบายหลอกขึ้นมา (นักเรียนจะต้องมีพื้นฐานความรู้เพราะจะช่วยให้สร้างเรื่องได้อย่างสมเหตุสมผล และอธิบายวัตถุที่เห็นได้)
3. ให้แต่ละกลุ่มออกมาหน้าห้องพร้อมทั้งอธิบายที่เป็นของจริงและหลอก (ให้คนหนึ่งอธิบายโดยถือกระดาษสีแดง และกระดาษสีเขียว)
4. จากนั้นให้ผู้เรียนร่วมกันโหวต สีไหนเป็นเรื่องจริงสีไหนเป็นเรื่องเท็จ
5. ครูเฉลยพร้อมอธิบาย และอภิปรายร่วมกับผู้เรียน ขั้นตอนนี้สำคัญมาก

Kritsana068 said...

วิธีการสอนดังกล่าวมีความสอดคล้องกับวิธีการบ้าง
- วิธีการสอนแบบอภิปราย
- วิธีการสอนแบบบูรณาการ รูปแบบการสอนทางตรง
- วิธีการสอนแบบร่วมมือ
- รูปแบบการสอนแบบระดมสมอง

สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติมของการจัดการเรียนการสอนของครูปีเตอร์
-- อาจให้มีการทบทวนเนื้อหา ก่อนที่จะให้นักเรียนเล่นเกม เพราะอาจมีนักเรียนที่มีพื้นฐานอ่อน
- การแบ่งกลุ่มอาจแบ่งตามเก่ง ปานกลาง และอ่อน
- หลังจากจบกิจกรรมเล่นเกมผู้สอนทบทวนความรู้อีกครั้ง เพื่อเป็นการย้ำความรู้ให้กับผู้เรียน
- ผู้สอนอาจใช้คำถามในท้ายชั่วโมงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด

Kritsana068 said...

ข้อเสนอแนะ/ประเด็นเพิ่มเติมของผู้สอน
- เกมเป็นเทคนิคการสอน ส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- สำหรับการใช้เกมการคำ ใช่หรือไม่ใช่ ในเทคนิคการสอนด้วยเกมของครูปีเตอร์ต้องการพัฒนาทักษะอะไร
- ทักษะที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เช่น ที่ตอบคำถามว่าใช่ เพราะอะไร ไม่ใช่เพราะอะไร

ข้อคำถามของผู้สอนที่ฝากถึงผู้นำเสนอคือ
- รูปแบบการสอนแบบเกมของครูปีเตอร์เน้นพัฒนาทักษะอะไร
- การในการสอนประวัติศาสตร์ หากต้องสอนแบบบูรณาการต้องสอนอย่างไร

Kritsana068 said...

10. นางสาวกฤษณา แก้วตระกูล นำเสนอเทคนิคการสอนจากโทรทัศน์ครู เรื่อง “ลดโลกร้อน สู่ความพอเพียง” ของอาจารย์จุลดิษฐ์ วีรศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. ขั้นทบทวนความรู้เดิม >> การซักถามเกี่ยวกับการใช้พลังงานในชีวิตประกอบกับการใช้สื่อโปรแกรมการคำนวณผลของการดำรงชีวิตประจำวันต่อสิ่งแวดล้อม และโปรแกรมคำนวณ คำนวณคุณค่าชีวิตของนักเรียน
2. ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ >> การทำกิจกรรม “นาฬิกาพลังงาน” คือการให้นักเรียนเขียนกิจกรรมต่างๆในหนึ่งวันได้ใช้พลังงานในช่วงเวลาใดบ้างเป็นรายบุคคล จากนั้นจับกลุ่ม 4-5 คน อ่านกิจกรรมของเพื่อน และเลือกมานำเสนอหนึ่งคน
3. ขั้นศึกษาทำความเข้าใจความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้เดิม >> การทำกิจกรรม “แกะผลิตภัณฑ์” ผู้เรียนจับกลุ่ม 4-5 คน ผู้สอนให้นักเรียนช่วยกันระดมความคดแกะรอยผลิตภัณฑ์ว่าผ่านขั้นตอนการผลิตอะไรบ้าง
4. ขั้นของการจัดระเบียบความรู้ ผู้สอนให้ผู้เรียนออกมานำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม
5. ขั้นการแสดงผลงาน นักเรียนแสดงผลงานผ่าน กิจกรรมต่างๆ เช่น การแสดงละครหุ่น การร้องเพลงลดโลกร้อน

***เนื่องจากรูปแบบการสอนแบบซิปปาโมเดลที่ผู้นำเสนอได้รายงานไปไม่ตรงประเด็น จึงไม่ขอนำเสนอนะคะ

Kritsana068 said...

ข้อเสนอแนะ/ประเด็นเพิ่มเติมของผู้สอน
- เมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับทฤษฎีแนวคิดแบบ Constructivism และเทคนิคการจัดการเรียนแบบ Knowledge Management

ข้อคำถามของผู้สอนที่ฝากถึงผู้นำเสนอคือ
- ให้กฤษณาศึกษาขั้นตอนวิธีการของทฤษฎีแนวคิดแบบ Constructivism และเทคนิคการจัดการเรียนแบบ Knowledge Management มีความสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการสอนของอาจารย์จุลดิษฐ์ วีระศิลป์อย่างไร

Araya Pittayachamrat said...

นที่ 6 เบย์ - การใช้บทบาทสมมุติ
เป็นการใช้การแสดงละครทำให้ผู้เรียนเห็นภาพและสามารถจดจำเรื่องร่วหรือสิ่งที่เรียนได้นาน
ขั้นตอนการสอนจากวีดีโอ
1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม
2ครูเปิดเทปคลาสเซ็ทเรื่องเกี่ยวกับนิทานคุรธรรมให้นักเรียนฟัง /นักเรียนฟังและจดบันทึกเพิ่มเติม
3.นักเรียนประชุมเพื่อแสดงละคร โดยแบ่งานออกเป็นฝ่ายต่างๆ เช่น ฉาก สื้อผ้า เขียนบท นักแสดง
4.ซ้อมการแสดงโดยมีครูอยู่ด้วย
5.แสดงจริง โดยมีผู้ชมเป็เด็กนักเรียนชั้นอื่นๆ
6.ครูถามนักเรียนที่ทำการแสดงว่า ได้ประโยชน์อะไรจากกิจกรรมนี้
วิธีดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการสอนใด
สอดคล้องกับ การแสดงบทบาทสมมุติ (Role playing)
ความเหมือน - นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มเช่นเดียวกัน
ความต่าง - แสดงละครผู้สอนหรือผู้เรียนเป็นผู้เตรียม บทละครให้ ส่วนบทบาทสมมุตินักเรียนเป็นผู้แสดงบทบาทเอง (เขียนบทเอง)
เพิ่มเติม
- ควรเอาละครคุณธรรมดัลกล่าวไปแสดงให้ชุมชนดูบ้าง

Araya Pittayachamrat said...

คนที่ 7 จั๊ก - การนำโปรแกรม GIS มาสอนภูมิศาสตร์ในชั้น ม.ปลาย
ชั้นตอนในวีดีโอ
1.ครุแจกแผนที่ให้เด็ก และให้เด้กดูแผนที่
2.ครูใช้โปรแกรม GIS ให้นักเรียนดู
3.ครูฝึกนักเรียนให้ใช้ดปรแกรม GIS
4.ครุให้นักเรียนออกไปเก็บข้อมูลภาคสนาม จากนั้นเอาข้อมูลที่ได้มาลงในโปรแกรม GIS
5.ครุเชื่อมโยง้อมูลที่นักเรียนเก็บมาว่ามีกับความสัมพันธ์กับพ้นที่แต่ละพื้นที่อย่างไร
วิธีการดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการสอนแบบใด
1.การสอแบบสาธิต
2.การไปทัศนศึกษา
3.การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนอง
อาจารย์อรพิณ เพิ่มเติม
-จุดด่นของการไปทัศนศึกษาคืออะไร วิธีการข้างต้นสอดคล้องกับการไปทัศนศึกษาจริงหรือ
-การสร้างองคืความรู้ด้วยตนเอง(ต้องมี ความรู้เก่า และความรู้ใหม่)เป็นการทฤษฏีการจัดการเรียนรู้ ที่แยกย่อยออกมาเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรุ้แบบต่างๆ

Kritsana068 said...

ชี้แจงเพื่อนๆ อ่านแล้วอาจจะงงที่ลับดับมันสลับสับเปลี่ยนกันนิดหน่อย เนื่องจากเหตุขัดข้องทางเทคนิค ต้องขออภัยไว้ด้วย

และหากมีเนื้อหาของผู้นำเสนอท่านใดยังไม่สมบูรณ์ก็สามารถเอามาโพสต์แชร์ให้เพื่อนๆคนอื่นอ่านได้คะ

สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่ต้องค้นหาข้อมูลเพิ่มก็ส่งไปให้อาจารย์ตรวจทางอีเมล์นะคะ(อาจารย์บอกจะรับตรวจงานทางอีเมล์คะ)

สำหรับสุดท้ายนี้ก็ฝากเพื่อนที่ได้รับคำถามจากอาจารย์ก็อย่าลืมไปหาคำตอบมาด้วยนะคะ

ขอบคุณคะ... (^_^)

Naliz336 said...

^_________________^"

Unknown said...

วัสดีคครับ กลุ่ม Host team วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556
เรื่อง รายงานวิธีสอนที่ได้ศึกษาจากโทรทัศน์ครู
กลุ่ม Host team ประกอบด้วย (อีกฝั่งหนึ่ง)
1.นางสาวกิตติยา น้อยต้นวงษ์ รหัส 06510070
2.นางสาวนิสารัตน์ รอดบุญคง รหัส 06510083
3.นายภาณุพงศ์ ม่วงเขียว รหัส 06510088
4.นางสาวหัทยา เพ็ชรอิน รหัส 06510199

Unknown said...

สวัสดีครับ กลุ่ม Host team วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556
เรื่อง รายงานวิธีสอนที่ได้ศึกษาจากโทรทัศน์ครู
กลุ่ม Host team (อีกฝั่งหนึ่ง)ประกอบด้วย
1.นางสาวกิตติยา น้อยต้นวงษ์ รหัส 06510070
2.นางสาวนิสารัตน์ รอดบุญคง รหัส 06510083
3.นายภาณุพงศ์ ม่วงเขียว รหัส 06510088
4.นางสาวนางสาวหัทยา เพ็ชรอิน รหัส 06510099

Unknown said...

คนที่ 12
นางสาวกาญจนา วรสิงห์ รหัส 06510069
โทรทัศน์ครู ตอน ยุทธจักรนักคิด วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ผู้ประกอบการ
โดยเทคนิคการสอนแบบระดมพลังสมอง (Brainstroming) ที่เน้นกระบวนการคิด
ผู้สอน อ.สมภพ ทองคงหาญ โรงเรียนศรัทธาสมุทร
ซึ่งขั้นตอนการนำเสนอเป็นดังนี้
ขั้นระดมสมอง
1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มจากนั้นตั้งประเด็นปัญหา คือ โดยให้นักเรียนช่วยกันคิดว่าตนเองเป็นผู้ประกอบการ จะทำอย่างไรให้ตนเองไม่ขาดทุนจากการขายดอกไม้ในวันวาเลนไทน์นี้ จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันคิดว่าของที่ระลึกที่จะขายกันกันในวันวาเลนไทน์มีอะไรบ้าง
2. สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดในเวลาที่กำหนด โดยเขียนในลักษณะแผนผังความคิดที่แบ่งเป็นหัวข้อย่อย เช่น หมวดของใช้ หมวดของกิน เป็นต้น ซึ่งครูจะปล่อยให้นักเรียนช่วยกันคิด

Unknown said...

ขั้นตัดสินใจเลือกสินค้า
3. ครูให้นักเรียนตัดสินใจเลือกสินค้าที่กลุ่มตนเองต้องการที่จะขายและเหมาะสมที่สุด โดยการใช้ตารางและมีรางการสินค้า ซึ่งจะมีเกณฑ์การประเมิน เช่น หาง่าย เป็นที่นิยม ต้นทุนไม่สูง เป็นต้น จากนั้นก็จะเรียงลำดับคะแนน จากนั้นนำคะแนนทุกเกณฑ์มารวมกัน เกณฑ์ใดมากที่สุดก็คือการตัดสินใจของกลุ่มร่วมกันที่จะขายสินค้านั้น
ขั้นวางแผนการดำเนินการ
4. ครูจะให้นักเรียนวางแผนกันว่ามีขั้นตอนดำเนินการอย่างไร วันเวลาดังกล่าวทำอะไรที่ไหนบ้าง เป็นต้นตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนที่จะขายสินค้าอะไร จนถึงการขายสินค้า และสรุปผลกำไรและขาดทุน
5. แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตน โดยเริ่มตั้งแต่การตัดสินใจเลือกสินค้า
ขั้นสำรวจสินค้า
6. แต่ละกลุ่มเดินสำรวจสินค้า โดยสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริโภค เพื่อที่จะได้รับสินค้าที่ตรงกับเป้าหมายที่สุดมาขาย จะได้ไม่ขาดทุน จากนั้นดำเนินงานตามขั้นตอนที่วางไว้

Unknown said...

ขั้นจำหน่ายสินค้า
7. นำสินค้าที่ได้ไปจำหน่าย
ขั้นสรุปผลการดำเนินการ
8. นำข้อมูลทั้งหมดมาคำนวณต้นทุนเพื่อหากำไรและขาดทุน จากนั้นนำเสนอข้อมูล
นอกจากครูอ้อยยังให้ น.ส. กาญจนา ไปค้นคว้าเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติม คือ การคิด ทักษะการคิด และกระบวนการคิด ว่าต่างกันอย่างไร แบบไหนเกิดก่อนกัน ซึ่งเพื่อนคนไหนที่ว่างไม่รู้จะทำอะไรสามารถค้นคว้าต่อยอดได้เลยนะครับ ^^

lanee072 said...

สวัสดี โฮสทีม...................^___________^

narma doloh said...

สวัสดีค่ะ Host Team"""........
สัปดาห์นี้เป็นHost Team เองเลย ^^

Unknown said...

Host team ลำดับที่ 11-20 นะคะ(นับลำดับตามคนที่นำเสนอนะคะ)
กลุ่ม Host team (อีกฝั่งหนึ่ง)ประกอบด้วย
1.นางสาวกิตติยา น้อยต้นวงษ์ รหัส 06510070
2.นางสาวนิสารัตน์ รอดบุญคง รหัส 06510083
3.นายภาณุพงศ์ ม่วงเขียว รหัส 06510088
4.นางสาวนางสาวหัทยา เพ็ชรอิน รหัส 06510099
ดังนี้คะ

Unknown said...

13.นางสาว คณาพร ขันธชัย
วิธีสอน : การถามและตอบโดยใช้การแสวงหาความรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์(community of inquiry)
การจัดการเรียนรู้ที่ได้ศึกษาจากโทรทัศน์ครูนี้เหมือน/สอดคล้องกับวิธีสอนหรือการจัดการเรียนรู้แบบใดบ้าง
1.วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process )
2.วิธีการสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
3.วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์ (Community Learning)
ข้อเสนอแนะ
1.ผู้สอนไม่ควรใช้เนื้อหาเป็นเพียงแบบฝึกหัดเท่านั้น
2. ใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงได้มากที่สุด เช่น การพูดดี ทำดี และกระทำดีผู้สอนควรยกตัวอย่างดาราเป็นแบบอย่างแก่ผู้เรียน
3.นำวิธีสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ (Audio-Visual Meterial of Instruction Method) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อที่เป็นการ์ตูนแอนิเมชั่น สีสันสดใส
คำถามของอาจารย์
1.ลักษณะเด่นของวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ที่บ่งบอกว่าครูใน TV.ครูของคุณใช้คืออะไร
2.คุณรู้ได้อย่างไรว่าเขาใช้วิธีการสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)

Unknown said...

17.นางสาว อัจฉรา อยุทธศิริกุล เรื่องรู้เท่าทันอุทกภัย
วิธีการสอน:การสอนแบบอภิปราย ครูประสาร เอี่ยมวิจารย์
การจัดการเรียนรู้ที่ได้ศึกษาจากโทรทัศน์ครูหมือน/สอดคล้องกับวิธีสอนหรือการจัดการเรียนรู้แบบใดบ้าง
1.การใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL
2.เทคนิคระดมสมอง
3.ใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน
ข้อเสนอแนะ

คำถามของอาจารย์
1.problem solving กับ problem based learning เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
2.อธิบายวิธีสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน

Unknown said...

19.นายศุภรัตน์ แดนโคกสูง
การวิเคราะห์การสอนเรื่องการคืนชีวิตใหม่ให้สิ่งแวดล้อม
ขั้นนำ นำโดยการเปิดวีดิทัศน์ ปัญหาโลกร้อน ให้นักเรียนวิเคราะห์สาเหตุ ผลกระทบต่อมนุษย์
ให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามว่าจะแก้ไขได้อย่างไร (ลดภาวะโลกร้อน)
ครูถามนักเรียนว่าชุมชนจะช่วยกันอย่างไร และให้นักเรียนแต่ละคนเสนอความคิดเห็น ต่อมาให้นักเรียนสรุปและช่วยกันจัดทำโครงการ
ให้นักเรียนหาความรู้ในเรื่องฝายแบบต่างๆ และเลือกวิธีที่ดีที่สุด ในที่นี้คือแบบคอกหมูหินทรายซีเมนต์
ให้ลงมือปฏิบัติงานในสถานที่จริง โดยการสำรวจพื้นที่ป่าและดำเนินการสร้างฝาย

สอดคล้องกับวิธีการสอนแบบใดบ้าง
1. วิธีดารของโดเกน
2. เทคนิคการใช้คำถาม
3. เทคนิคการสืบเสาะความรู้
4. เทคนิค การอภิปรายกลุ่ม
5. วิธีการลงสถานที่จริง
*** สังคมศึกษา หมายถึงการเรียนเพื่อหล่อหลอมให้คนเป็นคนดี พัฒนาให้เป็นพลเมืองที่ดีในสังคม
คำถาม
1. โครงงานและโครงการแตกต่างกันอย่างไร
2. ตกลงใช้เทคนิคกิจกรรมอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง
3. ถ้าเราจะสอนภูมิศาสตร์ ฝรั่งนิยมใช้วิธีใด

Unknown said...

คนที่ 11 นางสาวนันทิดา กาสกุล
จากการศึกษาวิธีสอนจากโทรทัศน์ครู ของครูสุคนธ์ เทพณรงค์
โรงเรียนดีบุกวิทยายน เรื่อง แกะร่อง ท่องรอย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
สรุปได้ว่าผู้สอนใช้วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ โดยใช้สอนในรายวิชาประวัติศาสตร์
 วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน
พบปัญหา และคิดหาวิธีแก้ปัญหาโดยขั้นทั้ง 5 ของวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา และทำความเข้าใจถึงปัญหา
เป็นขั้นในการกระตุ้น หรือเร้าความสนใจให้ผู้เรียนเกิดปัญหา อยากรู้อยากเห็นและอยากทำกิจกรรมในสิ่งที่เรียน
2. ขั้นแยกปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา
ขั้นนี้ผู้สอนและผู้เรียนเรียนช่วยกันแยกแยะปัญหา กำหนดขอบข่ายการแก้ปัญหาและจัดลำดับขั้นตอนก่อนหลังในการแก้ปัญหา
3. ขั้นลงมือแก้ปัญหาและเก็บข้อมูล
เป็นขั้นการเรียนรู้ของผู้เรียนเองโดยการกระทำจริงๆ โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความสามารถที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและแสดงผล
เป็นขั้นการรวบรวมความรู้ต่างๆ จากปัญหาที่แก้ไขแล้ว ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะต้องแสดงผลงานของตน
5. ขั้นสรุปและประเมินผลหรือขั้นสรุปและการนำไปใช้
ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปและประเมินผลการปฏิบัติการแก้ปัญหาดังกล่าวว่ามีผลดีผล เสียอย่างไร แล้วบันทึกเรียบเรียงไว้เป็นหลักฐาน

Unknown said...

คนที่ 11 ต่อ
ข้อดีของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
1. ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและได้ร่วมปฏิบัติงานเป็นทีม
2. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
3. ส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดหาเหตุผลและมีการคิดอย่างเป็นระบบ
คำถาม
1. วิธีการทางประวัติศาสตร์แตกต่างวิธีการสอนประวัติศาสตร์อย่างไร
2. วิธีสอนประวัติศาสตร์คิดอย่างไร
3. การตีความจากหลักฐานเชื่อถือได้หรือไม่

Unknown said...

คนที่ 12
นางสาวกาญจนา วรสิงห์ รหัส 06510069
โทรทัศน์ครู ตอน ยุทธจักรนักคิด วิชาเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ผู้ประกอบการ
โดยเทคนิคการสอนแบบระดมพลังสมอง (Brainstroming) ที่เน้นกระบวนการคิด
ผู้สอน อ.สมภพ ทองคงหาญ โรงเรียนศรัทธาสมุทร
ซึ่งขั้นตอนการนำเสนอเป็นดังนี้
ขั้นระดมสมอง
1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม จากนั้นตั้งประเด็นปัญหา คือ โดยให้นักเรียนช่วยกันคิดว่าตนเองเป็นผู้ประกอบการ จะทำอย่างไรให้ตนเองไม่ขาดทุนจากการขายดอกไม้ในวันวาเลนไทน์นี้ จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันคิดว่าของที่ระลึกที่จะขายกันกันในวันวาเลนไทน์มีอะไรบ้าง
2. สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดในเวลาที่กำหนด โดยเขียนในลักษณะแผนผังความคิดที่แบ่งเป็นหัวข้อย่อย เช่น หมวดของใช้ หมวดของกิน เป็นต้น ซึ่งครูจะปล่อยให้นักเรียนช่วยกันคิด
ขั้นตัดสินใจเลือกสินค้า
3. ครูให้นักเรียนตัดสินใจเลือกสินค้าที่กลุ่มตนเองต้องการที่จะขายและเหมาะสมที่สุด โดยการใช้ตารางและมีรางการสินค้า ซึ่งจะมีเกณฑ์การประเมิน เช่น หาง่าย เป็นที่นิยม ต้นทุนไม่สูง เป็นต้น จากนั้นก็จะเรียงลำดับคะแนน จากนั้นนำคะแนนทุกเกณฑ์มารวมกัน เกณฑ์ใดมากที่สุดก็คือการตัดสินใจของกลุ่มร่วมกันที่จะขายสินค้านั้น
ขั้นวางแผนการดำเนินการ

Unknown said...

คนที่ 12 ต่อ
ขั้นวางแผนการดำเนินการ
4. ครูจะให้นักเรียนวางแผนกันว่ามีขั้นตอนดำเนินการอย่างไร วันเวลาดังกล่าวทำอะไรที่ไหนบ้าง เป็นต้นตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนที่จะขายสินค้าอะไร จนถึงการขายสินค้า และสรุปผลกำไรและขาดทุน
5. แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตน โดยเริ่มตั้งแต่การตัดสินใจเลือกสินค้า
ขั้นสำรวจสินค้า
6. แต่ละกลุ่มเดินสำรวจสินค้า โดยสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริโภค เพื่อที่จะได้รับสินค้าที่ตรงกับเป้าหมายที่สุดมาขาย จะได้ไม่ขาดทุน จากนั้นดำเนินงานตามขั้นตอนที่วางไว้
ขั้นจำหน่ายสินค้า
7. นำสินค้าที่ได้ไปจำหน่าย
ขั้นสรุปผลการดำเนินการ
8. นำข้อมูลทั้งหมดมาคำนวณต้นทุนเพื่อหากำไรและขาดทุน จากนั้นนำเสนอข้อมูล
นอกจากครูอ้อยยังให้น.ส. กาญจนา ไปค้นคว้าเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติม คือ การคิด ทักษะการคิด และกระบวนการคิด ว่าต่างกันอย่างไร แบบไหนเกิดก่อนกัน ซึ่งเพื่อนคนไหนที่ว่างไม่รู้จะทำอะไรสามารถค้นคว้าต่อยอดได้เลยนะครับ ^^

Unknown said...

คนที่ 14 นางสาวพิไลรัตน์ ศรีวิเชียรอำไพ รหัส 06510087
เรื่อง พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการสอน : วิธีสอนแบบโครงการ (Project Method)”
วิธีการสอนของครูนุจรี วาระนัง ใช้วิธีการสอนแบบโครงการ คือ ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำหน้าที่พลเมืองที่ดี รู้จักรับผิดชอบงานร่วมกัน ซึ่งวิธีสอนแบบโครงการจะฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักแก้ปัญหาด้วยความคิดของตนเองและใช้ทักษะกระบวนการคิดสำหรับทำโครงการเพื่อสังคม ซึ่งจะช่วยสร้างประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม นักเรียนจะสามารถฝึกการทำงานร่วมกันในกลุ่มตามที่ได้วางเป้าหมายของโครงการไว้ในเบื้องต้น
วิธีการสอนแบบโครงการของครูนุจรี
1. แบ่งกลุ่มนักเรียนในชั้นเรียนเป็น 4 กลุ่มย่อย โดยคละกันระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิง
2. คุณครูจะแจกแบบฟอร์มการเขียนโครงการเพื่อให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ร่วมกัน รวมทั้งช่วยกันวางแผนการดำเนินงานและกิจกรรมในโครงการร่วมกันตามหัวข้อที่กำหนดไว้เป็นแนวทางในแบบฟอร์มโครงการ นักเรียนทั้ง 4 กลุ่มใช้เวลาประมาณ 20 นาที
3. จากนั้นตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอโครงการที่กลุ่มของตนนั้นมีความประสงค์จะดาเนินงานดังนี้ กลุ่มที่ 1 โครงการจิตอาสาช่วยพยาบาลและเจ้าหน้าที่บริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลของชุมชน , กลุ่มที่ 2 โครงการพัฒนาตลาดของชุมชนให้สะอาด , กลุ่มที่ 3 โครงการเผยแพร่ภัยยาเสพติดสู่น้อง , กลุ่มที่ 4 โครงการพัฒนาฌาปณสถาน
4. ลงมือปฏิบัติตามกิจกรรมโครงการของตนที่ได้วางแผนไว้

Unknown said...

คนที่ 15 นางสาวดวงใจ เปลี่ยนศรี
การสอนภูมิศาสตร์โดยใช้การทัศนศึกษา field trip
ทัศนศึกษาคือการฝึกฝนพัฒนาโดยใช้ประสบการณ์ตรง
หลักการของทัศนศึกษา
— เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
— เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่
— เสริมสร้างและพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ
— เสริมสร้างประสบการณ์อันกว้างไกล
ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในเรื่องที่กำลังศึกษา โดยได้เรียนรู้ตามสภาพ ความเป็นจริง หรือได้เห็นของจริง และยังเป็นการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเกิดความเข้าใจ ประกอบกับเกิดเจตคติและจิตสำนึกอันดีอย่างเห็นคุณค่าต่อสถานที่ที่ได้ไปศึกษา
ประเภทของการสอนการทัศนศึกษา
1. แบ่งตามวัตถุประสงค์
2. แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์
3. แบ่งตามระเบียบว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปศึกษานอกสถานที่ของกระทรวงศึกษาธิการ
4. แบ่งตามระยะทางของการเดินทาง

Unknown said...

คนที่ 15 ต่อ
ประโยชน์และคุณค่าจากการทัศนศึกษา
— สามารถนำไปเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนได้หลายวิชา และหลายระดับชั้น
— ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาที่ศึกษาและความหมายได้ดียิ่งขึ้นในลักษณะที่เป็นความรู้ที่คงทนถาวร
— สามารถเปลี่ยนทัศนคติให้เป็นทัศนคติที่พึงประสงค์ เช่น สามารถปลูกฝังเยาวชนให้หวงแหน ภาคภูมิใจ และรักษาศิลปวัฒนธรรมของชาติ
— ช่วยสร้างความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ช่วยสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน
— ฯลฯ
องค์ประกอบสำคัญของวิธีการสอนด้วยการทัศนศึกษา
— 1. มีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในเรื่องวัตถุประสงค์ สถานที่ การเดินทาง เรื่องที่จะศึกษา วิธีการศึกษา ค่าใช้จ่าย กำหนดการเดินทาง และหน้าที่ความรับผิดชอบ
— 2. มีการเดินทางออกไปยังสถานที่เป้าหมายซึ่งอยู่นอกโรงเรียน หรือนอกสถานที่ ที่เรียนกันอยู่เป็นปกติ
— 3. มีกระบวนการในการศึกษาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้จากในสถานที่นั้น
— 4. มีการสรุปผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการไปทัศนศึกษา
ขั้นตอนการสอน
— 1. ขั้นก่อนการไปทัศนศึกษานอกสถานที่
- วางแผน เตรียมการการเดินทาง วิธีการศึกษา ค่าใช้จ่าย กำหนดการเดินทาง และหน้าที่ความรับผิดชอบ
— 2. ขั้นระหว่างการศึกษานอกสถานที่
- เมื่อไปยังที่หมาย ผู้เรียนศึกษาสิ่งต่างๆ ตามกระบวนการที่วางแผนไว้
— 3. ขั้นหลังจากการทัศนศึกษานอกสถานที่
- สรุป อภิปราบผลการศึกษา ว่าบรรลุจุดมุ่งหมายเพียงใด
เทคนิคการสอน
— 1. การวางแผน
— 2. การเดินทางไปทัศนศึกษา
— 3. การศึกษาในสถานที่เป้าหมาย
— 4. การเดินทาง และสรุปบทเรียน
— ข้อควรระวังในการจัดทัศนศึกษา
— - การจัดทัศนศึกษานั้นๆ ตรงกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรหรือไม่
— - ผลที่ได้รับคุ้มค่ากับการเสียเวลา ค่าใช้จ่าย การเสี่ยงต่อความปลอดภัย
— มากน้อยเพียงไร

คำถาม การทัศนะศึกษามีทักษะที่จำเป็นอะไรบ้าง

Unknown said...

คนที่ 18 ต่อ
คำแนะนำสำหรับกิจกรรมบูรณาการ
ครูควรมีการวางแผนให้รอบคอบในหารจัดกิจกรรม
สิ่งสำคัญในการสอนโดยวิธีนี้
• ครูจะต้องมีการวางแผน โดยใช้คำถามเรียกข้อมูล/ความจำของนักเรียนและคำนึงถึงความสามารถของนักเรียนเป็นสำคัญ
• ครูต้องเป็นผู้นำที่ดี เพื่อให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับรายวิชาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี
• การสร้างความทรงจำร่วม เพื่อให้อยากรู้และหาคำตอบ
• ออกแบบกิจกรรมควรใช้เวลาเหมาะสม
• ครูจะเป็นผู้กระตุ้นโดยการเสริมแรงทางบวก เช่น มีของรางวัลต่างๆ
• มีการติดตามผลงาน โดยช่วยเหลือ ไขข้อสงสัย แนะนำ สรุปผล และให้นักเรียนมีส่วนร่วม
• นักเรียนลงมือทำ เช่นเป็นผู้ร่วมเดินทาง, นักสืบ, ทำงานเป็นทีม
• การใช้วิธีเหล่านี้จะทำให้เป็นเด็กช่างสังเกตมีใช้จินตนาการ จากการพบเจอด้วยตนเอง
• จุดประสงค์หลัก เพื่อให้นักเรียนไม่เกิดความสับสนกับจุดประสงค์ในการมาทัศนศึกษา
คำถาม
• ทำไมถึงบูรณาการแบบคู่ขนาน (ทั้ง 3 วิชา นั้นมีจุดประสงค์ร่วมกันและเป็นการบูรณาการแบบในสาระ)
• มนุษยศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมศาสตร์ มีความหมายอย่างไร
• สังคมศึกษาคือ การหล่อหลอมเพื่อพัฒนาตนให้เป็นพลเมืองดีในสังคม

Unknown said...

คนที่ 20 นายศุภกิจ กำลังคลี่ (ฮูลู) รหัส 06510098
โทรทัศน์ครู สังคมศึกษา โลกยุคโบราณ (Using Museum) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การทัศนศึกษา
การจัดการเรียนรู้ที่พบคือ การจัดการเรียนรู้โดยการจัดทัศนศึกษาและการแสดงบทบาทสมมุติ โดยแสดงในเรื่องของการทำมัมมี่
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
1. ครู (อาจารย์แกเรต โรเจอร์ส จากโรงเรียนมัธยมเวเทอร์เฮด) จะพานักเรียนไปทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์โลกในเมืองลิเวอร์พูล เพื่อนำเข้าสู่วิชาประวัติศาสตร์ระดับมัธยมต้น จากคาบเรียนหัวข้อเกี่ยวกับอียิปต์เป็นเวลา 1 วัน โดยใช้ประโยชน์จากบรรดาของสะสมในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างเต็มที่
2. ครูสั่งให้นักเรียนนำกล้องถ่ายรูปมาทำงานด้วยโดยที่ครูจะไม่บอกว่าต้องถ่ายอะไร แต่นักเรียนจะต้องทำรายงานเมื่อกลับที่โรงเรียนในวันรุ่งขึ้น และจะให้เวลา 1 คาบในการทำงานว่าได้เรียนรู้อะไรและเรียนรู้อย่างไร จากนั้นนำเสนอเป็น PowerPoint
3. ครูอธิบายจุดประสงค์ของการมาทัศนศึกษาเพื่อไม่นักเรียนคิดว่านี่คือการมาเที่ยว

Unknown said...

คนที่ 20 ต่อ
4. ครูพานักเรียนมาชมพิพิธภัณฑ์ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาไปดูขั้นตอนการทำมัมมี่ ซึ่งจะมีการจำลองเหตุการณ์ของการทำมัมมี่เสมือนจริงให้กับนักเรียนได้ดู และให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำมัมมี่ผ่านกิจกรมบทบาทสมมุติ
5. นักเรียนส่งตัวแทนไปทำมัมมี่ ซึ่งในการลงมือปฏิบัตินี้จะทำให้นักเรียนเห็นภาพจริงของการทำมัมมี่และสามารถจดจำได้นาน
6. ครูให้นักเรียนไปชมพิพิธภัณฑ์อนุรักษ์โบราณวัตถุ นักเรียนจะได้ฝึกการเขียนอักษรเฮียโรกลิฟฟิค และผลิตเป็นของที่ระลึกและนำกลับไปบ้านด้วย
7. วันรุ่งขึ้นนักเรียนก็ได้รวมกลุ่มกันทำ PowerPoint เพื่อสรุปงานของตนเองหลังจากได้ไปเรียนรู้ที่พิพิธภัณฑ์แล้ว
8. นักเรียนนำเสนอผลงานของตนเองจากนั้นร่วมกันสรุปกิจกรรม

Suparat_First said...

คนที่ 21 นายยุทธศิลป์ แปลนนาค(ต่อ)
การพัฒนาวิธีการสอน
1. การแบ่งกลุ่มผู้เรียนควรมีการคละความสามารถของผู้เรียน
2. ข้อจำกัดของการให้ผู้เรียนเสนอเรื่องที่สนใจในท้องถิ่น
3. การให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มไปแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ต้องอาศัยค่าใช้จ่าย
4. การตรวจสอบข้อมูลที่ผู้เรียนจะออกมานำเสนอ
5. ควรมีการสรุปความรู้เช่นการถามตอบ การให้ผู้เรียนเล่าเรื่องคร่าวๆ ของเรื่องที่ได้ไปศึกษา
6. ผู้สอนควรให้แนวคิดแก่ผู้เรียนเกี่ยวกับการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
นอกจากนี้นายยุทธศิลป์ยังได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกระบวนการสืบเสาะกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งแตกต่างกันตามวิธีการและขั้นตอนในแต่ละลำดับขั้น
ต่อมาได้พูดถึงประโยชน์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ดังนี้
1. พัฒนากระบวนการคิดระดับสูง
2. การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3. ให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกสังเกต ฝึกถาม-ตอบ ฝึกการสื่อสาร ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการฝึกนำเสนอ ฝึกวิเคราะห์วิจารณ์ ฝึกสร้างองค์ความรู้
4. ครูเป็นผู้กำกับ ควบคุม ดำเนินการให้คำปรึกษา ชี้แนะ ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ เป็นผู้กระตุ้นส่งเสริมให้ผู้เรียนคิด
ในหัวข้อสุดท้ายนายยุทธศิลป์ได้พูดเกี่ยวกับข้อจำกัดของกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ได้แก่
1. สถานการณ์ที่ครูสร้างขึ้นไม่ทำให้น่าสงสัยแปลกใจ จะทำให้นักเรียนเบื่อ
2. ครูมุ่งควบคุมพฤติกรรมของนักเรียนมากเกินไป
3. ศักยภาพของผู้เรียนไม่เท่ากัน

narma doloh said...

โอโห อ่านการเทคนิควิธีสอนหรือรูปแบบเรียนการสอนที่เพือนๆ ได้เลือก น่าสนใจทุกคนเลยนะ สามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้ โดยเฉพาะของต่างชาติ น่าสนใจจริงๆ
^___^

lanee072 said...

สวัสดีคครับ กลุ่ม Host team วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556
เรื่อง รายงานวิธีสอนที่ได้ศึกษาจากโทรทัศน์ครู (คนที่21-30)ปะ?
กลุ่ม Host team ประกอบด้วย (ฝั่งประตูเข้าห้องเรียน)
1.นายศุภรัตน์ แดนโคกสูง รหัส 06510095
2.นางสาวกาญจนา วรสิงห์ รหัส 06510069
3.นางสาวคณาพร ขันธชัย รหัส 06510072
4.นางสาวนัรมา ดอเลาะ รหัส 06510335
5.นางสาวจิรายุ คงดี รหัส 06510074
6.นางสาววรษมน จรุงจิต รหัส 06510079

lanee072 said...
This comment has been removed by the author.
lanee072 said...
This comment has been removed by the author.
lanee072 said...
This comment has been removed by the author.
lanee072 said...
This comment has been removed by the author.
lanee072 said...

สำหรับคณาพร ขันธชัยขอนำเสนอการรายงานของ ...หนุ่มเสียงเข้มมมม
คนที่ 24 นายเผ่าไทย เสียงแจ่ม (แจ่มมากกก)
หัวข้อสำคัญ คือ 1.รูปแบบการสอน ของนายผ่าไทย คือ เป็นการรวมไอเดียการสอนสาระภูมิศาสตร์ : ประชากร อาชีพ และระบบนิเวศ ระดับมัธยมศึกษา จากอาจารย์ 3 คน แต่ 4 เรื่องที่สอน คือ...คนที่1 สอนเรื่อง ภาวะประชากร การการอพยพย้ายถิ่นและการตั้งถิ่นฐาน
คนที่2 สอนเรื่อง งานและการจ้างงาน
คนที่3 สอนเรื่อง สัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของประชากร

2.เทคนิค/วิธีสอนที่สอดคล้อง
คนที่1 สอนเรื่อง ภาวะประชากร การการอพยพย้ายถิ่นและการตั้งถิ่นฐาน มีเทคนิค/วิธีสอนที่สอดคล้อง คือ
1. ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
2. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง
3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง
และ4. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยผนวกรวมเข้าในกิจกรรมส่วนนี้มีชื่อว่า ห้องเรียนเคลื่อนที่”ที่เป็นการเรียนผ่านกิจกรรมกระตุ้นการมีส่วนร่วมและใช้ความสามารถตนเอง

คนที่2 สอนเรื่อง งานและการจ้างงาน มีเทคนิค/วิธีสอนที่สอดคล้อง คือโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบการเสวนาบทบาทสมมติ
**สรุปมี 3 วิธีสอน
1.การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
2.การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมติ
3.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

คนที่3 สอน2 เรื่องคือ....1.ภาวะเปลี่ยนแปลงประชากร : การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม ส่วนเรื่องที่2. ระบบนิเวศใช้วิธีสอนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง

3.ข้อเสนอแนะ --การนำมาใช้อาจต้องคำนึงถึงบริบทและศักยภาพของตัวนักเรียนที่แตกต่างของอังกฤษและไทยนักเรียนไทยยังขาดความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ด้วยตนเองการขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมในชั้นเรียนการต่อยอดกระบวนการเรียนรู้จึงต้องเป็นบทเรียนส่วนที่ง่ายกว่านี้ หรือใช้จัดการเรียนการสอนให้ตรงกับช่วงชั้นอย่างเหมาะสม

4.คำถามเพิ่มเติมของอาจารย์ ค่ะ ^___^--เนื้อหาที่เผ่าไทยนำเสนอ มีสาระดีมาก โดยเทคนิคการสอนดังกล่าวที่เผ่าไทยนำเสนอมีชื่อว่า"เทคนิคการสอนการแก้ปัญหาในอนาคต"--ซึ่งเป็นการที่ครูสอนโดยสมมติ อย่างนั้น อย่างนี้ และให้เด็กคาดการณ์และคิดตามไปล่วงหน้าเลย ดังนั้น อ.อรพิณ จึงฝากให้เผ่าไทยหารายละเอียด/เนื้อหาเกี่ยวกับเทคนิควิธีสอนดังกล่าว ว่า ....เป็นยัง ใครเขียน ถือเป็นวิธีสอนที่เป็นการตั้งคำถาม In the future [เทคนิคการทำนายในอนาคต]...พยายามให้เด็กคิดไปข้างหน้าน่านนนนนนเอง*-*

lanee072 said...

คนที่25 คือนายวิเชียร ภคพามงคลชัย หนุ่มหล่อสไตล์เกาหลี อิอิ นำเสนอการสอนพุทธประวัติ รายวิชา พระพุทธศาสนา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งใช้การสร้างองค์ความรู้โดยเทคนิค"การสร้างสื่อการสอนด้วยตนเอง" ของคุณครูอุทุมพร มุลพรม โรงเรียนวัดทุ่งมน

2. วิธีสอน เป็นการเีรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้เป็นการรับรู้จากสิ่งที่เรียนได้มากกว่าการรับฟัง และยังได้ฝึกปฎิบัติจริง ซึงมีเทคนิคดังที่ครูอุทุมพรใช้นั้น คือ การทำป๊อปอัพ คุณครูสอนเรื่อง พุทธประวัติ ครูก็จะไปหารูปภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติมาให้เด็ก ๆ คนละ 1 ภาพ ไม่ซ้ำกัน ครูจะสอนให้ทำ pop up จากนั้นครูก็จะรวบรวมภาพของทุก ๆ คน นำมารวมกันเป็นเล่ม เป็นหนังสือเรียน เรื่อง พุทธประวัติ ที่เด็กๆ ทุกคนในห้องช่วยกันทำ 1 เล่ม จากนั้นให้เด็กออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนๆฟัง

lanee072 said...

นายวิเชียร ภคพามงคลชัย หนุ่มหล่อสไตล์เกาหลี อิอิ(ต่อ)
สรุปได้ว่า.....มีวิธีสอน ได้แก่
1. วิธีสอนแบบบรรยาย ครูจะบรรยายวิธีการเรียนพุทธประวัติโดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ เป็นการศึกษาพุทธประวัติโดยการสร้างสื่อการเรียนรู้ (ป๊อปอัพ)
2. วิธีสอนแบบอภิปราย ให้นักเรียนออกมานำเสนอผลงาน อภิปรายเรื่องพุทธประวัติให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนฟัง
3. วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method) วิธีการนี้ผู้สอนจะให้ผู้เรียนทำภาพพุทธประวัติจากนั้นก็ให้นักเรียนศึกษาพุทธประวัติตามภาพที่ตนได้ แสดงว่านักเรียนต้องศึกษาเรื่องราวพุทธประวัติตอนนั้นๆ ด้วยตนเอง
4. การสอนแบบบูรณาการ คือ นำวิชาศิลปะมาบูรณาการกับพระพุทธศาสนา และฝึกฝนการอ่านจากเรื่องพุทธประวัติซึ่งถือได้ว่าเป็นการบูรณาการวิชาภาษาไทยอีกด้วย

lanee072 said...

3.ข้อเสนอแนะ
1. ผู้สอนสามารถขยายขอบข่ายการศึกษาเรื่องราวอื่ๆนนอกจากพุทธประวัติได้
2.ผู้สอนสามารถเปลี่ยนแปลงวัสดุการทำป๊อปอัพให้มีความคงทนแข็งแรงได้
3.ผู้สอนต้องควบคุมการทำกิจกรรมของผู้เรียนให้ดี เนื่องอาจเกิดอันตรายจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คัตเตอร์ กรรไกร เป็นต้น
4. ผู้สอนควรมีการสรุปเนื้อหาโดยรวม เพื่อเป็นการเน้นย้ำความรู้ความเข้าใจที่ผู้เรียนออกมานำเสนอ หรืออาจมีการให้แนวคิดกับผู้เรียนที่จะนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด

4.คำถามของอาจารย์อรพิณ ค่ะ
อาจารย์กล่าวเพิ่มเติมว่า...ครูอุทุมพร เน้น"สื่อทำมือ" ถือเป็นการสอนแบบผสมผสานวิธี (blended learning)เกิดจากการนำเทคโนฯผสมกันตั้งแต่ 2 สื่อขึ้นไป จากที่ครู--->สื่อ Off-line (สื่อทำเอง)
ซึ่งอ.อรพิณถามและฝากให้วิเชียรหาข้อมูลเพิ่มเติม จากคำถามต่อไปนี้ว่า....การสอนแบบผสมผสานวิธีนั้น เป็นอย่างไร ทำอย่างไร แบ่งเป็นอะไรบ้าง...และที่ครูอุทุมพรใช้นั้น เป็นประเภทใด?คะ*-*

Unknown said...

ตกไปหนึ่งคน คนที่ 16 นะคะ
ลัดดาวัลย์ สุขศิลป์
เรื่อง ทัศนคติต่อศรัทธาอื่นๆ
KS3/4 RE : Christian Ethics: Attitudes to Other Faiths
โดยครูแอน เฟย์เทอร์ โรงเรียนสตรีมัลเบอร์รี
โรงเรียนสตรีมัลเบอร์รี เป็นโรงเรียนที่ผู้เรียนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีครูแอน เฟย์เทอร์ เป็นหัวหน้าร่วมภาควิชา ศาสนศึกษา แอนใช้กลวิธีการเรียนรู้ด้วยภาพ พัฒนาความเข้าใจมุมมองของชาวคริสต์ในด้านทัศนคติที่มีต่อความศรัทธาของศาสนาอื่น เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับนักเรียนชั้น ม. 5 เรื่องความปรองดองในสังคม
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
1. ผู้สอนถามคำถามผู้เรียนเกี่ยวกับความเชื่อด้านศาสนาคริสต์ โดยคำถามคือ
— - ชาวคริสต์มีทัศนคติต่อศาสนาอื่นอย่างไร
— - ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาเดียวที่เป็นจริง ใช่หรือไม่
— - เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติของชาวคริสต์หรือไม่
2. จากนั้นผู้สอนอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจถึงทัศนคติของผู้อื่น โดยอธิบายว่าทุกๆ คนย่อมมีความคิดที่แตกต่าง เนื่องจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย
3. ผู้เรียนแบ่งกลุ่มกัน และร่วมกันอธิบายทัศนคติจากคำถามที่ได้ “ศาสนาคริสต์เป็นจริงหรือไม่ ศาสนาใดเป็นจริง (ความคิดปิดกั้นหรือความคิดเปิดกว้าง) ชาวคริสต์มีทัศนคติอย่างไรต่อศาสนาอื่น” โดยอธิบายเป็นรูปภาพ
4. ผู้เรียนอธิบายแผนภาพของตนเองต่อเพื่อนกลุ่มอื่น โดยให้เพื่อนในกลุ่มใหม่คัดลอกภาพที่ได้ลงในสมุด พร้อมฟังการอธิบายภาพ
5. จากกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนนี้ให้ผู้เรียนเข้าใจ และยอมรับความคิดของผู้อื่น และให้เข้าใจว่าชาวคริสต์มีทั้งความคิดที่ปิดกั้น และความคิดที่เปิดกว้าง เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดของผู้อื่น

Unknown said...

16 ต่อนะคะ
ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้
1. ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนลักษณะนี้ ผู้เรียนจำเป็นต้องมี พื้นฐานความรู้ในเรื่องศาสนาที่จะศึกษาดีพอสมควร เพื่อให้สามารถอธิบายเนื้อหาออกมาได้อย่างชัดเจน และบรรลุจุดประสงค์ของการเรียน
2. ผู้สอนต้องสามารถคุมสถานการณ์ในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี
3. ผู้สอนควรเป็นผู้มีความรู้ และมีใจที่เปิดกว้าง เพื่อให้สามารถอธิบายและสรุปกิจกรรมได้อย่างไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนเกินไป

narma doloh said...
This comment has been removed by the author.
narma doloh said...

ลำดับที่ 26 นายวรงค์กร บัวสมบูรณ์
เรื่อง ลำดับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ KS3/4 Geography : Climate Change Time-Line
รูปแบบการใช้กิจกรรม
เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบานการทำงานกลุ่ม ตัวปัญหาจะเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการเรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผล และการสืบค้นหาข้อมูลเพื่อเข้าใจกลไกของตัวปัญหา และสามารถหาแนวทางการแก้ปัญหา
ปัญหาหลัก
“ปัญหาชีวิตในอดีตและในอนาคตเป็นอย่างไร”
การนำเข้าสู่บทเรียน
นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับการพูดที่แปลกๆ และการใช้คำถามเป็นการกระตุ้นผู้เรียน
ขั้นสอน
1. แจกข้อความที่เป็นบันทึกโดยให้ผู้เรียนพิจารณาวิเคราะห์และตัดสินใจว่าเป็นอดีตหรืออนาคต หลังจากที่เด็กได้เรียงและว่าอันไหนเป็นอดีต อนาคต แล้วถามว่าทำไม? อย่างไร? ทำให้เด็กรู้ว่าในอดีตมีอากาศดีมากๆ ส่วนในอนาคตจะเป็นอากาศแบบแย่ เช่น องุ่นในอังกฤษ อนาคตอาจปลูกไม่ได้
2. สอบถามข้อสรุปของแต่ละกลุ่มและให้เหตุผลกับข้อตัดสินนั้น ทำให้นักเรียนเกิดความตระหนักถึงโลกในอนาคต
ขั้นสรุป
กิจกรรม คือ ให้นักเรียนเขียนภาพเพื่อบรรยายสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต แล้วนำเสนอผลงาน หลังจากนั้นครูพยายามพูดชี้นำให้นักเรียนเกิดเจตคติที่ดีในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก
แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ นักเรียนวาดภาพ เช่น เราอยากให้โลกในปี 2010 2020 เป็นอย่างไรแล้วเขาก็ให้ออกมานำเสนอ หลังจากนั้นครูผู้สอนยังให้มีการวาดเท้า คาร์บอนฟุตลิงค์ วาดรอยเท้าของตัวเอง ซึ่งตั้งประเด็นว่า “นักเรียนจะทำอย่างไรกับอนาคตปี 2010” เราจะตั้งใจทำเพื่ออนาคตอย่างไรผู้สอนใช้คำถามให้ผู้เรียนคิดต่อว่า “สุดท้ายแล้ว ใครรู้สึกบ้างว่า ปี 2020 จะเป็นเวลาที่เราจะอยู่ด้วยกันได้ดี”

narma doloh said...

ข้อเสนอแนะ (ต่อ)
o ผู้สอนต้องวางแผน เตรียมการสอนและเตรียมสื่อต่างๆ ให้พร้อม อย่างดีมากๆ เพราะขั้นตอนเยอะมาก
o ผู้สอนต้องมีอารมณ์ร่วม (พยายามเลียนแบบเสียงเหมือนในภาพยนตร์) เพื่อดึงดูดความสนใจ
o ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างเยอะ และต้องเตรียมแผนสำรองหากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ใช้ไม่ได้
o ผู้สอนต้องควบคุมเวลาให้ดี

ขั้นบูรณาการ ต่อยอดยังไง
• สามารถนำไปปรับใช้ในสาระหรือรายวิชาอื่นๆได้ เช่น การนำไปบูรณาการกับสาระประวัติศาสตร์ โดยใช้บันทึกในช่วงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นประวัติศาสตร์ไทยที่เป็นสิ่งที่ใกล้กับตัวเด็ก ก็จะเป็นการเรียนรู้ทั้งในสาระภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์
• สามารถนำวิธีสอนในลักษณะนี้ที่ใช้ปัญหาทางประวัติศาสตร์และปัญหาในอนาคตไปใช้ในสาระอื่นๆ เช่น หน้าที่พลเมือง ที่อาจจะนำปัญหาความขัดแข้งในอดีตมาสร้างเจตคติที่ดีให้กับเด็ก

narma doloh said...

คนที่ (26) ปริวาส เรื่อง อีตฮอย อาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
วิธีสอนแบบโครงงาน

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ให้นักเรียนออกไปสำรวจและบอกว่าในแต่ละที่มีอะไรที่เด่นๆ แล้วโหวต
จากนั้น ลงพื้นที่แล้วออกไปสำรวจ เช่นสำรวจการทำธูปหอมไล่ยุง
หลังจากที่นักเรียนได้พบปราชญ์ชาวบ้านหรือสำรวจพื้นที่แล้ว ผู้สอนให้ทุกคนมาสรุปผล ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
การสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
แบ่งกลุ่มออกไปทำงานและลงพื้นที่

ประโยชน์
ได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
ข้อเสนอแนะ
เขามีนักเรียนน้อยคน อาจให้ทุกคนได้มีสิทธิไปออกทำกิจกรรม สามารถไปทำได้ทุกคน

*****ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากอาจารย์อ้อย
สรุปว่ามันเป็นโครงงานหรือเป็นโครงการกันแน่ ภูมิปัญญากับภูมิปัญาพื้นบ้านต่างกันยังไง ไปศึกษามาโดยตรง เขาใช้แบบไหน กระบวนการเป็นยังไง
ตกลงว่า เป็นโครงงานหรือโครงการ

Cherry kiss077 said...

ช่วยให้อ่านสอบได้อย่างสบายเลย โย่ว!!

ขอบคุณสำหรับ Host team ที่ช่วยกันทำงานอย่างดี และเสียสละเวลาส่วนตัว ช่วยให้เพื่อนๆ ได้ทบทวนกันก่อนสอบ ^^*

Suparat_First said...

โพสไม่ติด
Host team สรุปลำดับที่ 21-30 ได้แก่
1. นายศุภรัตน์ แดนโคกสูง
2. นางสาวกาญจนา วรสิงห์
3. นางสาวคณาพร ขันธชัย
4. นางสาวนัรมา ดอเลาะ
คนที่ 21 นายยุทธศิลป์ แปลนนาค รหัส 06510090 ได้วิเคราะห์โทรทัศน์ครูเรื่อง หน้าที่พลเมือง ของคุณครูวีรนุช สรารัตนกุล โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคมโดยใช้วิธีสอนแบบ "การสืบเสาะหาความรู้” ซึ่ง Host team ได้สรุปขั้นตอนกิจกรรมการสอนดังนี้
1. ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการใช้ข่าว และตั้งคำถาม
2. ผู้เรียนนิยามความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน จากนั้นผู้สอนสรุปความหมายของคำ
3. ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม แล้วอภิปรายร่วมกันว่ามีความสนใจจะศึกษาพลเมืองดีของท้องถิ่นตนเรื่องใด (เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนทุกคนออกมา)
4. ผู้เรียนนำเสนอหัวข้อที่กลุ่มตนเองสนใจ จากนั้นให้ผู้เรียนทุกคนร่วมกันเลือกศึกษาเรื่องใดเพียงเรื่องเดียว
5. ผู้เรียนเลือกแหล่งการเรียนรู้ที่ตนจะไปศึกษาค้นคว้า
6. สมาชิกแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง
7. ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ
8. ผู้เรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
9. สรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษา

narma doloh said...

คนที่ 27 นางสาวชญาพรธุระทอง การศึกษาแบบการวิเคราะห์บทเรียน (Listen Review)
ให้นักเรียนสืบหาข้อมูลด้วยตนเอง แล้วนักเรียนออกไปหาข้อมูล ไปสัมภาษณ์ เป็นการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชั้น ป. 6

การจัดกิจกรรม
เป็นการจัดการการเรียนการสอนที่ครูผู้สอนให้เด็กสืบค้นด้วยตนเอง จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนในอดีต ซึ่งในที่นี้เป็นหญิงชรา 5 คน ที่เคยทำงานอยู่ในชุมชนแห่งนี้เมื่อ 50 ปีที่แล้ว (รูปแบบการสอนนี้ครูผู้สอนได้ให้ผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์บทเรียนว่าเหมาะสมหรือไม่ เป็นการประเมินวิธีสอน)
ก่อนจะเริ่มเรียน ผู้สอนจะให้เด็กๆ กำหนดจุดประสงค์ด้วยตนเอง ว่าวันนี้นักเรียนควรจะได้อะไรจากชั่วโมงนี้ ซึ่งผู้สอนจะมีการนัดหญิงชราเพื่อให้เด็กๆ ได้มีการสัมภาษณ์ โดยจะมีห้องให้เด็กๆ เข้าไปสัมภาษณ์หญิงชรา ทั้งนี้ผู้สอนจะให้เด็กๆ ตั้งประเด็นคำถามเอง และในขณะเดียวกันเด็กๆ ก็จะบันทึกข้อมูลด้วยกล้องวิดิโอ หรือกล้องถ่ายรูป โดยการศึกษานี้จะอยู่นอกเหนือจากหลักสูตร เนื่องจากความรู้ที่เด็กได้รับ จะเป็นความรู้จากประสบการณ์ตรงของผู้ที่เคยใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจริงๆ และเนื่องจากหญิงชรา 5 คนต่างก็มีมุมมองต่อสังคมที่ต่างกัน จะทำให้เด็กได้รับข้อมูลที่แปลกใหม่ในหลายๆด้าน
นอกจากการสัมภาษณ์ ครูใช้ภาพถ่ายเป็นตัวจุดประเด็นสำคัญ มีทั้งภาพที่ครูผู้สอนเอามาให้ และหญิงชราเอามาให้ (เป็นการดึงความทรงจำร่วม) เด็กๆ จะสนใจในภาพถ่าย และจุดประกายความคิดให้เด็กมีความใฝ่รู้และเกิดประเด็นคำถามใหม่ๆ หลังจากนั้นเมื่อกระบวนการเรียนรู้จบลง เด็กๆ จะนำภาพที่บันทึกได้ไปตัดต่อ และสรุปสิ่งที่ได้รับนำเสนอออกมาในรูปแบบของ Power Point หลังจากจบกิจกรรมทั้งหมด ผู้สอนจะให้เด็กๆมาร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในครั้งนี้

«Oldest ‹Older   1 – 200 of 213   Newer› Newest»