Tuesday, February 5, 2013

ครั้งที่ 6/2555 ตอบคำถามตามประเด็นที่ได้ถามไว้ของแต่ละคน

หากนักศึกษาคนใดที่ครูได้ตั้งคำถามหรือให้ไปสืบค้นเพิ่มเติม ขอให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนข้อมูลที่ไปสืบค้นมาลงในกล่องข้อความที่กำหนดให้นี้ด้วย หากไม่เขียนในกล่องข้อความนี้ถือว่ายอมรับคะแนนที่ครูได้ให้ไปแล้ว

68 comments:

Unknown said...

- นักศึกษาคิดว่าสื่อ 3 มิติใช้ในการเรียนร่วมกับสาระใดได้อีก
สาระภูมิศาสตร์ สาระประวัติศาสตร์
- แล้วผู้สอนควรนำสื่อไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนในขั้นใด
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อดึงดูดความสนใจผู้เรียน ให้มาสนใจในบทเรียน เช่น ลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศไทย อาจจะมีการใช้สื่อสามมิติ แล้วถามผู้เรียนว่า ภาพนี้คืออะไร เคยเห็นที่ไหน เป็นต้น
-สื่อสามมิติ ควรนำใช้วิธีการสอนใด
การใช้กรณีตัวอย่าง โดยนำเสนอกรณีตัวอย่างจากสื่อสามมิติ

Supawan said...

1. หากนำวิธีสอน Cooperative Learning ไปใช้กับวิธีสอนโทรทัศน์ครู เรื่อง Citizenship – Establishing Communities (หน้าที่พลเมือง – การสร้างชุมชน) สามารถนำไปใช้ร่วมกับเทคนิคต่างๆ ได้อย่างไร
ตอบ ครูอาจให้นักเรียนเข้ากลุ่ม โดยคละความสามารถเพื่อช่วยเหลือกันเรียนรู้ แต่สำหรับเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนแบบ Cooperative Learning ข้าพเจ้าคิดว่าไม่มีรูปแบบใดเหมาะสม เช่น เทคนิค Jigsaw เพราะการเรียนในคาบเน้นการศึกษาความรู้ในรูปแบบอุปนัยที่ไม่ได้นำทฤษฎี แต่เน้นคำถามในสถานการณ์ต่างๆ ให้นักเรียนค้นพบความรู้ในแต่ละกลุ่ม จึงไม่สามารถกำหนดกลุ่มผู้เชียวชาญในเรื่องต่างๆได้ เทคนิค STAD ก็เช่นกันที่ต้องมีการทดสอบย่อย ของแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนพัฒนาการกลุ่ม ซึ่งคำถามที่ใช้ในกิจกรรมเน้นการอภิปรายหาข้อสรุปที่ดีร่วมกันร่วมกันในสถานการณ์ต่างๆที่จะนำไปสู่ความคิดรวบยอด และสำหรับเทคนิค TGT ก็ไม่เหมาะเช่นกัน เพราะไม่สามารถแยกย้ายสมาชิกไปแข่งขันทดสอบความรู้

Supawan said...

2. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method) มีรูปแบบการสอนที่มีลักษณะเด่นอย่างไร และเกี่ยวข้องกับรูปแบบการสอนเรื่องที่นักศึกษายกมาจริงหรือ
ตอบ รูปแบบการสอนแบบค้นพบเน้นการให้นักเรียนค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นเพียงผู้สร้างสถานการณ์ให้นักเรียนเผชิญปัญหาและให้คำแนะนำ โดยการเน้นให้นักเรียนใช้เหตุผล คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ จากการสอนในคาบ : ครูนำสถานการณ์จำลองการสร้างเมืองบนเกาะร้างมาให้นักเรียนแก้ปัญหา อย่างเป็นลำดับ หากนักเรียนแก้ปัญหาสถานการณ์หนึ่งได้ก็จะนำไปสู่สถานการณ์ต่อไป เช่น ปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้างเมือง, ลำดับสิ่งที่ต้องทำก่อนหลังในการสร้างเมือง/ชุมชน, การอยู่ร่วมกันในชุมชนของสมาชิก, การเลือกผู้นำชุมชน ซึ่งอาศัยการอภิปรายกลุ่ม และนำมารายงานหน้าชั้น คำตอบไหนมีเหตุมีผล และคิดวิเคราะห์ ได้เหมาะสมถูกต้องกว่า ก็จะถูกนำมาใช้ จนขั้นสุดท้าย นักเรียนทุกกลุ่มจะค้นพบบทสรุปของตนเอง ว่าสิ่งสำคัญในการสร้างชุมชนเข้มแข็งนั้นคือ ความร่วมมือของสมาชิก

adshara said...

คำถามข้อ 1 วิธีสอนแบบ Problem Solving Method กับ วิธีสอน Problem Based Learning มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
วิธีสอนทั้งสองรูปแบบนั้นมีความเหมือนกันตรงที่เป็นการสอนให้ผู้เรียนรู้จักการแก้ไขปัญหา แต่กระบวนการแก้ไขปัญหาของ Problem Solving Method จะสิ้นสุดด้วยการที่ปัญหานั้นได้รับการแก้ไข แต่ PBL จะเป็นการเรียนรู้การแก้ไขปัญหา และแนวทางว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหานั้นขึ้นอีก การเรียนรู้แบบ PBL จะมีลักษณะการเรียนรู้ที่ไม่จนมุมกับปัญหา การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อีกจากปัญหานั้นหรือปัญหาใหม่ที่ตามมา Problem Solving Method จึงเป็นส่วนหนึ่งใน PBL สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ ใน PBL จะมี problem solving แต่ problem solving ไม่มี PBL

adshara said...

คำถามข้อ 2อธิบายการจัดการเรียนสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน (Place – Based Instruction)
การจัดการเรียนสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเป็นการจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยแหล่งเรียนรู้นั้นจะเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และประสบการณ์ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รู้จักใฝ่เรียนรู้ แสวงหาความรู้จนกลายเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
โดยขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญดังนี้
1. ขั้นสำรวจ โดยครูผู้สอนได้ให้ผู้เรียนได้ทำการสำรวจแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และในชุมชนของผู้เรียน2. ขั้นเรียนรู้เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ และปฏิบัติกิจกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้และมีการวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติงาน
3. ขั้นประเมินผล เป็นขั้นตอนการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ในการจัดการเรียนรู้ โดยมีผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน
4. ขั้นนำไปใช้เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากแหล่งเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
5. ขั้นประยุกต์ความรู้และเผยแพร่ผลงาน ขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนต่อไป

Kritsana068 said...

ทฤษฎีConstructivism และ Knowledge Management สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์จุลดิษฐ์ วีรศิลป์ อย่างไร
1) ทฤษฎี Constructivism เป็นทฤษฎีที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้(Construct) จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม จนกลายเป็นความรู้ใหม่เมื่อผ่านกระบวนการทางปัญญาของผู้เรียนแล้วจะมีการถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานในเวลาต่อมา สอดคล้องกับการสอนของครูจุลดิษฐ์ วีรศิลป์ที่ได้เชื่อมความรู้เดิมและความรู้ใหม่ในกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง ภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นการสอนที่เน้นความสำคัญของความรู้เดิมของนักเรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงความรู้ได้ด้วยตนเองผ่านผลงานต่างๆ ได้แก่ การแสดงละครหุ่น การร้องเพลงรักษ์โลก เป็นต้น

Kritsana068 said...

2) ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้แบบ Knowledge Management เป็นการรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายมาจัดระบบและพัฒนาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ มีสอดคล้องกับการสอนของครูจุลดิษฐ์ วีรศิลป์ คือ การจัดการเรียนรู้ โดยเน้นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวนักเรียนได้แก่ ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลที่กระจัดกระจายมาจัดระบบโดยใช้การกิจกรรรมการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมนาฬิกาพลังงาน กิจกรรมแกะรอยผลิตภัณฑ์ เป็นต้น เมื่อผ่านกิจกรรมดังกล่าวแล้วนักเรียนจะได้ความรู้ที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน จากนั้นนักเรียนสามารถรวบรวมและถ่ายทอดข้อมูลที่ได้ผ่านวิธีการนำเสนอต่อไป

withsara said...


ประเพณีท้องถิ่นกับเด็กเปิดเกาะ อาจารย์ประทีป กลีบโกมุท โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา
1. ขั้นนำ (orientation) ในขั้นนี้อาจารย์ประทีบได้ให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ประเพณีของถิ่นของจังหวัดเลย เป็นประเพณีผีตาโขน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจาท้องถิ่นของตนเอง
2. ขั้นทบทวนความรู้เดิม ให้ผู้เรียนจับกลุ่มเพื่อร่วมกันอภิปรายประเพณีท้องถิ่นที่กลุ่มของตนเองเลือก กลุ่มละ 1 ประเพณี แล้วให้ผู้เรียนรวบรวมความรู้เดิมของตนเองที่มีกับประเพณีท้องถิ่นที่กลุ่มของ ตนเอง เลือกมาอภิปราย
3. ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด (turning restructuring of ideas)
3.1 ทาความกระจ่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน (clarification and exchange of ideas) ให้ผู้เรียนได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ในประเพณีที่กลุ่มของตนเลือก แล้วให้ร่วมกันหาวิธีการหาข้อมูลในประเพณีนี้ ว่าจะหาข้อมูลได้จากแหล่งไหนบ้างนอกเหนือจากห้องสมุด
3.2 การสร้างความคิดใหม่ (Construction of new ideas) ให้ผู้เรียนจับกลุ่มเพื่อร่วมกันอภิปรายความรู้ของแต่ละคนที่มีความรู้เกี่ยวกับประเพณีที่กลุ่มของตนเลือก แล้วร่วมกันคิดหัวข้อ หรือประเด็นในการหาความรู้เพื่อรวบรวมเป็นความรู้ของกลุ่มตนเอง
3.3 ประเมินความคิดใหม่ (evaluation of the new ideas) ให้ผู้เรียนร่วมกันรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเพณี เช่นค้นคว้าจากเอกสาร คาบอกเล่าจากประชาชนอาวุโส หรือหากกาลังมีประเพณีนี้ก็ให้ไปเข้าร่วมทุกขั้นตอนของประเพณี เพื่อหาข้อมูลที่ตรงตามหัวข้อหรือประเด็นในการหาความรู้ที่วางแผนไว้ และเป็นการค้นคว้าข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเป็นของตนเอง
4. ขั้นนาความคิดไปใช้ (application of ideas) ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนาความรู้ตนเองได้รับ ไปเผยแพร่ต่อสาธารณะชนในงานเปิดเกาะที่ทางราชการจัดขึ้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ประเพณีท้องถิ่นในเกาะพงัน และเป็นการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับประเพณีท้องถิ่นเกาะพงันให้นักท่องเที่ยวได้มีความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น
5. ขั้นทบทวน (review) ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสรุปความรู้และสรุปผลการประเมินในการที่นาความรู้ใหม่ที่ตนเองสร้างขึ้นไปประชาสัมพันธ์ แล้วออกมานาเสนอกิจกรรมที่กลุ่มของตนเองได้ลงพื้นที่และรวบรวมความรู้ขึ้นมานั้นมีอะไรบ้าง และสามารถทาให้ผู้เรียนมีความรู้เรื่องของประเพณีท้องถิ่นในเกาะพงันได้อย่างลึกซึ้ง ถูกต้องตามโบราณ

withsara said...

เพิ่มจาก ข้อความที่แล้วครับ อาจารย์ การสอนของอาจารย์ประทีบ กลีบโกมุทนั้นตรงกับ ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสร้างความรู้ตามแนว Constructivism ของไดรเวอร์และเบลล์ (Driver and Bell, 1986 อ้างถึงใน Matthews, 1994) ได้กำหนดขั้นตอนไว้

nuntida082 said...

วิธีการทางประวัติศาสตร์กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์เหมือนกันและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
วิธีการทางประวัติศาสตร์ กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน และมีบางส่วนแตกต่างกันดังนี้
1. วิธีการทางประวัติศาสตร์มีการกำหนดประเด็นปัญหา เพื่อสืบค้นหาคำตอบ เช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการสร้างสมมติฐานขึ้นแล้วทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนั้น
2. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการสร้างสถานการณ์ใหม่ หรือ ทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น แต่นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถสร้างสถานการณ์ขึ้นใหม่ให้เหมือนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีตได้ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นครั้งเดียว มีลักษณะเฉพาะ และไม่สามารถสร้างซ้ำได้อีก แต่นักประวัติศาสตร์จะรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานอย่างหลากหลาย ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐาน จนกระทั่งได้ข้อมูลที่จะสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถอธิบายและสรุปเป็นหลักการได้ ดังนั้นแม้นักประวัติศาสตร์จะมิได้เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตรง แต่พยายามหาข้อมูลให้มาก เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงให้ถูกต้องตามความเป็นจริงที่น่าเป็นไปได้ แต่นักวิทยาศาสตร์จะทดสอบหรือทดลองให้ได้ผลสรุปด้วยตนเอง
3. การนำเสนอผลงานของนักวิทยาศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ก็อาศัยหลักการความเป็นไปได้มาคาดคะเน และสรุปผลเช่นกัน แต่ผลสรุปทางวิทยาศาสตร์ จะสามารถนำไปทดลองซ้ำๆ ก็จะได้ผลเช่นนั้นทุกครั้ง แต่ผลสรุปทางประวัติศาสตร์ไม่สามารถนำไปทดลองได้ และมีความแตกต่างที่เป็น “มิติของเวลา”

Unknown said...

ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับภูมิปัญญาชาวบ้าน ต่างกันหรือไป
ไม่ต่างกันคือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Local wisdom หรือ popular wisdom) คือพื้นฐานของความรู้ของชาวบ้านหรือคือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และมีประสบการณ์สืบต่อกันมาทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่หรือที่เป็นความรู้สะสมสืบต่อกันมา

Unknown said...

การสอนเป็นแบบใด
เป็นการสอนแบบโครงการ
ลักษณะสำคัญของการสอนแบบโครงการ
๑. เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ร่วมกับระบบการสอนในหลักสูตรตามปกติ โดยโอกาสที่ครูจะใช้รูปแบบการเรียนการสอนนี้จะเกิดขึ้นภายใต้สภาพการเรียนการสอนตามปกติ เมื่อครูสังเกตเห็นว่าเด็กมีความสนใจในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นพิเศษ และต้องการจะศึกษาเรื่องนั้นต่อไป และครูพิจารณาว่าสามารถจัดกิจกรรมเพื่อศึกษาเรื่องนั้นได้และมีแหล่งทรัพยากรเพียงพอในการศึกษาเรื่องนั้น
๒. จุดเน้นสำคัญของการจัดการเรียนการสอนนี้มุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นหลักเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้ศึกษาเรื่องที่ตนสนใจ ในวิธีการของเด็กเอง ดังนั้นการสอนแบบโครงการไม่มีการวางแผนการสอนอย่างชัดเจนไว้ล่วงหน้า ครูผู้สอนคอยจะสังเกตจนพบความความสนใจของเด็ก แล้วจึงจะสามารถร่วมกันวางแผนและกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันกับเด็กขึ้นและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการความสนใจของเด็ก

Unknown said...

๓. แม้ว่าการสอนแบบโครงการจะมุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นรายบุคคล แต่ในการเลือกหัวข้อของโครงการที่จะทำการศึกษานั้น เด็กทั้งกลุ่มจะร่วมกันเลือกหัวข้อของโครงการร่วมกัน ภายใต้กรอบความสนใจของเด็กส่วนใหญ่ในห้องเรียนและภายใต้การพิจารณาของครูว่าหัวข้อดังกล่าวสามารถเลือกเป็นหัวข้อโครงการได้หรือไม่ โดยครูพิจารณาเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของโครงการดังนี้
๑) เป็นหัวข้อที่เด็กทุกคนหรือเด็กส่วนใหญ่ของกลุ่มสนใจ
๒) มีแหล่งทรัพยากรในท้องถิ่นเพียงพอที่จะจัดกิจกรรมในหัวข้อโครงการนี้ได้
๓) เป็นหัวข้อที่เด็กพอจะมีประสบการณ์อยู่บ้างแล้ว
๔) เป็นหัวข้อที่เด็กสามารถใช้ประสบการณ์ตรงในการค้นหาข้อมูลข้อเท็จจริงได้
๕) เป็นเรื่องที่เป็นจริง สามารถให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับเรื่องนั้นได้
๖) เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้มีการร่วมมือกันทำงาน
๗) เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สร้างสิ่งของหรือเล่นสมมุติ
๘) เป็นหัวข้อที่มีความสัมพันธ์กับจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
๙) เด็กมีโอกาสใช้ทักษะต่างๆในการเรียนรู้
๑๐) ผู้ปกครองมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ

Unknown said...

๔.การสอนแบบโครงการต้องการครูที่มีคุณลักษณะสำคัญอย่างยิ่งคือต้องเป็นผู้ที่ยอมรับเด็กโดยแท้ เชื่อมั่นว่าเด็กสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเด็กเอง โดยครูจะต้องแสดงบทบาทผู้ฟังที่ดีให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความต้องการความสนใจของเด็กและจัดกิจกรรมตามความสนใจของเด็กอย่างแท้จริง ต้องไม่แสดงบทบาทของผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ไม่เป็นผู้กำหนดกิจกรรมให้เด็กทำตามความคิดของครู

pongpon wichadee said...

อนึ่ง คัมภีร์ในพระไตรปิฎก ชั้นอรรถกถาและฎีกาได้แสดงไวพจน์แจกแจงความหมายในแง่ต่าง ๆ ของโยนิโสมนสิการว่า
"อุบายมนสิการ" เป็น การคิดหรือพิจารณาโดยอุบาย คือ การคิดอย่างมีวิธีหรือถูกวิธี ซึ่งหมายถึง การเข้าถึงความจริง สอดคล้องกับแนวสัจจะ ซึ่งทำให้รู้สภาวลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย
"ปถมนสิการ" เป็น การคิดถูกทาง ต่อเนื่องเป็นลำดับ หมายถึง ความคิดที่เป็นระเบียบตามหลักเหตุผล ไม่ยุ่งเหยิงสับสน จิตไม่แว๊บติดพันในเรื่องนี้ แต่เดี๋ยวกลับเตลิดไปคิดอีกเรื่องหนึ่ง จิตยุ่งเหยิงนี้กระโดดไปมา ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน แต่รวมทั้งความสามารถในการชักความนึกคิดไปสู้แนวทางที่ถูกต้อง
"การณมนสิการ" เป็น การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นการสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องตามลำดับ
อุปปาทกมนสิการ การคิดการพิจารณาให้เกิดกุศลธรรม เช่น การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เป็นต้น
ไขความทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่างๆ ของความคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งการเกิดในแต่ละครั้ง อาจมีลักษณะครบทั้ง 4 ข้อ หรือเกิดครบทั้งหมด หรือเขียนลักษณะทั้ง 4 ข้อนี้สั้นๆ ได้ว่า คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล

narma doloh said...

รูปแบบการสอนบูรณาการทางตรงสอดคล้องกับเทคนิคการสอน(โดยใช้เกม)ที่ที่นักศึกษาได้เลือกอย่างไร?
ตอบ จากการศึกษา ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบการสอนบูรณาการทางตรง พบว่าไม่ได้มีความสอดคล้องกับเทคนิคการสอนแบบเกมแต่อย่างใดแต่ลักษณะการจัดกิจกรรมในส่วนของขั้นตอนการจัดกิจกรรมจะมีความสอดคล้อง กล่าวคือ ผู้สอนชี้แจงสาระของบทเรียนและความสัมพันธ์กับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างคร่าว ในส่วนนี้สอดคล้องกับเทคนิคแบบเกมที่ครูปีเตอร์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพราะต้องดึงความรู้เดิมมาใช้ในช่วงโมงที่สอนเช่นกัน ขั้นผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนแต่ละขั้นตอนขั้นนี้ก็สอดคล้องกับกระบวนการจัดกิจกรรมของครูปีเตอร์อีกเช่นกันซึ่งครูปีเตอร์ได้ชีแจงว่าผู้เรียนแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไรบ้าง

narma doloh said...

การสอนประวัติศาสตร์มุ่งเน้นพัฒนาทักษะอะไรบ้าง?
ตอบ
1.พัฒนาทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ
2.ฝึกให้คิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ คิดอย่ามี เหตุมีผล
3.ฝึกทักษะการแยกแยะและการจัดระบบข้อมูล
4.ฝึกการค้นหาและรวบรวมข้อมูล
5.ฝึกทักษะการเรียงความและการย่อความให้น่าสนใจ
6.ฝึกการสรุปและการจับจับประเด็นให้น่าสนใจ

narma doloh said...

ทำไมจึงต้องเรียนประวัติศาสตร์ (หาเสริมเพิ่มเติม ค่ะ)
1. ประวัติศาสตร์ สอนให้รู้จักตนเอง รู้ประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นและประเทศชาติของตน เข้าใจพัฒนาการของผู้คนที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินไทยตั้งแต่อดีต และความรุ่งเรืองที่วิวัฒนาการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
2. ประวัติศาสตร์ สร้างจิตสำนึกในความเป็นชาติ เกิดความรักความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษที่ก่อตั้งชาติบ้านเมือง ยังความเป็นปึกแผ่นดำรงเอกราชมาจนปัจจุบัน รวมถึงแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์การสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมที่คงความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งถือเป็นหน้าที่คนรุ่นหลังจะต้องสืบทอดให้คงอยู่ตลอดไป
3. ประวัติศาสตร์ ส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นนักคิด มีเหตุมีผล เพราะกระบวนการศึกษาทางประวัติศาสตร์ หรือวิธีการทางประวัติศาสตร์มุ่งเสริมสร้างจิตใจให้ใฝ่รู้ (Inquiring mind)ตั้งคำถาม ค้นคว้าหาคำตอบ โดยศึกษาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน วิเคราะห์ กลั่นกรองข้อเท็จจริง และสรุปผลการสืบค้นอย่างมีเหตุผล
4. ประวัติศาสตร์ เป็นบทเรียนจากอดีต ทำให้ผู้คนในสังคมได้เรียนรู้ความเป็นมาในสังคม ในพื้นที่และบริบทของเวลาต่างๆ กัน เห็นบทเรียนในอดีตที่มีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ และช่วยตัดสินใจที่จะดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคมและชาติบ้านเมือง บทเรียนในอดีตจะช่วยสร้างความรู้สึกร่วมในชะตากรรมให้กับคนในสังคมเดียวกัน ปลูกฝังความรู้สึกในความเป็นชาติ หวงแหนอิสรภาพ และเอกราชของชาติตนคำตอบในเรื่องประโยชน์

Cherry kiss077 said...

**การเรียนการสอนแบบบูรณาการมีกี่รูปแบบ และวิธีสอนแบบบูรณาการในโทรทัศน์ครูนี้ได้ใช้รูปแบบการบูรณาการใด

**ตอบ มี 2 รูปแบบ คือ 1.การบูรณาการภายในรายวิชา 2. การบูรณาการระหว่างวิชา ซึ่งการบูรณาการระหว่างวิชามี 4 รูปแบบ คือ การบูรณาการแบบสอดแทรก, การบูรณาการแบบคู่ขนาน, การบูรณาการแบบสหวิทยาการ, และการสอนแบบข้ามวิชา หรือสอนเป็นคณะ

**และการจัดการเรียนการสอนในโทรทัศน์ครูดังกล่าวได้สอดคล้องกับรูปแบบการบูรณาการแบบขนาน (Parallel Instruction) คือ การสอนตามรูปแบบนี้ จะมีครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน ต่างคนต่างสอน (สอนวิชาภูมิศาสตร์ ศาสนา/ศีลธรรม และวิชาประวัติศาสตร์) ครูจึงต้องมีการวางแผนการสอนร่วมกัน โดยมุ่งหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกัน ซึ่งในการเรียนการสอนที่เกิดขึ้น ครูมีการวางแผนร่วมกัน ก่อนที่จะออกเดินทางไปทัศนศึกษานอกสถานที่ มีการระบุปัญหาที่สามารถเชื่อมโยงเรื่องต่างๆ ในรายวิชาต่างกันได้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้นักเรียนเกิดความสับสนระหว่างรายวิชา และรู้จุดมุ่งหมายในการไปทัศนศึกษาอย่างแท้จริง นักเรียนจะได้มีส่วนร่วมและมีประสบการณ์ในดารเรียนรู้ตัวตนเอง ส่วนงานหรือการบ้านที่มอบให้นักเรียนทำ ก็จะแตกต่างไปในแต่ละวิชา แต่งานทั้งหมดจะต้องมีหัวเรื่อง ความคิดรวบยอด และปัญหาร่วมกัน

Cherry kiss077 said...

** สังคมศึกษา, สังคมศาสตร์, สังคมวิทยา, มนุษยศาสตร์, มานุษยวิทยา มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

**สังคมศึกษา คือ ส่วนหนึ่งของวิชาสังคมศาสตร์เฉพาะประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา และภูมิศาสตร์ ที่เห็นว่าเหมาะสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา และได้ทำเป็นหลักสูตรวิชาทั้งแบบบูรณาการและรายวิชา (Good, 1973 : 541)

**สรุป สังคมศึกษาเป็นวิชาหนึ่งของสาขาสังคมศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เนื้อหาวิชาในสังคมศึกษาได้รับการคัดเลือกมาเพื่อใช้สอนนักเรียนในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา และเพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้พื้นฐานไปใช้ในการดำรงชีวิตได้

...................

**สังคมศาสตร์ คือ การประยุกต์ใช้วิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาพฤติกรรมและสังคมมนุษย์ นอกจากสังคมวิทยาจะเป็นวิชาที่มีความใกล้เคียงและสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติตลอดจนวิธีการที่ใช้ในการศึกษาแล้ว สังคมวิทยายังมีความสัมพันธ์กับสังคมศาสตร์สาขาอื่น ๆ อีกด้วย

....................

**สังคมวิทยา (Sociology) นั้นเป็นวิชาแขนงหนึ่งในสังคมศาสตร์ เป็นวิชาที่มุ่งเน้นศึกษาการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของสังคมมนุษย์ ไปจนถึงความเสื่อมถอยของสังคมมนุษย์

**สรุป สังคมวิทยา คือ การเรียนรู้พฤติกรรมระหว่างบุคคลตั้งแต่สังคมขึ้นไปที่มีถิ่นอาศัยขอบเขตเดียวกัน มีการกระทำร่วมกัน มีการปฎิสัมพันธ์กันของกลุ่มมนุษย์ และเป็นศาสตร์หนึ่งของสังคมศาสตร์

...................
**มนุษยศาสตร์ เป็นวิชาที่แสดงความคิดและผลงาน สร้างสรรค์ของมนุษย์ อันเกี่ยวเนื่องกับความจริง ความดีและความงาม ที่เสริมคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่มีอารยธรรม
เช่น วิชาภาษาศาสตร์ ศาสนศาสตร์ ตรรกวิทยา ปรัชญา ดนตรี ศิลปะ หรือวิจิตศิลป์ นาฏศิลป์ วรรณคดี เป็นต้น
................

**มานุษยวิทยา หมายถึง การพินิจศึกษาเรื่องมนุษย์และผลงานของมนุษย์ (ราชบัณฑิตยสถาน 2524 : 21)

** สรุป "มานุษยวิทยา" จะเน้นการศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ สังคมมนุษย์และชีวิตผู้คนในสังคม ได้พัฒนาขึ้นมาจนมีความแตกต่างกันได้อย่างไร เป็นต้น
................

** โดยรวมทั้งหมด คือ "สังคมศาสตร์" คือศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุด เป็นสาขาหลัก พูดง่ายๆคือ สาขาอื่นๆ คือสาขาย่อยของสังคมศาสตร์ ^^*

Unknown said...

ถอดบทเรียนคืออะไร มีความเป็นมาและขั้นตอนอย่างไร

บทเรียน/ การถอดบทเรียน คืออะไร?
“บทเรียน” เป็นสิ่งที่อธิบายว่า “ทำไมถึงเกิด” “ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น” ซึ่งเป็นการอธิบายเหตุการณ์และเงื่อนไขที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องเล่า แต่ต้องมีคำอธิบายที่มีคุณค่า และสามารถนำไปปฏิบัติต่อได้ ซึ่งบทเรียนจะช่วยให้ไม่กระทำผิดซ้ำ โดยบทเรียน มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ บทเรียนทางลบ เช่น บทเรียนจากความล้มเหลว และบทเรียนทางบวก ซึ่งบทเรียนที่ดีจะทำให้เรายกเป้าหมายการทำงานของเราให้สูงขึ้น และสิ่งสำคัญของบทเรียนคือ ทำให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการ “เกิดการเรียนรู้”

ที่มาของการถอดบทเรียน
ตอนแรกเริ่มใช้ในกองทหารของสหรัฐ ที่จะถอดบทเรียนกันว่าการรบในแต่ละครั้งมีความผิดพลาดอะไรกันบ้าง จะได้ทำการแก้ไข

Unknown said...

บทเรียน/ การถอดบทเรียน ควรทำเมื่อใด ?
การถอดบทเรียน สามารถกระทำได้ 3 ช่วง คือ
1. ถอดบทเรียนก่อนดำเนินการ เป็นการเรียนรู้ก่อนที่จะเกิดข้อผิดพลาด
2. ถอดบทเรียนระหว่างดำเนินการ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน
3. ถอดบทเรียนหลังดำเนินการ เป็นการเรียนรู้เพื่อการดำเนินงานในครั้งต่อไป
วิธีวิทยาการถอดบทเรียน ประกอบด้วย
การถอดบทเรียนด้วยการเรียนรู้จากเพื่อน (Peer Assist - PA)เป็นการเรียนรู้ก่อนการทำกิจกรรม โดยเป็นการเรียนรู้จากเขา เขาเรียนรู้จากเรา ทั้งเราและเขาเรียนรู้ร่วมกัน และสิ่งที่เราร่วมกันสร้าง (เกิดความรู้ใหม่) โดยมีลักษณะเป็นการประชุม/ประชุมเชิงปฏิบัติ
การถอดบทเรียนแบบเล่าเรื่อง (Story Telling) เป็นการเรียนรู้ก่อนหรือระหว่างทำกิจกรรม ด้วยการให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ ปลดปล่อยความรู้ที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวออกมาแลกเปลี่ยนความรู้ โดยผู้เล่าจะเล่าความรู้สึกที่ฝังลึกอยู่ในตัวที่เกิดจากการปฏิบัติ ซึ่งผู้ฟังสามารถตีความได้โดยอิสระและเมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนผลการตีความแล้ว จะทำให้ได้ความรู้ที่สามารถบันทึกไว้เป็นชุดความรู้ซึ่งการถอดบทเรียนในลักษณะนี้ จะเป็นการสกัดความรู้จากเรื่องที่เล่าออกมา ว่ามีคุณค่าและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ไม่ใช่เป็นเพียงการเล่าเรื่องในอดีต
การถอดบทเรียนหลังปฏิบัติการ (After Action Review: AAR)
ที่มาของ AAR นั้น มาจากกองทัพสหรัฐฯ โดยเกิดจากการนำผลการรบมาปรับปรุงเพื่อการรบครั้งต่อไป ดังนั้น AARจึงเป็นการจับความรู้ที่เกิดขึ้นสั้นๆ ภายหลังการทำกิจกรรม แล้วนำไปสู่การวางแผนในครั้งต่อไป ทำให้คนทำรู้สึกตื่นตัวและมีความรู้สึกผูกพันกับงาน โดยโครงการ/กิจกรรมที่ทำครั้งเดียวแล้วจบ ไม่จำเป็นต้องทำ AAR ซึ่งรูปแบบการทำ AAR สามารถดำเนินการได้ทั้งระหว่างการทำกิจกรรมเพื่อปรับปรุง/แก้ไขระหว่างการทำงาน หรือ “การทำไป คิดไป แก้ไขไป” และภายหลังสิ้นสุดแต่ละกิจกรรมเพื่อนำไปวางแผนกิจกรรมครั้งต่อไป

Unknown said...

หัวใจหลักของการถอดบทเรียน
ต้องมีการแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Benefit) มีความไว้วางใจทั้งตนเองและผู้อื่น (Trust) และมีการเรียนรู้ (Learning)วิทยากรให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมดูภาพยนตร์ (5 นาที) และได้บทสรุปว่า ภาพยนตร์ที่ดูเป็นเรื่องเกี่ยวกับการฝึกซ้อมรบของกองทัพสหรัฐ ซึ่งเป็นตอนที่เกิดความผิดพลาดขึ้นจากการซ้อมรบ โดยในฉากเป็นการเรียนรู้ภายหลังการปฏิบัติ (AAR)
ร่วมกันของผู้ซ้อมรบ ด้วยการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดด้วยตนเองของผู้ที่ทำผิดพลาด

บทเรียน/ การถอดบทเรียน ทำอย่างไร ?
ขั้นตอนโดยทั่วไปของการถอดบทเรียน (ในทุกวิธีวิทยา) มีดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์
2. ออกแบบและวางแผน
3. ดำเนินการถอดบทเรียน
4. สื่อสาร เผยแพร่ผล องค์ความรู้จากบทเรียน
5. ติดตามผลการนำบทเรียนไปใช้ประโยชน์

ตัวละครที่สำคัญในการถอดบทเรียน
ผู้จัดงาน/ผู้ประสาน หรือเรียกว่า “คุณเอื้อ”
มีบทบาทสำคัญในการประสานงาน และสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ และประโยชน์
ผู้ร่วมถอดบทเรียน หรือเรียกว่า “คุณกิจ”
เป็นเจ้าของความรู้ และภูมิปัญญาที่ต้องการรวบรวมไว้เป็นบทเรียน และเป็นกลุ่มคนที่จะนำบทเรียนและข้อเสนอแนะ
โดย ผู้อำนวยความสะดวกที่เข้าใจกระบวนการ เรียกว่า Process Facilitator
ผู้อำนวยความสะดวกที่เข้าใจกระบวนการและรู้ประเด็นที่จะถอด เรียกว่า Learning Facilitator
ผู้อำนวยความสะดวกที่เข้าใจกระบวนการ รู้ประเด็นที่จะถอด และมีความเป็นกลาง เรียกว่า Policy Facilitator
ผู้ช่วยอำนวยความสะดวก
เป็นผู้ช่วยจับประเด็นและดึงประเด็น รวมถึงการตั้งคำถาม โดยผู้ช่วยอำนวยความสะดวกในการถอดบทเรียน
ผู้บันทึกบทเรียน หรือเรียกว่า “คุณลิขิต”
มีบทบาทสำคัญในการเก็บ รวบรวม และสังเคราะห์เป็นเอกสารเพื่อเผยแพร่ต่อไป ซึ่งผู้บันทึกบทเรียนจะต้องมีทักษะในการเขียนสรุป และสังเคราะห์ได้

Yuttasin090 said...

1. การสืบเสาะหาความรู้ >>>>>>> เน้นทักษะการตั้งคำถาม

2. ทักษะการคิดตามแนวคิดของ Bloom มี 6 ระดับ
HOT ย่อมาจาก Higher Order Thinking แปลว่า ความคิดระดับสูง
1. ระดับความรู้ความจำ (The Knowledge Level) เป็นความคิดระดับการรับรู้ของบุคคล ด้านข้อมูลข่าวสาร และสามารถจำในสิ่งที่ยังไม่ได้เน้นกระบวนการ
2. ระดับความเข้าใจ (The Comprehension Level) เป็นความคิดระดับความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารเชิงลึก สามารถอธิบายคำตอบได้อย่างเหมาะสม
3. ระดับการประยุกต์ (The Application Level) เป็นความคิดระดับความสามารถที่จะนำความรู้ หลักการ คำนิยามไปใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้
4. ระดับการวิเคราะห์ (The Analysis Level) เป็นความคิดระดับความสามารถในการแยกแยะ องค์ประกอบของสิ่งต่างๆ เรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ ได้ โดยจำแนกเป็นส่วนๆ และอธิบายความสัมพันธ์ของแต่ละอย่างได้เป็นอย่างดี
5. ระดับการสังเคราะห์ (The Synthesis Level) เป็นความคิดในระดับความสามารถในการนำรายละเอียดของสิ่งต่างๆ มาสร้างและรวบรวม หรือเรียบเรียงเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นสิ่งใหม่ที่มีความแตกต่างกับสิ่งเดิมได้
6. ระดับการประเมิน (The Evaluation Level) เป็นความคิดในระดับความสามารถในการตัดสินใจ วินิจฉัย เปรียบเทียบ และประเมินสิ่งต่างๆ ได้
โดยระดับการคิดทั้ง 6 ระดับ มีความจำและความเข้าใจ ใน 2 ระดับแรก ถือว่าเป็นการคิดระดับต่ำ (Lower Order Thinking)

Yuttasin090 said...

การเรียนแบบร่วมมือ
รูปแบบ GI (Group Investigation)
GI (Group Investigation) พัฒนาโดย Sharan และคณะ เป็นรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือที่มีความซับซ้อนและกว้างมาก ปรัชญาของรูปแบบ GI ก็คือต้องการปลูกฝังการร่วมมือกันอย่างมีประชาธิปไตย มีการกระจายภาระงานและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่เท่าเทียมกันของสมาชิกในกลุ่ม GI มีการกระตุ้นบทบาทที่แตกต่างกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน
1. นักเรียนแต่ละคนจะได้แสดงความสามารถของตน ในการแสวงหาความรู้ (หรือในการทำงาน)
2. นักเรียนแต่ละคน ต้องถ่ายทอดความรู้หรือวิธีการทำงานให้เพื่อนนักเรียนเข้าใจด้วย
3. ทุกคนต้องร่วมแสดงความคิดเห็น อภิปรายซักถามจนเข้าใจในทุกเรื่อง (หรือทุกงาน)
4. ทุกคนต้องร่วมมือกันสรุปความเข้าใจที่ได้ (สูตรหรือความสัมพันธ์หรือผลงาน) นำส่งอาจารย์เพียง 1 ฉบับเท่านั้น
5. เหมาะกับการสอนความรู้ที่สามารถแยกเป็นอิสระได้เป็นส่วนๆ หรือแยกทำได้หลายวิธี หรือการทบทวนเรื่องใดที่แบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ได้ หรือการทำงานที่แยกออกเป็นชิ้นๆ ได้

Laddawan06510091 said...

คำถามที่ 1
ในเรื่องที่นำมา มีรูปแบบ เทคนิค หรือวิธีสอนใดอีกบ้าง นอกจาก ระดมสมอง และ แผนผังกราฟฟิก
ตอบ
มีการสอนแบบสืบสวนสอบสวนที่ครูเป็นผู้ถาม (Passive Inquiry) เป็นลักษณะของการสอนตามรูปแบบของ Hilda Taba ซึ่งเป็นลักษณะครูเป็นผู้ตั้งคำถาม และผู้เรียนเป็นผู้ตอบคำถาม เห็นได้จากการที่ครูเกริ่นคำถาม ซึ่งเป็นคำถามเชิงวิเคราะห์ และให้ผู้เรียนช่วยกันตอบคำถามนั้น

คำถามที่ 2
ระดมสมอง และ แผนผังกราฟฟิกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
ตอบ
ต่างกัน เพราะ ระดมสมอง เป็นการที่นักเรียนช่วยกันตอบคำถามหรือ แก้ปัญหาโดยใช้การรวมพลังสมอง ซึ่งปัญหาหรือคำถามที่จะให้นักเรียนช่วยกันคิดนั้น จะต้องเป็นให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงความสามารถทางด้านความคิด หรือเน้นพัฒนาความคิดสร้างสรรค์( creative thinking)ของผู้เรียน แต่ แผนผังกราฟฟิกเป็นการที่นักเรียนสรุปเนื้อหาที่ได้จากการศึกษา ไม่ได้เน้นคิดใหม่ แต่เป็นการนำเอาความรู้เดิมมาจัดระบบเพื่อแสดงถึงความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งต่างกันไปตามรูปแบบของการใช้งานแผนผังกราฟฟิก

Unknown said...

คำถาม การจัดการเรียนรู้แบบ (Cooperative Learning)เป็นอย่างไร
การจัดการเรียนรู้แแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) คือ กิจกรรมการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกัน โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกัน

Unknown said...

คำถาม เกมเป็นส่วนใดของการจัดการเีรียนรู้ แบบ (Cooperative Learning)
เกมเป็นรูปแบบหนึงของการจัดการเรียนรู้แบบ (Cooperative Learning) โดยเรียกว่า การแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม(Team Games Tournament หรือ TGT)เป็นเทคนิครูปแบบหนึ่งในการสอนแบบร่วมมือและมีลักษณะของกิจกรรมคล้ายกันกับ STAD แต่เพิ่มเกมและการแข่งขันเข้ามาด้วย เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอนในจุดประสงค์ที่มีคำตอบถูกต้องเพียงคำตอบเดียว

Unknown said...

คำถาม การจัดการเรียนรู้ของครูเบญจา สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนรู้แบบ Cooperative ได้อย่างไร
สำหรับการจัดการเรียนรู้ของ ครูเบญจา พูลเกษ สามารถนำปรับใช้กับกิจกรรมที่ครูเบญจาจัดโดยการใช้เกมเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจเด็กได้แต่อาจใช่กิจกรรมในรูปแแบบอื่นในการจัดการเรียนแบบ Cooperative เช่น การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้คู่ตรวจสอบ โดยอาจให้นักเรียนในกลุ่มใหญ่ที่จัด แบ่งเป็นคู่ๆผลัดกันถามตอบคำถามเพื่อเพิ่มความเข้าใจในบทเรียนนั้นๆ

Unknown said...

คำถามจากการ Present TV.ครู เรื่อง ห้องเรียนภูมิศาสตร์ ฉบับไม่ตัดต่อ ตอน 1 - 2 - Uncut Classrooms : Geography โรงเรียนมัธยมศึกษาโคลสดอน สาระการเรียนรู้ ภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยคำถาม คือ วิธีการสอนแบบ Problem Base Learning กับ Problem Solving Method มีความแตกต่างกันอย่างไร คำตอบคือ การสอนโดยใช้รูปแบบ Problem Base Learning เป็นการสอนโดยนำปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของผู้เรียนนำมาสอนก่อน และใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นหรือเป็นตัวนำทางให้ผู้เรียนไปแสวงหาความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง เพื่อที่จะได้ค้นคำตอบของปัญหา ซึ่งกระบวนการหาความรู้ด้วยตนเองนี้ทำให้เกิดทักษะในการแก้ปัญหา (Problem Solving Skill) แต่การสอนแบบ Problem Solving Method จะสอนเนื้อหาไปบางส่วนก่อน จากนั้นก็ทดลองให้นักเรียนแก้ปัญหาเป็นกลุ่มย่อย

Wichian093 said...

Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน
Blended learning หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ การสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้E-learning ด้วยระบบแอลเอ็มเอส (Learning Management System ) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บ หลังจากนั้นสรุปบทเรียน ด้วยการอภิปรายร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในห้องเรียน

Wichian093 said...

คุณครูอุทุมพร มุลพรม มีวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมสนาน กล่าวคือ ท่านได้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้มากกว่าหนึ่งวิธีมาผสมผสานกัน ทั้งให้ผู้เรียนทำสื่อการเรียนรู้เอง ออกมานำเสนอหน้าห้อง ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายในขั้นสรุป นอกจากนี้นักเรียนยังสามารถนำสื่อการเรียนรู้ที่ร่วมกับเพื่อนทำขึ้นไปศึกษาเพิ่มเติมนอกห้องเรียน ได้ฝึกอ่านภาษไทย นำความรู้ที่อ่านออกมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน และร่วมกันอภิปรายกับผู้สอน ถือได้ว่าคุณครูอุทุมพร มุลพรมสามารถนำวิธีการจัดการเรียนรู้มาผสมผสานกันได้อย่างเหมาะสม ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Teerapong081 said...

จากคำถามคือ หลักการในการเลือกแหล่งการเรียนรู้ สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
-แหล่งการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 แบบ กล่าวคือ
แบบที่ 1. จัดตามลักษณะของแหล่งเรียนรู้
1 ). แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
2 ). แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น
3 ). บุคคล เป็นแหล่งเรียนรู้ที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ

แบบที่ 2. จัดตามแหล่งที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้
1 ). แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเดิมจะมีหลักๆ คือ ครูอาจารย์ ห้องสมุด ต่อมาพัฒนาเป็นห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องจริยธรรม เป็นต้น ตลอดจนการใช้อาคารสถานที่บริเวณและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
2 ). แหล่งเรียนรู้ในชุมชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชนครอบคลุมทั้งด้านสถานที่และบุคคลซึ่งอาจอยู่ในชุมชนใกล้เคียงโรงเรียน และชุมชนที่โรงเรียนพานักเรียนไปศึกษาหาความรู้

Teerapong081 said...

-หลักการในการเลือกแหล่งการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ในแต่ละประเภทที่กล่าวมานั้นหากนามาใช้ในการเรียนการสอน แหล่งเรียนรู้นั้นจะต้องมีหลักการเลือกแหล่งการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ กล่าวคือ
1. ต้องจัดบรรยากาศของแหล่งเรียนรู้ให้เป็นสภาพจริงหรือเหมือสภาพจริงมากที่สุด
2. มีการจัดทรัพยากรในแหล่งเรียนรูให้พอเพียง
3. ปรับสภาพของสถานที่เรียนให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองให้มากที่สุด
4. จัดบริเวณโรงเรียนให้เกิดแหล่งเรียนรู้ และแหล่งสนับสนุนการเรียนรู้
5. จัดศูนย์วิทยาการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย
6. มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
7. มีการร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนเพื่อช่วยกันดูแลสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน
สิ่งบ่งชี้เหล่านี้จะเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมายเป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนด

orapin said...

ใครที่ยังไม่ได้ตอบคำถาม กรุณาตอบด้วย ภายในวันที่ 24 ก.พ. นะคะ

Unknown said...

- ไทม์ไลน์ (อังกฤษ: Timeline) เป็นแผนผังแสดงการพัฒนาหรือลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลา โดยขึ้นอยู่กับหัวข้อที่สนใจ และช่วงเวลาที่สนใจ timeline ถูกใช้ในการแสดงผลเพื่อง่ายต่อการศึกษาข้อมูล โดยทั่วไป timeline จะไม่มีการใส่รายละเอียดข้อมูลลงไป โดยจะใส่เฉพาะหัวข้อแทนที่
- Time line จึงเป็นการเรียนรู้ผ่านเส้นเวลา คือ การเรียงเหตุการณ์ตามลำดับของเหตุการณ์ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องมืออธิบาย ทำความเข้าใจอดีตให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
การเรียนรู้โดยใช้ Time line เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนเข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุดสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างได้อย่างเป็นระบบ

Unknown said...

ตัวอย่างของการใช้ Time line
-http://www.mactricksandtips.com/2008/07/iphone-timeline.html
-http://www.fergusbordewich.com/underground-railroad-timeline.html
หรือ หนังสือ เรื่อง กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารายธรรมโลก เป็นต้น

Suparat_First said...

คำถามข้อที่ 1 ถามว่า โครงการและโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
โครงการ หมายถึง กระบวนการทำงานที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลาย ๆ กิจกรรม ซึ่งเป็นไปตามลำดับ โดยการทำงานจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น การผลิตสินค้า หรือ ทำงานบริการ โดยจะมีการกำหนดระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด ในการดำเนินงานโครงการจะต้องมีผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อโครงการ มีหน้าที่ทำการบริหารงาน กิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน เหมาะสมกับเวลา และงบประมาณที่ตั้งไว้
โครงงาน หมายถึง กิจกรรมที่ทำให้ได้เรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งผู้เรียนเป็นผู้คิด หัวเรื่องจัดหาข้อมูล ทดลอง สรุปผล เขียนรายงาน แสดงผลงาน โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
กล่าวโดยสรุปแล้ว โครงการเป็นกระบวนการทำงานในแง่ของกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีลำดับขั้นตอน วิธีการ การบริงานต่างๆ ตามแผนงานและเวลา ส่วนโครงงานเป็นกระบวนการทำงานในด้านการศึกษาค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์ และสรุปผลรายงาน พร้อมทั้งแสดงผลงาน

คำถามข้อที่ 2 ถามว่า ฝรั่ง(ชาติตะวันตก) มักใช้เทคนิคการสอนแบบใดในการสอนรายวิชาภูมิศาสตร์และเศรษฐศาสตร์
จากการศึกษาและดูรายการโทรทัศน์ครู วีดิโอของต่างชาติ กระผมพบว่า พวกเขาส่วนใหญ่มักใช้เทคนิคบทบาทสมมติ โดยกำหนดให้นักเรียนเป็นตัวละครดังกล่าว แล้วดำเนินเนื้อเรื่อง ให้ได้คิด ได้ทำ ได้สรุปความรู้ด้วยตนเอง

nisarat 083 said...


คำถามการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนโครงงานเป็นเทคนิคการสอนแบบอุปนัยหรือนิรนัย
ตอบ เป็นเทคนิคการสอนแบบนิรนัย ( Deductive Method )เป็นกรระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ ให้ผู้เรียนฝึกการนำทฤษฎี หลักการ หลักเกณฑ์
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การสอนแบบนิรนัยมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1. ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา เป็นการนำเข้าสูบทเรียนโดยการเสนอปัญหาหรือระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา เหมือนกับการกำหนดหัวข้อโครงงาน
2. ขั้นแสดงและอธิบายทฤษฎี หลักการ เป็นการนำเอาทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปที่ต้องการสอนมาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทฤษฎี ให้ความรู้ศึกษาข้อมูลในขั้นตอนของโครงงาน
3. ขั้นใช้ทฤษฎี หลักการ เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเลือกทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุป ที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ได้ ใช้หลักการของโครงงานในขั้นนี้
4. ขั้นตรวจสอบและสรุป เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะตรวจสอบและสรุปทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปหรือนิยามที่ใช้ว่าถูกต้อง สมเหตุสมผลหรือไม่ โดยอาจปรึกษาผู้สอน หรือค้นคว้าจากตำราต่างๆ หรือจากการทดลอง ข้อสรุปที่ได้พิสูจน์หรือตรวจสอบว่าเป็นจริง จึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง ตรวจสอบข้อมูล วิเคาระห์ข้อมูลที่ได้มา
5. ขั้นฝึกปฏิบัติ เมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุป ดำเนินการตามรูปแบบโครงงาน
นำเสนอ

Unknown said...

โครงงานมีกี่ประเภท แล้วที่นำเสนออยู่ในประเภทใด??

>> ตอบ 4 ประเภท ได้แก่
1. โครงงานประเภททดลอง เป็นโครงการที่ต้องทำการทดลอง เพื่อศึกษาว่าตัวแปรหนึ่งจะมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา
อย่างไร

2. โครงงานประเภทสำรวจ เป็นโครงการที่ไม่ต้องมีการจัดหรือกำหนดตัวแปร เป็นการสำรวจและรวบรวมข้อมูล
เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ นำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ
อย่างมีระบบ

Unknown said...

3. โครงงานประเภททฤษฏี เป็นโครงการที่เสนอแนวคิดหรือทฤษฎีใหม่ ๆ โดยตั้งข้อตกลงหรือกติกาขึ้นมา แล้วเสนอ
หลักการหรือแนวคิดที่ยังไม่มีผู้ใดคิดมาก่อน

4. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นโครงงานประดิษฐ์หรือพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้
ประโยชน์ในการทำงาน อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่หรือพัฒนาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว นำมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ
ดีกว่าเดิม

>> ในการสอนครั้งนี้จัดอยู่ในประเภทที่ 2 โครงงานแบบสำรวจความรู้ค่ะ

narma doloh said...

ต่อ >>>คำถามจากอาจารย์อ้อย
รูปแบบการสอนของครูปีเตอร์เน้นพัฒนาทักษะอะไร ?
จากที่ได้วิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคเกม(ไวกิงมหาภัย ใช่นอร์สหรือไม่ใช่นอร์ส)
ครูปีเตอร์ต้องการพัฒนาทักษะของผู้เรียนดังนี้
>>ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ
ครูปีเตอร์ต้องการฝึกให้นักเรียนสังเกตวัตถุที่เป็นของชาวไวกิ้ง และสามารถเปรียบเทียบได้ว่าใช่หรือไม่ใช่ไม่ใช่วัตถุของชาวไวกิ้ง
>>ทักษะการแยกแยะและจัดระบบข้อมูล
ครูปีเตอร์มุ่งเน้นการให้นักเรียนสามารถแยกแยะได้ว่าเรื่องเพื่อนนำเสนอนั้นเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องเท็จ
และผู้เรียนสามารถตอบได้ว่า “ใช่ หรือ ไม่ใช่”
>>ทักษะการทำงานกลุ่ม
จากกิจกรรมที่ใช้สอนครูปีเตอร์ได้ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มและร่วมกันทำงานซึ่งผู้เรียนจะต้องช่วยกันแต่งเรื่องเท็จสำหรับหลอกเพื่อนและเรื่องจริงโดยให้ผู้เรียนดึงทักษะด้านการเขียน ความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้ กิจกรรมกลุ่มทำให้สามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันได้อีกด้วย

narma doloh said...

ในการสอนประวัติศาสตร์หากต้องสอนแบบรูณาการต้องสอนอย่างไร
การบูรณาการ คือ การผสมผสานองค์ความรู้และทักษะวิธีการปฏิบัติ (knowledge และ skill) ในระดับต่างๆ กัน การเรียนประวัติศาสตร์นั้นไม่จำเพาะเจาะจงแต่เพียงในชั้นเรียนประวัติศาสตร์เท่านั้น ประวัติศาสตร์สามารถนำมาเรียนรู้แบบบูรณาการได้กับแทบทุกวิชา อาทิ ศิลปะ ดนตรี การงานอาชีพ แม้กระทั่งวิทยาศาสตร์การบูรณาการสามารถบูรณาการได้ 2 แบบ คือ บูรณาการภายในกลุ่มสาระและบูรณาการต่างกลุ่มสาระ แนวทางในการบูรณาการนั้นแม้จะมีขอบเขตอยู่ภายใต้ขอบเขตรายวิชาเดียว ผู้สอนจะต้องมุ่งเน้นความเป็นเอกเทศของความรู้ โดยเฉพาะกลุ่มสาระประวัติศาสตร์ประกอบด้วยองค์ความรู้และทักษะหลากหลายทักษะ ผู้สอนจะต้องเน้นการสร้างความสัมพันธ์หรือการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และทักษะย่อยเพื่อใช้ในพัฒนาผู้เรียนทั้งนี้ในการเลือกใช้รูปแบบวิธีการบูรณาการครูสอนประวัติศาสตร์จะต้องพิจารณาความพร้อมในด้านต่างๆ ก่อนการดำเนินการบูรณาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ วัสดุอุปกรณ์สำหรับบูรณาการ เป็นต้น
นอกจากนี้ผู้สอนจะต้องวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ว่าหากจัดการเรียนรู้เช่นนี้แล้วนักเรียนจะได้เรียนรู้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของสาระใดข้อใด

Unknown said...

การคิด หมายความว่า การทำให้ปรากฏเป็นรูป หรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง คาดะคะเน คำนวณ มุ่ง จงใจ ตั้งใจ (ราชบัณฑิตยสถาน,2546) เป็นกระบวนการทางสมองที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เกิดขึ้นในสมองโดยใช้สัญลักษณ์หรือภาพแทนสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ มีการจัดระบบความรู้ ข้อมูล ข่าวสารซึ่งเป็นประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งเร้าใหม่ มีทั้งรูปแบบพื้นฐานและซับซ้อน

Unknown said...

กระบวนการคิด หมายถึง การคิดที่ต้องดำเนินการไปตามลำดับขั้นตอน เพื่อช่วยให้การคิดนั้นประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการคิดนั้นๆ ในแต่ละขั้นตอนของการคิดอาจจะต้องใช้ทักษะการคิด หรือลักษณะการคิดหลาย ๆ แบบมาประกอบกัน การคิดที่เป็นกระบวนการคิดมีอยู่หลายรูปแบบ ที่สำคัญได้แก่

กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้แก่ ลำดับขั้นตอนการคิดที่จะช่วยให้ได้ความคิดที่ผ่านการกลั่นกรองและประเมินอย่างรอบคอบแล้วว่าเป็นความคิดที่มีเหตุผล เชื่อถือได้

กระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้แก่ ลำดับขั้นตอนการคิดเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์

กระบวนการคิดแก้ปัญหา คือ ลำดับขั้นตอนของการคิด การดำเนินการแก้ปัญหาเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

Unknown said...

ทักษะการคิด คือ ความสามารถในการคิดในลักษณะต่าง ๆ สอดแทรกอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการคิด บุคคลจำเป็นต้องมีทักษะหลายประการในการดำเนินการคิด เช่น ความสามารถในการจำแนกความเหมือนหรือความต่างของสิ่งของสองสิ่ง ความสามารถในการจัดกลุ่มของที่มีลักษณะความเหมือนกัน ความสามารถในการสังเกต การรวมรวมข้อมูล การตั้งสมมติฐาน ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่อยู่ในกระบวนการคิดแก้ปัญหา เป็นต้น จากการศึกษาทักษะการคิดด้านต่างๆ สามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้

ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน จะมีลักษณะเป็นทักษะย่อยซึ่งมีขั้นตอนในการคิดไม่มากนัก เช่น ทักษะการคิดที่ใช้ในการสื่อสาร (ฟัง พูด อ่าน เขียน) และทักษะการคิดที่เป็นแกน (การสังเกต การสำรวจ การตั้งคำถาม การแปลความ ฯลฯ)

ส่วนทักษะที่มีกระบวนการหรือขั้นตอนมากและซับซ้อนส่วนใหญ่จะต้องใช้ทักษะพื้นฐานหลายทักษะมารวมกัน เรียกว่า ทักษะการคิดขั้นสูง เช่น ทักษะการคิดซับซ้อน (การทำให้กระจ่าง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ความรู้ ฯลฯ) ทักษะพัฒนาลักษณะการคิด (การคิดคล่อง การคิดหลากหลาย การคิดละเอียด การคิดกว้าง การคิดชัดเจน การคิดลึกซึ้ง ฯลฯ) เป็นต้น

Unknown said...

คำถามอาจารย์ถามว่า มีการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะของผู้เรียนในหลากหลายด้าน ด้านใดบ้าง???
คำตอบ มีการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะของผู้เรียนในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทักษะความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การตรงต่อเวลา ความมีระเบียบวินัย การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ความมีมนุษย-สัมพันธ์ การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และกาลเทศะ การรู้จักสังเกต และทักษะการแก้ปัญหา เป็นต้น

เทคนิควิธี การจัดทัศนศึกษา (Field Trip)

philairat said...

ความแตกต่างระหว่างการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (Case Study Method) และการสอนโดยใช้กรณีศึกษา
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (Case Study Method)
การสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นวิธีสอนที่ใช้กรณีหรือเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงมาดัดแปลงเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้เรียนได้รู้จักวิธีการคิด วิธีการนำข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณาในการตัดสินเรื่องหนึ่งเรื่องใด การเรียนการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นการวิเคราะห์ถามตอบโดยการตั้งประเด็นคำถามกรณีที่ยกมาเป็นตัวอย่างคือกิจกรรมที่รวบเอาการบรรยาย การอภิปราย การโต้วาที และบทบาทสมมุติเข้ามาไว้ในกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมด
สำหรับจำนวนผู้เรียนที่ใช้ในวิธีสอนดังกล่าว
การสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างใช้สอนผู้เรียนทั้งชั้นเรียนหรืออาจจะแบ่งเป็นการศึกษารายบุคคลแบบย่อยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือวัตถุประสงค์ของการเรียน บางครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนทั้งชั้นศึกษาในกรณีเดียวกันหรือบางครั้งต้องการให้ผู้เรียนแต่ละคนไปศึกษากรณีที่ตัวเองสนใจ

philairat said...

ลักษณะเนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้สอนโดยใช้กรณีตัวอย่างนั้นสามารถสอนได้ในทุกเนื้อหา แต่ถ้าเป็นเรื่องราวเหตุการณ์ประจำวัน ข้อมูล ข่าวสารบ้านเมืองและความเป็นไปของโลกก็จะเหมาะกับวิชาภาษาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ ศิลปะ วรรณคดี แต่ผู้สอนก็สามารถที่จะดัดแปลงหรือเลือกกรณีที่มาศึกษาได้กับทุกวิชา
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1) ทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2) ผู้เรียนได้เกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์
3) ผู้เรียนได้รู้จักวิธีแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
4) ทำให้ผู้เรียนได้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
5) ทำให้ผู้เรียนได้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ข้อจำกัด
1) หากใช้กับกลุ่มผู้เรียนมากเกินไป ผู้เรียนก็จะแสดงออกไม่ทั่วถึง
2) หากผู้สอนขาดทักษะในการตั้งคำถามกระตุ้น บรรยากาศของการเรียนรู้ก็เกิดได้ยาก
3) ถ้าผู้เรียนไม่ร่วมมือ ไม่กระตือรือร้นก็จะทำให้ผลการเรียนไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้

philairat said...

การสอนโดยใช้กรณีศึกษา (case base study)
วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา
1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ความรู้และทฤษฎีต่างๆ ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง
2. เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษาในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
3. เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงสถานการณ์จริงกับทฤษฎีต่างๆ ที่ได้เรียนมา
4. เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
5. เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถในการสื่อสาร และการนำเสนอในรูปการเขียน และการพูด
ซึ่งมีความแตกต่างกับการสอนโดยใช้กรณีศึกษา (case base study)
เนื่องจากกรณีศึกษาเป็นการนำเสนอสถานการณ์ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับองค์การและบุคคลต่างๆ อาจไม่เปิดเผยชื่อสถานที่ ตัวบุคคลจริง และมีการปรับเปลี่ยนตัวเลขข้อมูลบางอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบ หรือความเสียหายที่อาจจะได้รับ ทั้งนี้กรณีศึกษาจะต้องไม่มีการวิเคราะห์อยู่ในตัวเนื้อหา เป็นต้น ในขณะที่กรณีตัวอย่างจะเป็นการศึกษาจากข้อมูล ข่าวสารเพื่อเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญสถานการณ์เหล่านั้นโดยต้องวิเคราะห์เนื้อหาก่อนเพื่อหาแนวทางแก้ไข

Unknown said...

คำถาม : อาจารย์ให้หาข้อมูล และขั้นตอนการสอนแบบ Lesson Study เพิ่มเติมจากที่รายงาน

Naliz336 said...

โทรทัศน์ครูเรื่อง “ภูมิศาสตร์ ประถมศึกษา : การใช้สิ่งแวดล้อม-นักสำรวจท้องถิ่น (Using The Environment : Local Explorers)” จากคำถาม...การที่นำผู้เรียนไปแหล่งเรียนรู้ในชุมชนนั้น มีความสอดคล้องกับทักษะภูมิศาสตร์ที่ผู้เรียนได้รับการฝึกฝน ได้แก่ ทักษะการใช้แผนที่และลูกโลก ผู้เรียนต้องสามารถอ่าน และตีความเกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในแผนที่ และลูกโลกได้ถูกต้อง เข้าใจเรื่องระยะทาง และมาตราส่วน การหาตำแหน่งที่ตั้งสถานที่ต่าง ๆ ตลอดจนทราบถึงอิทธิพล และความสัมพันธ์ระหว่างที่ตั้งและมาตราส่วน เส้นละติจูด ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ โดยขั้นตอนการสร้างแผนที่ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด สำหรับพื้นที่บริเวณเล็กๆ ที่ไม่ต้องการความถูกต้องมากนักคือสามารถใช้วิธีการสำรวจด้วยเท้าและเครื่องมือแบบง่ายๆ เพื่อวัดระยะทาง ทิศทาง พิกัดตำแหน่งและลักษณะทางภูมิศาสตร์หรือสิ่งก่อสร้างที่ปรากฎแล้วบันทึกข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำมาสร้างเป็นแผนที่

การสอนภูมิศาสตร์โดยใช้แผนที่เป็นสื่อการเรียนการสอนนั้น ทำให้นักเรียนรู้จักการใช้แผนที่ เรียนรู้องค์ประกอบและสัญลักษณ์บนแผนที่ ตลอดจนวิธีการใช้แผนที่ ยังมีการเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้วิธีการทำแผนที่ เพื่อช่วยฝึกการวางแผน การจัดการพื้นที่ และการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระการเรียนรู้มากขึ้น เมื่อผู้เรียนได้ลงมือสร้างแผนที่ตามจากประสบการณ์ที่ตนเองเห็นหรือได้รับนั้น จะส่งเสริมความเข้าใจถึงลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปไม่ต้องเสียเวลาการท่องจำ ยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเพลิอดเพลินกับการเรียนรู้ สร้างบรรรยากาศการเรียนภูมิศาสตร์ที่ไม่น่าเบื่อและเป็นการกระตุ้นความสนใจในให้กับผู้เรียน

Naliz336 said...

ดังนั้นทักษะในการทำแผนที่จะจัดอยู่ในทักษะการคิดที่เป็นแกนหรือทักษะการคิดทั่วไป (core or general thinking skills) หมายถึง ทักษะการคิดที่จำเป็นต้องใช้อยู่เสมอในการดำรงชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานของการคิดขั้นสูงที่มีความสลับซับซ้อน โดยทักษะการคิดที่เป็นแกน ที่เกิดขึ้นในเรื่องการใช้สิ่งแวดล้อม-นักสำรวจท้องถิ่น ได้แก่
1. ทักษะการสังเกต (observing) เช่น การที่ผู้เรียนสังเกตเห็นป้ายทางเดิน ตู้ไปรษณีย์ แล้ววาดลงใส่กระดาษของตนเอง
2. ทักษะการสำรวจ (exploring) เช่น ผู้สอนพาผู้เรียนเดินสำรวจ สิ่งแวดล้อมต่างๆที่อยู่บริเวณทั้งสองด้านของทางเดิน
3. ทักษะการจัดลำดับ (ordering) เช่น ผู้สอนให้ผู้เรียนวาดสิ่งที่ตนเองเห็น จากนั้นวาดลงไปในกระดาษ โดยผู้สอนจะกำหนดเกณฑ์ในการวาดคือให้วาดสิ่งที่อยู่ใกล้โรงเรียนแล้วสังเกตว่าสิ่งนั้นอยู่ทางทิศเหนือหรือทิศใต้ของโรงเรียน เป็นการนำงที่ต้องการจัดเรียงลำดับมาจัดเรียงไปในทิศทางเดียวกัน

Unknown said...

ตอบคำถามเพิ่มเติม
คำถาม คือ วิธีสอนแบบใดที่เหมาะสมกับวิชาเศรษฐศาสตร์
คำตอบ คือ จากการที่ผมศึกษาและลองมาวิเคราะห์ดูแล้ววิธีสอนแบบนิรนัย น่าจะเหมาะสมที่สุดหลักจากที่ผมเคยตอบสถานการณ์จำลองไปแล้ว
เหตุผลก็เพราะว่า เศรษฐศาสตร์จะเป็นเรื่องใกล้ตัวก็จริงแต่เราก็ต้องสอนหลักการและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งการที่นักเรียนจะเข้าใจหลักการต่างๆได้นั้น ก็ต้องมีตัวอย่างหลายๆตัวอย่างโดยครูหรือนักเรียนร่วมกันยก เมื่อสามารถนำทฤษฎีหรือหลักการไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆต่อไปได้ครับ

lanee072 said...

2.คุณรู้ได้อย่างไรว่าเขาใช้วิธีการสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)


ตอบ.....ข้าพเจ้ารู้ได้ในตอนที่คาท มอร์แกนให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน เพื่อให้นักเรียนช่วยเหลือให้คำปรึกษากันและกันเพื่อหาข้อสรุปในการเลือกรายการของขวัญว่ารายการใดเป็นของขวัญที่ดีที่สุด ก่อนที่จะนำมาติดบนต้นไม้แห่งการให้(ซึ่งครูเป็นเพียงผู้ให้คำชี้แนะ และใช้คำถามชี้นำให้กับนักเรียนสำหรับนักเรียนที่ยังไม่แน่ใจกับการติดลงบนต้นไม้แห่งการให้) ในการสอนวิธีกลุ่มสัมพันธ์นี้โดยปกติแล้วการเรียนการสอนครูจะให้ผู้เรียนพูดแสดงความรู้สึก แล้วครูจะแปลหรือตีความที่นักเรียนพูดให้ทั้งชั้นฟังบรรยากาศชั้นเรียนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนและบทเรียนที่เรียน ดังที่คาท มอร์แกนให้นักเรียนออกมานำเสนอผลงานของกลุ่มตนเองหน้าชั้นเรียน

lanee072 said...

3. วิธีสอนที่เป็นที่นิยมนำมาใช้กับการสอนเด็กระดับประถมศึกษาคือวิธีสอนอะไร (ภาษอังกฤษขึ้นต้นด้วย C ภาษาไทยขึ้นต้นด้วย ม)

ตอบ.....วิธีสอนนั้นคือ วิธีการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model) เป็นทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ จอยส์และวีล(Joyce & Weil, 1996: 161-178) พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นโดยใช้แนวคิดของบรุนเนอร์ กู๊ดนาว และออสติน (Bruner, Goodnow, and Austin)

* เป็นการเรียนรู้โดยสร้างมโนทัศน์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น สามารถทำได้โดยการค้นหาคุณสมบัติเฉพาะที่สำคัญของสิ่งนั้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกสิ่งที่ใช่และไม่ใช่สิ่งนั้นออกจากกันได้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์

lanee072 said...
This comment has been removed by the author.
lanee072 said...

1.ลักษณะเด่นของวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ที่บ่งบอกว่าครูใน TV.ครูของคุณใช้คืออะไร
ตอบ.....วิธีสอนแบบสืบเสาะ(Inquiry Process ) มีลักษณะเด่นโดยการตั้งคำถามชี้นำให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย ใคร่รู้ อยากที่จะหาคำตอบ ซึ่งมีขั้นการสอน 5 ขั้นตอน โดยที่คาท มอร์แกนนำมาใช้นั้นเห็นได้เด่นชัดในขั้นที่ 1. คือ

1. ขั้นนำเข้าสู่ปัญหาและตั้งสมมติฐาน (Orientation and Hypothesis) ปัญหา คือ สิ่งที่จะต้องศึกษาเพื่อให้ได้คำตอบ เป็นหน้าที่ของผู้สอนที่จะต้องจัดสถานการณ์ กิจกรรม หรือเงื่อนไขที่ทำให้เกิดปัญหาข้อข้องใจ (Conceptual Conflicts) ขึ้นในตัวผู้เรียน ซึ่งจะเป็นขั้นนำให้ผู้เรียนได้สืบเสาะต่อไปว่า อะไรคือที่มาของปัญหาดังที่คาท มอร์แกน ใช้วิธีการนำเข้าสู่บทเรียนดังนี้

- หลังจากที่ครูแจกกระดาษเปล่าให้นักเรียนจดบันทึก

- ครูให้นักเรียนตั้งคำถามกับเพื่อนในชั้นเรียนเพื่อหาความหมายของคำว่า “ของขวัญ” และ “สิ่งล้ำค่า” ว่าคืออะไร(ประเด็นปัญหา/คำถามที่ใช้สืบเสาะ)


1. ขั้นสำรวจ ค้นคว้า หรือขั้นปฏิบัติการ (Exploration) โดยคาท มอร์แกน ให้นักเรียนบันทึกความหมายของคำทั้งสองคำข้างต้นลงในกระดาษที่แจกให้ ซึ่งก่อนที่นักเรียนจะเขียนลงไปในกระดาษนั้น ให้นักเรียนลองถามเพื่อนๆว่า

- “เขาคิดว่าความหมายของคำเหล่านี้คืออะไร” (ซึ่งครูเน้นย้ำถึงคำสำคัญของคำว่า ของขวัญ และ สิ่งล้ำค่า)

- เมื่อนักเรียนแต่ละคนเขียนความหมายของทั้ง 2 คำนี้ได้แล้ว ให้นำมาแปะบนกระดานหน้าชั้นเรียน

2. ขั้นการอภิปรายและสรุปผล (Discussion and Conclusion) เมื่อนักเรียนนำกระดาษมาแปะไว้บนกระดานหน้าชั้นเรียนแล้วครูคาท มอร์แกน สุ่มหยิบกระดาษขึ้นมาอ่านหน้าชั้นเรียน
3. ขั้นนำไปใช้ (Application)โดยที่ครูป้อนคำถามให้กับนักเรียนเพื่อนำไปสู่การคิดค้นคว้าคำตอบเอง ก่อนที่จะสรุปคำตอบจากที่ครูให้นักเรียนหาความหมายหรือคำตอบ เพื่อเป็นการให้นักเรียนเรียนรู้เสาะหาข้อเท็จจริงด้วยตนเอง จากประเด็นปัญหา/โจทย์ที่ครูตั้งขึ้น วิธีการให้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจ

Paothai Siangjam said...

การสอนแก้ปัญหาอนาคต ดูคล้ายกับการสอนแก้ปัญหา แต่เพื่อเพิ่มคุณภาพการคิดสร้างสรรค์ และการคิดเชิงวิสัยทัศน์ ก็เลยใช้ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตมาเป็นโจทย์ให้นักเรียนได้คิดกัน ทำให้การคิดบรรเจิด กระเจิดไปได้ทุกทิศทาง ไม่ต้องติดกรอบ นอกจากนี้ยังมีเทคนิคช่วยให้นักเรียนได้คิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น ขั้นตอนการสอน มี 6 ขั้นตอน คือ (1) การระดมสมองเพื่อค้นหาปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในสถานการณ์ต่าง ๆ มา 16 ปัญหา
(2) การค้นหาและสรุปปัญหาหลัก คือ เลือกปัญหาเด็ด ๆ มา 1 ปัญหา
(3) การระดมสมองเพื่อคิดว่าวิธีการแก้ปัญหามา 16 วิธี
(4) การเลือกเกณฑ์ประเมินวิธีการแก้ปัญหาแต่ละวิธี (5) การประเมินผลเพื่อคิดหาวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด (6) การนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

Araya Pittayachamrat said...

วิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
ปุจแาวิสัชนาหมายถึงการถาม-ตอบ เพื่อหาความรู้ความเข้าใจจากผู้อื่น วิธีสอบแบบปุจฉาวิสัชนานี้เป็นวิธีสอนที่ใช้ในการเรียนการสอบของพระสงค์ เป็นหนึ่งในวิธีสอนที่พระพุทะเจ้าทรงใช้ ดดยกามตอบนี้จะเป็นการถาม-ตอบไปเรื่อยๆจนกว่าจะเป็นที่พอใจ
นอกจากวิธีสอนแบบปุจฉา-วิสัชนาแล้ว พระพุทธเจ้ายังทรงใชวิธีสอนอื่นๆอีกด้วย คือ การบรรยาย การสนทนา และการถาม-ตอบ

Araya Pittayachamrat said...

หลักการใช้เทคนิค TGT (Teams Games Tournaments)
1.เกมที่นำมาใช้ต้องตรงกับจุดประสงค์ของการเรียนรู้ที่ตั้งไว้
2.การแบ่งกลุ่มนักเรียนต้องให้มีการคละความสามารถกัน
3.นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมกับเกม
4.เกมที่นำมาใช้ต้องมีความเหาะสมกับวัยของนักเรียน
5.ต้องมีการควบคุมให้การเล่นเป็นไปตามกฏกติกา
6.ผู้สอนต้องสนุกสนานไปกับการเล่นด้วย

Fonphrom Puttana said...

การนำทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)มาใช้ในการสอนภูมิศาสตร์ มัธยมศึกษา: การใช้ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ - KS3/4 Geography : Using GIS
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสร้างความรู้ตามแนว Constructivism ไดรเวอร์และเบลล์ (Driver and Bell, 1986 อ้างถึงใน Matthews, 1994) ได้กำหนดขั้นตอนไว้ ดังนี้
1. ขั้นนำ (orientation) เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจในการเรียนบทเรียน
- จากวิดีโอ ผู้สอนเริ่มสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนโดยการนำซอฟท์แวร์ GIS มาสาธิตวิธีการใช้งานให้ผู้เรียนดู พร้อมถึงบอกข้อดีของการใช้ GIS โดยยกตัวอย่างเกี่ยวกับพื้นที่ใกล้ตัว คือ ชุมชนที่ตั้งของโรงเรียน เช่น การแสดงแผนที่ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนเทียบกับแผนที่ของชุมชนในปัจจุบัน และการแสดงแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศเพื่อเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะภูมิประเทศ การนำเทคโนยี GIS มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้อย่างดี
2. ขั้นทบทวนความรู้เดิม (elicitation of the prior knowledge) เป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน
- จากวิดีโอ การทบทวนความรู้เดิมนั้นผู้สอนมีการทบทวนความรู้เดิม 2 เรื่อง คือ การใช้งาน GIS และภูมิศาสตร์ภายในท้องถิ่น เพื่อที่ผู้เรียนสามารถที่จะสามารถลงมือใช้อุปกรณ์ โปรแกรม โดยนำมาใช้ร่วมกับการศึกษาภูมิศาสตร์ท้องถิ่นได้ และได้เปรียบเทียบให้เห็นประโยชน์ของการใช้แผนที่เปรียบเทียบกับแผนที่ที่ใช้จาก GIS

Fonphrom Puttana said...

3. ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด (turning restructuring of ideas) นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญหรือเป็นหัวใจสำคัญตามแนว Constructivism ขั้นนี้ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้
3.1 ทำความกระจ่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน (clarification and exchange of ideas)
- จากวิดีโอ ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่อยุ่หลังจากการทีผู้สอนพาผู้เรียนไปทัศนศึกษาแล้ว เมื่อกลับมาที่ห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องทำภาระงานที่ได้รับมอบหมายโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง เนื่องจากได้รับคนละหัวข้อ แต่ในการทำงานนั้นผู้สอนจะคอยให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนความรู้และสอบถามกันระหว่างเรียนได้
3.2 การสร้างความคิดใหม่ (Construction of new ideas)
- จากวิดีโอ ในหัวข้อที่กำหนดให้ผู้เรียนทำงานจะเป็นคำถามให้ผู้เรียนวิเคราะห์จากสภาพทางภูมิศาสตร์และข้อมูลที่ตนเองเก็บมาได้ตอนที่ไปทัศนศึกษา พิจารณาดูความสัมพันธ์ของข้อมูล และสังเคราะห์ออกเป็นข้อมูลใหม่
3.3 ประเมินความคิดใหม่ (evaluation of the new ideas)
- จากวิดีโอ เมื่อผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้แล้วนั้น ให้ผู้เรียนประเมินผลงานที่ตนทำว่าเป็นอย่างไร

Fonphrom Puttana said...

4. ขั้นนำความคิดไปใช้ (application of ideas) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้แนวคิดหรือความรู้ความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย
- จากวิดีโอ การนำความคิดไปใช้ คือ ขั้นตอนในก่ารนำความรู้ที่ผู้เรียนได้ทำงานนั้นมาใช้ประโยชน์ในชุมชนของตน เช่น ข้อมูลจำนวนรถยนต์มีความสอดคล้องกับย่านการค้าอย่างไร เป็นต้น
5. ขั้นทบทวน (review) เป็นขั้นตอนสุดท้าย ผู้เรียนจะได้ทบทวนว่า ความคิด ความเข้าใจของเขาได้เปลี่ยนไป โดยการเปรียบเทียบความคิดเมื่อเริ่มต้นบทเรียนกับความคิดของเขาเมื่อสิ้นสุดบทเรียน
- จากวิดีโอ ผู้สอนถามความคิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้งาน GIS ว่าเมื่อผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์จากซอฟท์แวร์ชนิดนี้ในการทำงานแล้วมีควารมรู้สึกหรือความคิดเห็นอย่างไร

jirayu074 said...

วิธีสอนแบบจิ๊กซอร์ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบหนึ่ง มีวิธีการหลัก ๆ ได้แก่ การจัดกลุ่ม การศึกษาเนื้อหาสาระ การทดสอบ การคิดคะแนน และระบบการให้รางวัล เพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งใช้หลักการ เรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการ และมีวัตถุประสงค์มุ่งตรงไปในทิศทางเดียวกัน คือเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุดโดยอาศัยการร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน และแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน ความแตกต่างของรูปแบบแต่ละรูปแบบจะอยู่ที่เทคนิคในการศึกษาเนื้อหาสาระ และวิธีการเสริมแรงและการให้รางวัล

jirayu074 said...

เทคนิคการระดมสมองในการอภิปรายโดยทันที ไม่มีใครกระตุ้น กลุ่มผู้เรียนเพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาสั้นโดย ในขณะนั้นจะไม่มีการตัดสินว่า คำตอบหรือทางเลือกใดดีหรือไม่อย่างไร
ลักษณะสำคัญ ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือก สำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วช่วยกันพิจารณาเลือกทางเลือก ที่ดีที่สุด ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งทาง

jirayu074 said...

ผังกราฟิก เป็นเครื่องมือหรือแผนภาพที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ หรือจากแหล่งต่างๆ มาทำการจัดกระทำข้อมูลและนำเสนอข้อมูล โดยอาศัยทักษะการคิดต่างๆ ในการจัดกระทำข้อมูล ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การสังเกต เปรียบเทียบ จัดเรียงลำดับ จัดประเภท และการใช้ตัวเลข เพื่อให้เกิดความจำ และความเข้าใจในเนื้อหา

jirayu074 said...

ผังกราฟิกที่มีวัตถุประสงค์ของการนำเสนอข้อมูลที่เป็นมโนทัศน์ มีดังนี้
1.1) ผังความคิด เป็นผังกราฟิกที่แสดงความสัมพันธ์ของสาระ หรือความคิดต่างๆ ให้เห็นเป็นโครงสร้างในภาพรวม โดยใช้ตำแหน่ง ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง สี เครื่องหมาย รูปทรงเรขาคณิต และภาพแสดงความหมายและเชื่อมโยงของความคิดหรือสาระนั้นๆ
1.2) ผังมโนทัศน์ เป็นผังกราฟิกที่แสดงมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดใหญ่ไว้ตรงกลางและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์และมโนทัศน์ย่อยๆ เป็นลำดับขั้น ด้วยเส้นเชื่อมโยง